คนไทยถูกปฏิเสธเข้าเกาหลี 3 เดือน ทะลุหมื่น บัวแก้วประสานคุ้มครองคนไปเที่ยว
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ คนไทยถูกปฏิเสธเข้าเกาหลี 3 เดือน ทะลุหมื่น บัวแก้วประสานคุ้มครองคนไปเที่ยว
เผยคนไทยถูกปฏิเสธเข้าเกาหลี 3 เดือน ทะลุหมื่น บัวแก้วประสานคุ้มครองคนไปเที่ยวจริงๆ
วันที่ 16 พ.ค.นางสาวบบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงสถานการณ์คนไทยเข้าเมืองผิดกฎหมายในเกาหลีใต้หรือผีน้อยว่า ปัจจุบันคนไทยที่ไปทำงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้มีประมาณ 140,000 คน เฉลี่ยคนไทยถูกเข้าเมืองปฏิเสธวันละ 100 คน โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้คนไทยถูกปฏิเสธเข้าเมืองราว 10,000 คน เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้เข้มงวดเพิ่มมากขึ้น และเกาหลีใต้อาจมีการทบทวนการพิจารณาใช้ระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับคนไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อการท่องเที่ยว โดยระบบดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของการคัดกรองคนเข้าเมืองได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันไม่ให้กลุ่มคนไทยที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงถูกปฏิเสธการเข้าเมือง เป็นผลจากการประชุมฝ่ายกงสุลระหว่างไทยและเกาหลีใต้ ครั้งที่ 4 ที่กรุงโซล เมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นกลไกการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในด้านการตรวจคนเข้าเมือง และการคุ้มครอง ดูแลคนในชาติ
นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศและนายอิน ชิก อู อธิบดีกรมกิจการคนเกาหลีใต้โพ้นทะเลและการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือด้านการกงสุลไทย - เกาหลี ครั้งที่ 4 ที่กรุงโซล ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเป็นเจ้าภาพ โดยฝ่ายไทยมีผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล กรมการจัดหางาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
วันที่ 16 พ.ค.นางสาวบบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงสถานการณ์คนไทยเข้าเมืองผิดกฎหมายในเกาหลีใต้หรือผีน้อยว่า ปัจจุบันคนไทยที่ไปทำงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้มีประมาณ 140,000 คน เฉลี่ยคนไทยถูกเข้าเมืองปฏิเสธวันละ 100 คน โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้คนไทยถูกปฏิเสธเข้าเมืองราว 10,000 คน เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้เข้มงวดเพิ่มมากขึ้น และเกาหลีใต้อาจมีการทบทวนการพิจารณาใช้ระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับคนไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อการท่องเที่ยว โดยระบบดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของการคัดกรองคนเข้าเมืองได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันไม่ให้กลุ่มคนไทยที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงถูกปฏิเสธการเข้าเมือง เป็นผลจากการประชุมฝ่ายกงสุลระหว่างไทยและเกาหลีใต้ ครั้งที่ 4 ที่กรุงโซล เมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นกลไกการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในด้านการตรวจคนเข้าเมือง และการคุ้มครอง ดูแลคนในชาติ
นายชาตรี อรรจนานันท์ อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศและนายอิน ชิก อู อธิบดีกรมกิจการคนเกาหลีใต้โพ้นทะเลและการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือด้านการกงสุลไทย - เกาหลี ครั้งที่ 4 ที่กรุงโซล ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเป็นเจ้าภาพ โดยฝ่ายไทยมีผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล กรมการจัดหางาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์
สองฝ่ายตกลงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองบุคคลตั้งแต่ต้นทางเพื่อคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวโดยสุจริต ภายหลังสิ้นสุดการดำเนินมาตรการผ่อนปรนของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ให้แรงงานต่างชาติที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมายเดินทางกลับประเทศโดยไม่ถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้กระทำผิด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
สำหรับมาตรการดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขไม่ห้ามเข้าประเทศแก่ผู้ที่สมัครใจเดินทางกลับในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้โอกาสกลับเข้ามาทำงานในเกาหลีใต้อย่างถูกต้องอีกครั้ง แต่หากไม่รายงานตัวแล้วถูกทางการจับส่งกลับประเทศไทย จะขึ้นบัญชีดำห้ามเข้าประเทศสูงสุด 10 ปี
อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยที่อยู่อย่างผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ถึงร้อยละ 39 ของจำนวนคนต่างชาติทั้งหมดที่พำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายในเกาหลี โดยเกาหลีก็จะบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบเข้ามาทำงานและนำคนเข้ามาทำงานผิดกฎหมายให้มากขึ้น
สำหรับความคืบหน้าในการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานของไทยกับกระทรวงยุติธรรมเกาหลีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการอำนวยความสะดวกการอพยพของแรงงานและการป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป คาดว่าจะสามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจได้ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายของทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ
อีกทั้งฝ่ายไทยได้หารือกับเกาหลีใต้เพื่อหาช่องทางการรับแรงงานไทยไปทำงานอย่างถูกกฎหมายเกาหลีเพิ่มเติมจากระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System - EPS) เนื่องจากแรงงานไทยจำนวนมากยังต้องการเดินทางไปทำงานในเกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมาย
สำหรับมาตรการดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขไม่ห้ามเข้าประเทศแก่ผู้ที่สมัครใจเดินทางกลับในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้โอกาสกลับเข้ามาทำงานในเกาหลีใต้อย่างถูกต้องอีกครั้ง แต่หากไม่รายงานตัวแล้วถูกทางการจับส่งกลับประเทศไทย จะขึ้นบัญชีดำห้ามเข้าประเทศสูงสุด 10 ปี
อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยที่อยู่อย่างผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ถึงร้อยละ 39 ของจำนวนคนต่างชาติทั้งหมดที่พำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายในเกาหลี โดยเกาหลีก็จะบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบเข้ามาทำงานและนำคนเข้ามาทำงานผิดกฎหมายให้มากขึ้น
สำหรับความคืบหน้าในการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานของไทยกับกระทรวงยุติธรรมเกาหลีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการอำนวยความสะดวกการอพยพของแรงงานและการป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป คาดว่าจะสามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจได้ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายของทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ
อีกทั้งฝ่ายไทยได้หารือกับเกาหลีใต้เพื่อหาช่องทางการรับแรงงานไทยไปทำงานอย่างถูกกฎหมายเกาหลีเพิ่มเติมจากระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System - EPS) เนื่องจากแรงงานไทยจำนวนมากยังต้องการเดินทางไปทำงานในเกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมาย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น