กทม. เผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่ม 16-44 บาท เดินทางตลอดสายจ่ายไม่เกิน 65 บาท


กทม. เผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่ม 16-44 บาท เดินทางตลอดสายจ่ายไม่เกิน 65 บาท


กทม. เผยความคืบหน้าการพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระบุใช้เกณฑ์การปรับขึ้นลงตามดัชนีผู้บริโภค ซึ่งกำหนดค่าโดยสารในแต่ละช่วงไว้ที่ 16-44 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดแนวเส้นทางกำหนดไว้ในอัตราไม่เกิน 65 บาท ซึ่ง TDRI ระบุว่าแพงเกินไป และสูงกว่าประเทศอื่นในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ

นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวกรณี นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ระบุการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ส่วนต่อขยายช่วงสถานีสะพานตากสิน-สถานีบางหว้า และช่วงสถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง ส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยหลักการจะต้องไม่เกิน 65 บาท นั้น สำนักการจราจรและขนส่ง ใช้เกณฑ์การปรับอัตราค่าโดยสารบีทีเอสขึ้นลงตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) โดยเก็บอัตราค่าโดยสาร 16-44 บาท 

ส่วนการพิจารณาอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดแนวเส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการหาเอกชนร่วมลงทุนเพื่อเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดย กทม. มีนโยบายและกำหนดเงื่อนไขสำหรับเอกชนในการเดินรถไฟฟ้าให้มีความต่อเนื่องเป็นระบบเดียวกัน (Through Operation) สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้โดยสาร พร้อมกำหนดค่าโดยสารตามระยะทางในอัตราไม่เกิน 65 บาท 




กทม. เผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่ม 16-44 บาท เดินทางตลอดสายจ่ายไม่เกิน 65 บาท


สำหรับการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง สำนักการจราจรและขนส่ง ได้มีโครงการระบบขนส่งขนาดรอง ทั้งรถไฟฟ้าสายสีเทา รถไฟฟ้า LRT สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าสายสีทอง รวมถึงระบบขนส่งมวลชนทางน้ำ และโครงการรถประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) ซึ่งจะเป็น feeder เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อการเดินทางได้โดยสะดวก

อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตราค่าโดยสาร มีผลการศึกษาจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ได้เปรียบเทียบต้นทุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะทางถนนและประเภทอื่นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ผู้โดยสารไทยต้องควักเงินจ่ายค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้าเฉลี่ยขั้นต่ำ 28.30 บาทต่อเที่ยว ซึ่งนับว่าแพงเกินไปกว่ากำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนรายได้ปานกลางและรายได้สูง โดยอัตราค่าใช้จ่ายรถไฟฟ้าเฉลี่ยของคนกรุงอยู่ที่เดือนละ 1,000-1,200 บาท หรือคิดเป็นเงินกว่า 12,000 บาทต่อปี

ขณะที่ข้อสรุปค่าโดยสารต่อเที่ยวการเดินทาง พบว่า ไทยมีค่าโดยสารระบบรางสูงกว่าประเทศอื่น เทียบกับประเทศในภูมิภาค เช่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ รวมถึงไทยมีส่วนต่างค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถโดยสาร (รถเมล์) สูงที่สุด โดยค่าโดยสารต่อเที่ยวการเดินทางของไทยอยู่ที่ 2.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ 

ทั้งนี้ เมื่อคิดค่าโดยสารเฉลี่ยต่อกิโลเมตรเดินทาง พบว่า ค่าโดยสารต่อ 1 กิโลเมตรของผู้โดยสารในไทยอยู่ที่ 0.478 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ หรือ 14.99 บาท ซึ่งสูงกว่าประเทศ อื่นๆ อย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง และอังกฤษ



เครดิตแหล่งข้อมูล : bltbangkok





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:13 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์