เตือนภัย! อันตรายถึงชีวิต “แมงกะพรุนกล่อง” พบล่าสุดที่เกาะเต่า


เตือนภัย! อันตรายถึงชีวิต “แมงกะพรุนกล่อง” พบล่าสุดที่เกาะเต่า


วันที่ 4 ส.ค. ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เตือนภัยแมงกะพรุนกล่อง โดยระบุว่า "แมงกะพรุนกล่องที่เพื่อนธรณ์เห็น เป็นชนิด Chironex sp. มีหลายสาย พิษรุนแรงมากครับ ครูหนุ่ย ขจรศักดิ์ อรุณแสงสุรีย์ เพิ่งเจอที่ใต้ทะเลเกาะเต่า 2 ตัว ขึ้นมาเจอที่ท้ายเรือ 4 ตัว แต่ละตัวมีขนาดใหญ่ หากโดนจังๆ อาจถึงขั้นบาดเจ็บหนัก ในอดีตที่เคยมีผู้เสียชีวิตที่เกาะพะงันก็ชนิดนี้ครับ



เตือนภัย! อันตรายถึงชีวิต “แมงกะพรุนกล่อง” พบล่าสุดที่เกาะเต่า


คลิปนี้ชัดมาก เหมาะสำหรับนำไปเผยแพร่ให้คนอื่นดูว่า แมงกะพรุนกล่องชนิดที่พิษร้าย รูปร่างเป็นอย่างไร เมื่อเห็นจะได้ระวังตัวไว้มากๆ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้ว่ายน้ำเร็ว ชอบเข้ามาในเขตน้ำตื้นตอนกลางคืน จึงอยากฝากเตือนเพื่อนธรณ์ที่ไปแถวนั้นให้ระวังไว้ ไม่ควรลงไปเล่นน้ำกลางคืน (กรณีคราวก่อนก็เป็นตอนกลางคืนครับ) หรือแม้แต่กลางวัน หากมีข่ายกันแมงกะพรุน ควรเล่นน้ำในนั้น หากเป็นนักดำน้ำ จะลงไนท์ไดฟ์ ระวังตัวหน่อย โดยเฉพาะช่วงขึ้นจากน้ำ แมงกะพรุนอาจเล่นไฟอยู่ท้ายเรือ คงต้องฝากกรมทะเลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันตรวจสอบและจัดการเท่าที่ทำได้ครับ"




พร้อมข้อควรระวัง ดังนี้

1) แมงกะพรุนกล่อง เริ่มมีมากขึ้น ตั้งแต่ภาคตะวันออกถึงภาคใต้ แม้ในบริเวณหาดทรายแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่มีรายงานผู้โดนในอ่าวไทยมากกว่า แมงกะพรุนกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก หัวใหญ่ประมาณกำปั้น (หรือกว่านั้นเล็กน้อย ขึ้นกับชนิด แต่สายยืดยาวได้ถึง 3 เมตร พบในไทย 10-11 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ สายเดี่ยว (ในแต่ละมุม) และสายเป็นกลุ่ม ปกติสายเดี่ยวจะมีพิษน้อยกว่าพวกสายกลุ่ม แมงกะพรุนกล่องมีพิษต่างกันไป ขึ้นกับชนิดและปริมาณที่โดน ยังขึ้นกับคนที่แพ้พิษระดับใด ไม่ขึ้นกับความแข็งแรงของร่างกาย

2) สาเหตุที่กะพรุนกล่องเพิ่มขึ้นจากอดีต อาจเกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง หรือจากระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมนุษย์ เช่น คุณภาพน้ำ ฯลฯ แต่การแก้ที่ต้นเหตุยังทำไม่ได้ เราก็ต้องเรียนรู้หาทางเลี่ยงเองครับ

3) กะพรุนกล่องพบได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ในน้ำตื้นก็เป็นไปได้ แต่บางชนิดอาจพบกลางคืนเยอะกว่า ด้วยเหตุผลบางอย่าง บางทีอาจตามฝูงปลาเล็กที่มาเล่นไฟ พบในเขตชายฝั่งหรือเกาะใกล้ฝั่ง เช่น สมุย พงัน เกาะล้าน มากกว่าในเกาะไกลฝั่ง เช่น สิมิลัน

4) ปรกติอยู่ใต้น้ำ โอกาสที่คนเล่นน้ำมองเห็นก่อนเป็นเรื่องยากมาก แต่ถ้าเป็นนักดำน้ำ อาจมองเห็น นอกจากนี้ นักดำน้ำสวมเว็ทสูท โอกาสเป็นอันตรายน้อยกว่า 

5) หากโดนเฉียดๆ อาจบาดเจ็บ แต่ถ้าโดนอย่างจัง หนวดพันไปมาและแพ้พิษ มีโอกาสเสียชีวิต

6) ทางป้องกันคือใส่ชุดมิดชิดลงเล่นน้ำ หรือใช้ชุด stinger suit สำหรับใส่เล่นน้ำ หรือมีจุดเล่นน้ำแบบมีตาข่ายกั้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มทำหลายพื้นที่ในไทย 

7) หากโดนจะรู้ตัวทันที เพราะเหมือนโดนไฟฟ้าชอตหรือแส้ฟาด ให้ตะโกนบอกคนอื่นและขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด อาการรุนแรงอาจเกิดภายใน 5-6 นาที

8) ให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูปริมาณมาก และนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด พร้อมบอกแพทย์ว่าโดนแมงกะพรุนกลุ่มนี้ โดยปกติ หากผู้ป่วยรอดเกิน 10 นาที โอกาสเสียชีวิตมีน้อยมาก 

9) หน่วยงานทางการแพทย์ในพื้นที่ชายฝั่งและเครือข่ายต่างๆ ได้พัฒนาเรื่องนี้ไปอย่างมาก พี่ๆ ริมทะเลมีความรู้ดีและพร้อมช่วยเหลือ แต่เราต้องระมัดระวังไว้ด้วยครับ อย่ากลัวทะเล แต่เราควรมีความรู้ไว้ เพื่อการเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัยครับ

เครดิตแหล่งข้อมูล : workpointnews.com




เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:13 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์