ผู้เชี่ยวชาญ ชี้! ปลาช่อนอเมซอน ทำลายระบบนิเวศน์หนัก - เจ้าของฟาร์ม เผย! เป็นปลาสวยงาม ราคาสูง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญ ชี้! ปลาช่อนอเมซอน ทำลายระบบนิเวศน์หนัก - เจ้าของฟาร์ม เผย! เป็นปลาสวยงาม ราคาสูง
จากกรณีที่เพจดังอย่าง "เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน" ชื่นชมนักตกปลา ที่ตกปลาช่อนอเมซอน เตรียมชำแหละเป็นอาหาร พร้อมเผยว่าปลาช่อนอเมซอนเป็นเอเลียนสปีชีส์ ตัวการทำลายระบบนิเวศน์ เจอที่ไหนควรรีบกำจัด ล่าสุด รายการโหนกระแส โดย "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ได้เปิดใจสัมภาษณ์ "ชัชวัฒน์ เพียงตา" หรือ "คุณแชมป์" นักตกปลามืออาชีพ "ศิริวรรณ สมใจ" หรือ "คุณวรรณ" เจ้าของฟาร์มปลาช่อนอเมชอน มาพร้อมกับ "ดร.นณณ์ ผานิชวงศ์" ผู้เชี่ยวชาญด้านปลา
พี่วรรณเปิดมากี่ปีแล้ว?
วรรณ : "ทำมาก่อนปี 35 ค่ะ ฟาร์มอยู่นครปฐมค่ะ"
วรรณ : "ทำมาก่อนปี 35 ค่ะ ฟาร์มอยู่นครปฐมค่ะ"
ทราบเรื่องปัญหาปลาช่อนอเมซอน หลุดไปในแหล่งน้ำต่างๆ มีคนจับไปกิน?
วรรณ : "พี่วรรณว่าเป็นส่วนน้อยนะคะที่จะหลุดไปในแหล่งธรรมชาติได้ อย่างในฟาร์มพี่วรรณ เป็นฟาร์มปิด ไม่ใกล้ลุ่มน้ำลำคลองเลย คิดว่าที่เขาหลุดไปอาจมีบ้างบางส่วนนิดหน่อยไม่น่าจะเยอะค่ะ หลุดไปช่วงน้ำท่วมหรืออะไร แต่ถ้าในระบบนิเวศน์จริงๆ คิดว่าส่วนน้อยที่เจอ"
เลี้ยงมาปี 35 ตอนนั้นราคาเท่าไหร่?
วรรณ : "ตอนนั้นซื้อมาตอนเล็กๆ 5 นิ้วราคา 3500 พอโตขึ้นถ้าระดับพ่อแม่ ระดับสองเมตร อยู่ที่ราคา 1 แสนบาท ถ้าในลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในแถบอเมริกาใต้ ความยาวของเขาคือ 4 เมตร หนัก 500 กิโล"
วรรณ : "เป็นปลาเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถามว่าเขาดุร้ายมั้ย น้องเขาไม่ดุร้ายเลย"
คุณเรียกน้อง?
วรรณ : "ก็น่ารักมากค่ะ เขาตัวใหญ่จริง แต่ไม่มีนิสัยดุร้าย ถ้าเลี้ยงเขาทุกวัน เขาจะรู้เลยว่าเรามาให้อาหารแล้วนะ เขาจะมาหาเรา เขาไม่ดุร้าย ฟันเขาไม่เหมือนฟันคมๆ เหมือนปลาช่อนบ้านเรา ฟันเขาจะเรียบๆ"
กัดคนมั้ย?
วรรณ : "ไม่กัดค่ะ ในปากเขาไม่มีฟันคมๆ แต่เขาจะใช้ระบบพุ่งชนหรือใช้หางฟาด แต่ไม่กัดคน"
เลี้ยงมาหลายปี ไม่เคยถูกกัด?
วรรณ : "ไม่เคยเลย แต่ชนมีบ้างค่ะ"
มีตั้งชื่อมั้ย?
วรรณ : "มีเยอะค่ะ เรียกน้องปลาอย่างเดียว ในฟาร์มมีพันตัว ทั้งเพาะพันธุ์ และจำหน่ายออกต่างประเทศด้วย ในเมืองไทยจะเน้นขายไซส์ใหญ่ๆ สีสัน เน้นการพัฒนาสายพันธุ์"
ในมุมที่ขาย รู้มั้ยเขาเอาไปเลี้ยงแบบไหน?
