ลูกจ้างได้เฮ!ปรับค่าจ้างปี62 ลุ้นขึ้น360บาทเคาะมี.ค
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ลูกจ้างได้เฮ!ปรับค่าจ้างปี62 ลุ้นขึ้น360บาทเคาะมี.ค
ที่กระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้าง กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2562 ว่า คณะกรรมการไตรภาคีเข้าประชุมครบทุกฝ่าย และอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด ได้ส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดเข้ามาครบแล้ว มีเสนอปรับขึ้นบ้าง แต่ไม่มาก กำลังตรวจสอบว่าตัวเลขตรงตามข้อเท็จจริงหรือไม่ มติที่ประชุมแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร เพราะมติที่ประชุมอาจเห็นว่าน่าจะให้ขึ้นแค่ 1-2 บาท หรือ 5 บาท แต่ตัวเลขตามสูตรการคำนวนอาจจะไม่ตรงกัน ก็ต้องเอา 2 ตัวเลข มาดูอีกรอบ อัตราที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าใด ส่งให้อนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาตรวจสอบ เพื่อความรอบคอบและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แล้วจึงเอาข้อสรุปเข้าที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง
นายจรินทร์ กล่าวต่อว่า การพิจารณายังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่า จะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำออกมาเป็นเท่าใด กระบวนการยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมีปัจจัยการพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดค่าครองชีพ อัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ มาตรฐานค่าเฉลี่ยค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิตราคาสินค้าและบริการ ความสามารถในการประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การพิจารณาของ อนุกรรมการค่าจ้างฯ น่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ. เพราะการปรับค่าจ้างในปี 2561 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย.61 ถึง 30 มี.ค.62 อัตราค่าจ้างใหมปี 2562 จึงต้องทำให้เสร็จก่อน 30 มี.ค. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.
นายจรินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ผู้นำแรงงานเรียกร้องให้ปรับขึ้นในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ โดยจะให้ปรับ 360 บาท เป็นเพียงพูดกันเหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่จะปรับเท่าไร จะต้องดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอย่างไร ลูกจ้าง และนายจ้าง จะต้องอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย ซึ่งโดยภาพรวมถือว่าปัจจุบันเศรษกิจดีขึ้น แต่ไม่กระจาย คนในระดับล่างไม่มีเงินในมือ เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง กระทรวงพานิช ก็ต้องไปกำกับดูแล ไม่ให้สินค้าขึ้นราคา
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในละจังหวัดจะไม่เท่ากัน เพราะค่าครองชีพไม่เท่ากัน อย่างกรุงเทพฯ กับ แม่ฮ่องสอน ก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดัชนี ตัวชี้วัด 4-5 ตัว ซึ่งกระทรวงพานิช กับอุตสากรรม จะมีตัวเลขอยู่แล้ว ก็เอามาดูกับตัวเลขในแต่ละจังหวัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่ากรุงเทพฯ จะได้ขึ้นสูงสุดเหมือนปีที่ผ่านมา ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดด้วย ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ละจังหวัดจะได้ปรับเท่าไหร่ ยังต้องรอมติที่ประชุม โดยจะมีการเคาะอัตราใหม่ ภายในเดือน มี.ค." นายจรินทร์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการแบ่งเป็น 7 กลุ่มจังหวัด
โดยปรับขึ้นอัตราสูงสุด 330 บาท 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง
ปรับ 325 บาท 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา
ปรับขึ้น 320 บาท 14 จังหวัด อาทิ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี อยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น
ปรับขึ้น 318 บาท 7 จังหวัด
315 บาท 21 จังหวัด
310 บาท 22 จังหวัด
โดยมี 3 จังหวัด ที่ได้ปรับน้อยที่สุด 308 บาท คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ซึ่งการพิจารณาปรับค่าจ้างในปี 2562 จะยังใช้เกณฑ์การพิจารณาเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติว่าแต่ละจังหวัดจะได้ปรับขึ้นเท่าใด. ...
เครดิตแหล่งข้อมูล : dailynews.co.th
นายจรินทร์ กล่าวต่อว่า การพิจารณายังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่า จะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำออกมาเป็นเท่าใด กระบวนการยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมีปัจจัยการพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดค่าครองชีพ อัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ มาตรฐานค่าเฉลี่ยค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิตราคาสินค้าและบริการ ความสามารถในการประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การพิจารณาของ อนุกรรมการค่าจ้างฯ น่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.พ. เพราะการปรับค่าจ้างในปี 2561 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย.61 ถึง 30 มี.ค.62 อัตราค่าจ้างใหมปี 2562 จึงต้องทำให้เสร็จก่อน 30 มี.ค. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.
นายจรินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ผู้นำแรงงานเรียกร้องให้ปรับขึ้นในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ โดยจะให้ปรับ 360 บาท เป็นเพียงพูดกันเหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่จะปรับเท่าไร จะต้องดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอย่างไร ลูกจ้าง และนายจ้าง จะต้องอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย ซึ่งโดยภาพรวมถือว่าปัจจุบันเศรษกิจดีขึ้น แต่ไม่กระจาย คนในระดับล่างไม่มีเงินในมือ เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง กระทรวงพานิช ก็ต้องไปกำกับดูแล ไม่ให้สินค้าขึ้นราคา
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในละจังหวัดจะไม่เท่ากัน เพราะค่าครองชีพไม่เท่ากัน อย่างกรุงเทพฯ กับ แม่ฮ่องสอน ก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดัชนี ตัวชี้วัด 4-5 ตัว ซึ่งกระทรวงพานิช กับอุตสากรรม จะมีตัวเลขอยู่แล้ว ก็เอามาดูกับตัวเลขในแต่ละจังหวัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่ากรุงเทพฯ จะได้ขึ้นสูงสุดเหมือนปีที่ผ่านมา ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดด้วย ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ละจังหวัดจะได้ปรับเท่าไหร่ ยังต้องรอมติที่ประชุม โดยจะมีการเคาะอัตราใหม่ ภายในเดือน มี.ค." นายจรินทร์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการแบ่งเป็น 7 กลุ่มจังหวัด
โดยปรับขึ้นอัตราสูงสุด 330 บาท 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง
ปรับ 325 บาท 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา
ปรับขึ้น 320 บาท 14 จังหวัด อาทิ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี อยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น
ปรับขึ้น 318 บาท 7 จังหวัด
315 บาท 21 จังหวัด
310 บาท 22 จังหวัด
โดยมี 3 จังหวัด ที่ได้ปรับน้อยที่สุด 308 บาท คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ซึ่งการพิจารณาปรับค่าจ้างในปี 2562 จะยังใช้เกณฑ์การพิจารณาเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติว่าแต่ละจังหวัดจะได้ปรับขึ้นเท่าใด. ...
เครดิตแหล่งข้อมูล : dailynews.co.th
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น