เครื่องที่เรียกว่า “เครื่องฝึกการแก้ไขการ หลงสภาพการบิน” (GYRO LAB) โดยใช้บทเรียนที่ว่า มนุษย์มีอวัยวะที่ใช้สำหรับรับรู้การทรงตัว คือ ตา ใช้หลักการ มองเห็นภาพแล้วนำไปเปรียบเทียบอ้างอิงกับสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขา ต้นไม้แล้วนำมากำหนดรับรู้สภาพของการทรงตัวหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ซึ่งเป็นอวัยวะในการกำหนดรับรู้การทรงตัวมากที่สุด รองลงมาเป็น อวัยวะรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน สุดท้าย คือ กล้ามเนื้อและเอ็น อาทิ ผิวหนัง ข้อต่อต่าง ๆ ให้ รู้ว่าตอนนี้เรากำลัง นั่ง ยืน นอน รู้ท่าทางของตนเอง
“สายตาที่ว่าแม่นยำที่สุดบางครั้งก็ถูกจำกัด เช่น บินเข้าไปในเมฆมองไม่เห็นอะไร บินในเวลากลางคืน ฉะนั้น การให้นักบินมาฝึกกับเครื่องนี้ เพื่อให้นักบินรู้และยอมรับข้อจำกัดบางอย่างซึ่งเป็นปกติทั่วไปว่า อวัยวะทั้ง 3 ที่ว่านั้นบางครั้งอาจจะทำงานได้ไม่ดีในช่วงสภาพหนึ่งที่ถูกจำกัด นอกจากสายตาแล้ว ที่เชื่อถือได้ คือ การใช้เครื่องวัดประกอบการบิน คือ ถ้ามองไม่เห็นด้วยสายตาก็ต้องใช้เครื่องวัดช่วย แม้ในการบินปกติก็ต้องมีการใช้สายตาและเครื่องวัดประกอบกัน และต้องตรวจ สอบ (CROSS CHECK) บ่อย ๆ
เครื่องฝึกการแก้ไขการหลงสภาพการบินนี้ไม่เหมือนวัคซีน คือ ได้รู้จักการหลงสภาพการบินจากเครื่อง ฝึกนี้แล้ว เวลาไปขับเครื่องบินจริง ก็มีโอกาสหลงเหมือนเดิม เครื่องฝึกนี้ ไม่ได้ฝึกให้ทนต่อการหลงสภาพการบินแต่เป็นเครื่องที่ฝึกให้รู้จักว่าการหลงสภาพ การบินเกิดขึ้นได้จริง จากปัจจัยทางด้าน กายภาพคือสภาพอากาศ รวมทั้งปัจจัยด้านร่างกายและจิตใจของนักบิน การป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเมื่อเกิดสภาวะการหลงสภาพการบินจะได้ไม่ตกใจ และรู้ว่าต้องกลับมาใช้อุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบิน แทนความรู้สึก”
การหลงสภาพการบิน มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน
คือ ไม่รู้ว่าตนเองหลง เครื่องบินอาจจะอยู่ในสภาพที่เอียง มีการเลี้ยวเกิดขึ้น แต่นักบินยังคิดว่าเครื่องบินบินตรงอยู่ แบบนี้จะอันตรายที่สุด (THE KILLER) แบบที่ 2 คือ เกิดตนเองรับรู้ และทำการแก้ไขได้ เป็นสิ่งหนึ่ง ที่จะบอกวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์และการเรียนเรื่องนี้ เพื่อเปลี่ยนจากแบบที่ 1 มาเป็นแบบที่ 2 ให้ได้ แบบสุดท้าย คือ มีข้อจำกัด บางครั้งรุนแรง เกิดแล้วตนเองรู้ แต่โอกาส แก้ไขมีอยู่บ้างแต่น้อยมาก อาจด้วยสาเหตุ มาจากการสูญเสียการทรงตัวหรือการควบคุมกล้ามเนื้อของตนเอง ถ้าเป็นเครื่องบินรบ สามารถดีดตัวออกจากเครื่องบินได้ หรือบางตำราของต่างประเทศให้จับ คันบังคับเบา ๆ
“การตกหลุมอากาศที่มองไม่เห็น ในบางครั้งนักบินมองเห็นสภาพอากาศดีทุกอย่าง แต่บินเข้าไปแล้ว แรงยกของอากาศไม่มี เครื่องบินก็ตกลงมาในระดับหนึ่ง เป็นเรื่องความต่างของไอน้ำกับอุณหภูมิ ทำให้แรงยกของเครื่องบินไม่มี ของภายในเครื่องรวมทั้งคนจะลอยขึ้น เมื่อเครื่องบินหยุดในระดับหนึ่งทุกสิ่งรวมทั้งคนก็จะตกลงกระแทกกับพื้นทำให้เกิดการบาดเจ็บได้”
การบินในแต่ละครั้งจะต้องทำงานประสานกันทั้งหอบังคับการบิน บริษัท วิทยุการบิน
ส่วนเรื่องการตัดสินใจ ทั้งแผนการบิน ความปลอดภัยในการบิน ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของนักบิน ความรู้ คือ นักบินต้องรู้ว่าตนเองขับเครื่องบินอะไรอยู่ สมรรถนะของเครื่องรุ่นนั้นเป็นอย่างไร รวมทั้งรู้เรื่องสภาพอากาศ การดู คาดการณ์ และประสบ การณ์ในเรื่องของการแก้ไขปัญหา ทั้งจาก การศึกษาและการฝึกจริง
“ทุกที่ที่เป็นการเดินทาง ไม่ว่าจะ เป็นทางใดก็ตาม เรื่องของความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จริง ๆ แล้วมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ทั้งทางด้านเจ้าของบริษัท ในเรื่องของการบำรุงรักษา บุคลากร และการปลูกฝังจิตสำนึกในแง่ของความปลอดภัยให้กับทุกคน ผู้โดยสารเองก็ต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยของสายการบินหรือการเดินทางในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีกฎระเบียบไว้ ต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ส่วนในเรื่องของเหตุสุดวิสัย ลมฟ้าอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ ต้องยอมรับ ตรงนี้ต้องย้อนกลับไปที่นักบิน ในส่วนของประสบการณ์และการตัดสินใจเป็นเรื่องที่สำคัญ ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด ป้องกันดีกว่าแก้ไข” ร.อ.พยงค์ กล่าวด้วยความเป็นห่วง
เพราะทุกชีวิต มีคุณค่า...คงไม่มีใครอยากเผชิญกับความสูญเสีย...