วรรณ : "พี่วรรณได้ใบอนุญาตไซเตสคนแรกของเมืองไทย เวลาลูกค้าซื้อจากพี่วรรณ เราจะส่งใบอันนี้ให้ลูกค้า จะรู้ว่าปลาอยู่กับคนนี้กี่ตัวๆ เวลาออกจากฟาร์มจะมีการจดไว้เลย ว่ามีแม่พันธุ์กี่ตัว จำหน่ายออกไปกี่ตัว จะจดไว้หมดเลย"
ล่าสุดมีการแชร์เพจ ภาพนักตกปลากำลังชำแหละปลาช่อนอะเมซอน เขาบอกว่าเขาชื่นชมเหลือเกิน เห็นแบบนี้รู้สึกยังไง?
วรรณ : "ปวดใจนะคะ ปลาพวกนี้เป็นปลาสวยงาม อาจมีเอ็กซิเดนท์ตรงที่อาจจะตายตอนที่เบ็ดลงไปในปากเขา อาจเข้าไปลึกจัด พอเอาขึ้นมาก็อาจจะตาย ก็เป็นไปได้"
แต่เขาบรรยายว่าเปรียบเสมือนเป็นเอเลียนสปีชีส์ ?
ดร. นณณ์ : "มันเป็นปลาล่าเหยื่อ อาจเป็นไปได้ที่ไปกินปลาท้องถิ่น"
แชมป์ : "เป็นเกมที่สนุก"
ตกที่ไหน?
แชมป์ : "มีบ่อเลี้ยงที่กำแพงแสนครับ ให้นักตกปลาไปตกที่นั่น ส่วนมากเป็นอเมซอน อลิเคเตอร์ แล้วแต่ชนิดของปลา"
เคยกินมั้ย?
แชมป์ : "เคยทีนึงครับ ทำเมนูลวกจิ้มนี่แหละครับ ก็เกิดการเอกซิเดนท์เหมือนที่ว่า ต่างชาติไปตกแล้วน็อก"
ดร. นณณ์ : "มันเป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ พอโตมาแล้วแทบจะไม่มีสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ ก็จะเห็นแค่คนและเสือจากัวร์ที่จะโดดไปกินมันได้ มาในไทยก็เหมือนกัน พอโตถึงระดับหนึ่งเมตรสองเมตรก็จะมีคนที่กินได้ เพราะแหล่งน้ำในบ้านเราไม่มีตัวอะไรที่จะกินมันได้ ก็จะเป็นปลานักล่าอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เหมือนเสือในป่า"
ถามพี่วรรณ ตัวพี่เองเป็นฟาร์ม ใหญ่สุดในประเทศไทย คนซื้อไปเคยติดตามมั้ยว่าเขาเลี้ยงยังไงอยู่ดีมั้ย?
วรรณ : "ก็ติดตามตลอด ก็ไม่มีปัญหา เพราะบางครั้งเขาซื้อไปออกลูกก็ยังไปรับซื้อ บอกได้เลยว่าเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่จะเอาไปปล่อย กรณีหลุดบางส่วนอาจจะมีบางช่วงน้ำท่วมหลุดไป แต่หลุดไปเขาก็จับขึ้นมาหมด เขาก็เอาไปขายก็ได้เงิน เพราะปลามีราคาสูงค่ะ อยู่ในแหล่งธรรมชาติยาก"
แชมป์ : "ไม่ครับ ช่อนอเมซอนน้อยมาก ที่ว่าอยู่แหล่งไหนนักตกปลาแห่ไปตกจะน้อยมาก"
ในแหล่งน้ำธรรมชาติเคยเจอมั้ย?
แชมป์ : "ไม่เคยเจอเลย ได้ยินกระแสนานๆ ครั้ง อย่างบึงบอระเพ็ดนครสวรรค์บ้าง ได้ยินแค่นั้นครับ"
ก่อนหน้านี้เคยมีจังหวัดหนึ่งเอาปลาอเมซอนไปปล่อยแล้วไปเอากลับขึ้นมา?
ดร.นณณ์ : "เห็นข่าวอยู่ว่าปลาอยู่ในบ่อที่วัด แล้วบ่อในวัดน้ำเสีย เขาก็เลยไปจับเอาไปปล่อยในบึงสาธาณะแล้วไปตามจับขึ้นมา ไปไล่กินปลาตัวอื่นก็อาจเป็นไปได้"
เรื่องนี้ในมุมอาจารย์มองยังไง?
