สรรพากร แจงกฎหมายอีเพย์เมนต์ ยันไม่ได้รังแกคนค้าขายออนไลน์


สรรพากร แจงกฎหมายอีเพย์เมนต์ ยันไม่ได้รังแกคนค้าขายออนไลน์

สรรพากรแจงกฎหมายอีเพย์เมนต์ ให้ธนาคารส่งข้อมูลรับ-โอนเข้าบัญชี 400-3,000 ครั้ง หลังมีผลบังคับใช้ คาดเริ่มตรวจเข้มข้อมูลปี 2563 ยันไม่ได้รังแกคนค้าขายออนไลน์ แต่ถ้ารายได้ถึงก็ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง


นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เนชันแนล อีเพย์เมนต์) ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป



ทั้งนี้ ในกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญ ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ อี-วอลเล็ต ต้องนำส่งข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร ได้แก่ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และยอดรวมตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป หรือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมี อี-แท็กซ์ อินวอยซ์ และอี-รีซิฟท์ ซึ่งเปิดให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีและใบรับแบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งมาให้กรมสรรพากรได้เอง รวมถึงเปิดให้ผู้จ่ายเงินสามารถเลือกจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านธนาคาร หรือคนกลาง ตลอดจนยังเปิดระบบ อี-ไฟลิง เพิ่มช่องทางการยื่นแบบภาษีออนไลน์ในภาษีทุกประเภท

สรรพากร แจงกฎหมายอีเพย์เมนต์ ยันไม่ได้รังแกคนค้าขายออนไลน์

นายปิ่นสาย กล่าวต่อว่า การรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมลักษณะเฉพาะจะครอบคลุมทั้งข้อมูลบัญชีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยสถาบันการเงินต้องเริ่มเก็บข้อมูลบัญชีปี 2562 เพื่อรายงานให้กรมสรรพากรภายในเดือนมี.ค.2563 เป็นต้นไป และปฏิบัติเป็นประจำทุกๆ ปี โดยข้อมูลธุรกรรมเฉพาะที่กำหนดจะนับเฉพาะยอดรับโอน หรือเงินขาเข้าในบัญชีเท่านั้น ไม่รวมการโอนออกหรือถอนออกไป รวมถึงจะนับยอดรวมการโอนของทุกบัญชี ที่มีเจ้าของเปิดบัญชีในธนาคารเดียวกันรวมกันด้วย เช่น หากมีการเปิดบัญชีกับธนาคารหนึ่ง 5-10 บัญชี ก็จะนำยอดรับโอนทั้ง 5-10 บัญชีมานับรวม ถ้าเกินก็ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่จะไม่นับข้อมูลบัญชีที่ต่างธนาคาร


ทั้งนี้ เมื่อกรมสรรพากรได้รับการรายงานข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะจากสถาบันการเงินแล้ว จะมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาตา และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เพื่อแยกแยะข้อมูลของผู้เสียภาษีเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่เสียภาษีอยู่แล้วและมีความเสี่ยง 2. กลุ่มที่เสียภาษีอยู่แล้วแต่ไม่มีความเสี่ยง 3. กลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษีและมีความเสี่ยง และ 4. กลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษีแต่ไม่มีความเสี่ยง ซึ่งถ้าเป็นคนที่เสียภาษีถูกต้องอยู่แล้วก็ไม่ต้องกลัวอะไร แต่เป็นคนที่เสียภาษีอยู่และมีความเสี่ยงก็จะตรวจว่ามีการแจ้งข้อมูลการเสียภาษีตรงกับข้อมูลธุรกรรมหรือไม่หากไม่ตรงก็ต้องมาเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นกลุ่มไม่เคยเสียภาษีมาก่อนก็จะมีการตรวจสอบหรือเรียกเข้ามาพบเพื่อข้อมูลเพิ่ม โดยกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นการรังแกคนค้าขายออนไลน์ หรือใคร เพราะตามกฎหมายหากใครมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ต้องเสียอยู่แล้ว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการออกกฎหมายดังกล่าวทำให้เกิดแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในกลุ่มผู้ทำธุรกิจค้าขายออนไลน์ เพราะกังวลว่าจะต้องเสียภาษี เนื่องจากส่วนใหญ่การค้าขายออนไลน์จะใช้วิธีโอนเงินเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงจะต้องเข้าข่ายเสียภาษีหรือจ่ายเพิ่มมากขึ้น


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:12 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์