ดร. นณณ์ : "อยากให้ดูภาพแผนที่ ตรงสีเหลืองๆ คือเขตการกระจายพันธุ์ตามปกติอยู่ที่บราซิล การมาที่เมืองไทยก็ว่ายมาไม่ได้แน่ๆ มาประเทศไทยต้องมาโดยคน สัตว์อะไรก็ตามที่ถูกเอามาข้ามถิ่นก็จะเรียกว่าเอเลียนสปีชีส์ ตามหลักวิชาการ เรียกว่าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น"
ดร. นณณ์ : "อยากให้ดูภาพแผนที่ ตรงสีเหลืองๆ คือเขตการกระจายพันธุ์ตามปกติอยู่ที่บราซิล การมาที่เมืองไทยก็ว่ายมาไม่ได้แน่ๆ มาประเทศไทยต้องมาโดยคน สัตว์อะไรก็ตามที่ถูกเอามาข้ามถิ่นก็จะเรียกว่าเอเลียนสปีชีส์ ตามหลักวิชาการ เรียกว่าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น"
พอเอาเข้ามา?
ดร. นณณ์ : "คือเอเลียนสปีชีส์บ้านเราจริงๆ บ้านเรามีเต็มไปหมด อย่างนกแก้ว นกหงส์หยก หมาแมว จริงๆ มีพืชเศรษกิจเยอะแยะเลย พริก มะละกอ ไม่ไช่พืชที่ค้นพบในประเทศไทย แต่คนเอาเข้ามา แต่ถามว่าจะมีปัญหาหรือเปล่า มาแล้วถ้าเริ่มรุกราน สามารถขยายพันธุ์เองได้ตามธรรมชาติ เริ่มส่งผลกระทบ ยกตัวอย่างสองปีที่แล้วมีข่าวดัง หนอนนิวกินี ปลาซักเกอร์ ปลาหมอสีคางดำ พวกนั้นกระทบเศรษกิจ สิ่งแวดล้อม อย่างปลาหมอสีคางดำหลุดไปในบ่อกุ้ง ก็กินกุ้งเขา หนอนนิวกินีเป็นพาหะนำโรคก็มี ไปกินหอยทากท้องถิ่น ถามว่าปลาช่อนอเมซอนเป็นเอเลียนสปีชีส์หรือเปล่า รุกรานหรือยัง เราก็ตามอยู่ แล้วยังไม่เห็นว่ามันจะไปโผล่ตรงไหนแล้วบอกประชากรเยอะแยะใหญ่โต ธรรมชาติปลาช่อน 5-6 ปี กว่าจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ และตัวต้องสองเมตร ถึงผสมพันธุ์ได้ เป็นปลาที่ต้องขึ้นหายใจผิวน้ำตลอดเวลา ปลาชนิดนี้อยู่ผิวน้ำ โอกาสปลาโตๆ แล้วจะรอดในระบบนิเวศน์ไทย ออกลูกออกหลานผมว่าน้อย เท่าที่มีรายงานคงเท่าที่คุยกัน คือน้ำท่วมหลุด ซื้อมาตัวเล็กๆ เลี้ยงไม่ไหว นึกภาพว่าปลาไซส์กลางๆ ตัวละร้อยกิโล มันกินอาหารเท่าไหร่"
วรรณ : "ก็กินปลาสด โครงไก่ กินอาหารเม็ดบ้างบางครั้งค่ะ"
ดร. นณณ์ : "ต้องไปซื้อปลาทุกวันมาให้กินวันละสิบกิโลก็หลายตังค์เหมือนกันนะ ที่ต้องใหญ่มาก ระบบกรองก็ต้องดี คนพร้อมเลี้ยงอาจมีน้อยจริงๆ ตัวเล็กๆ น่ารักดีแต่พอโตขึ้นมาก็เอาไปปล่อย เลี้ยงไม่ไหว คนไทยให้ฆ่าทิ้งก็ทำไม่ได้ สงสาร ก็เอาไปปล่อยแหล่งน้ำธรรมชาติ
กรณีที่เกิดขึ้นถ้าปลาหลุดแล้วไปเจอในแหล่งน้ำ เขาตกขึ้นมาได้ เขากินเลย ได้เหรอ?
ดร. นณณ์ : "ได้ครับ มันก็เป็นปลาในธรรมชาติ ชาวบ้านก็จับมากินอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติ แต่จำเป็นต้องฆ่าต้องกินมั้ย จับได้ เอาออกมาแหล่งน้ำธรรมชาติ มาเลี้ยงในบ่อก็ได้ อย่าปล่อยคืนลงไปก็แล้วกัน"
เหมือนเป็นการชี้แนะหรือเปล่า ถ้าเจอก็สามารถกำจัดได้เลย?
ดร.นณณ์ : "โดยรวมๆ ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ปัญหาเอเลี่ยนสปีชีส์ เวลาเกิดปัญหาเราแก้ยาก อย่างหมอสีคางดำ ที่มันกระจายไปทั่ว มันไม่มีวันกำจัดได้"
ดร. นณณ์ : "มันอันตรายต่างกัน ปลาช่อนอเมซอนเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สามารถกินปลาอื่นได้เยอะ แต่ปลาหมอสีคางดำ มันขยายพันธุ์ได้เร็ว มีการดูแลลูก เลี้ยงลูกอย่างดี มันก็กินปลาเล็ก แย่งชิงทรัพยากร เหมือนมีตะไคร่อยู่หย่อมนึงแทนที่ปลาท้องถิ่นจะได้กินก็ไปแย่งเขากิน มีกุ้งก็ไปแย่งกินกุ้ง"
คำว่าเสียระบบนิเวศน์ คือปลาอื่นหายไป จะสาปสูญเหรอ?
ดร. นณณ์ : "ก็เป็นไปได้ จะน้อยลงไปเยอะ จะมีกรณีที่สัตว์ผู้ล่าเข้าไปในระบนิเวศน์ เหมือนสัตว์ท้องถิ่นด้วยกัน เตะกันสองฝั่ง เตะกันมาเป็นร้อยเป็นล้านปี รู้ทางกันดี แล้วมาวันหนึ่ง เราโยนเอเลียนสปีชีส์ แล้วไม่เคารพกติกา สัตว์ท้องถิ่นเดิมจะงงและปรับตัวไม่ได้ ระบบนิเวศน์จะพัง"
แชมป์ : "ก็อร่อยดีครับ ไม่เหมือนเนื้อปลาช่อนทั่วไปซะทีเดียว อธิบายยาก เพราะกินแค่ครั้งเดียว เหมือนเนื้อไก่นิดๆ "
ถ้าเราเจอปลาช่อนอะเมซอนอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือแหล่งที่มีปลาอื่นๆ อยู่?
ดร. นณณ์ : "ยืนยันว่าควรกำจัดจากแหล่งน้ำ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตายก็ได้ แต่ควรต้องเอาออกมา"
รับซื้อมั้ยถ้าคนเจอ?
วรรณ : "รับซื้อค่ะ เวลาปลาออกจากฟาร์ม พี่วรรณมีฝังไมโครชิฟ และสามารถรับซื้อคืนได้ เราทำระบบมาตรฐานทั้งหมด อยู่ในระบบระเบียบกรมประมงเรียบร้อย"
แชมป์เคยตกมาแล้ว ถ้าเจอตัวใหญ่ๆ ไปเอายังไง?
แชมป์ : "คงต้องใช้แห"
วรรณ : "แหเอาอยู่ค่ะ พวกนี้เวลาทอดแห ก็พัน ก็จะอยู่"
แชมป์ : "คงต้องใช้แห"
วรรณ : "แหเอาอยู่ค่ะ พวกนี้เวลาทอดแห ก็พัน ก็จะอยู่"
บ่อตกปลาอเมช่อนเขาทำมาเพื่อ?
แชมป์ : "เป็นเกมครับ มันเป็นปลาที่สู้หนัก ไม่สามารถหาตกได้ง่ายๆ ตกมาได้แล้วก็ปล่อย"
มีตายมั้ย?
แชมป์ : "มีครับ แต่ทางบ่อมีทีมงานคอยเซฟปลา คอยอุ้มปลา เซฟมากที่สุด เพราะปลาตัวนึงราคาสูงมาก"
กรณีพี่วรรณ อยากบอกอะไร?
วรรณ : "จริงๆ แล้วถ้าคนรักปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่เชื่องนิสัยดี มีส่วนน้อยที่หลุดออกไปเขาอาจเอาไปปล่อย อาจมีเอ็กซิเดนท์ น้ำท่วม บ่อแตก ในส่วนที่เขาอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติบ้างแต่จริงๆ ไม่ค่อยมีหลุด ยืนยันค่ะ"
อาจารย์บางท่านบอกว่าหากยังมีชีวิต ถ้าเลี้ยงไม่ไหว สุดท้ายเอาไปปล่อย ถ้ามีชีวิตอยู่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ แนะนำเจอตัวใหญ่ๆ ก็จัดการมันซะ?
ดร.นณณ์ : "ก็ยืนยันว่าถ้าเจอในแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรรีบกำจัด ถ้าตัวโตไปสืบพันธุ์ได้ขึ้นมาจะเป็นปัญหาที่รุนแรง จะฆ่าหรือจะเอาไปเลี้ยงก็ได้ แต่ยังไงก็ต้องเอาออก"
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น