ทบ.แจงแล้ว! ปม ‘ศรีสุวรรณ’ สงสัยยุค ‘บิ๊กตู่’ ซื้อฮ.แพงกว่า ‘เจ้าสัววิชัย

วันที่ 1 พ.ย. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า ตามที่ปรากฏเป็นการทั่วไป กรณีการสูญเสีย นายวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ และประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ในโศกนาฏกรรมเฮลิคอปเตอร์ตก ซึ่งเฮลิคอปเตอร์คันดังกล่าวเป็นรุ่นอะกุสตา เวสต์แลนด์ เอดับเบิลยู 169 (Agusta Westland AW169) สร้างขึ้นในปี 2016 หรือปี 2558 โดย “ลีโอนาร์โด้” บริษัทด้านอุตสาหกรรมการบินและทหารของอิตาลี ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบริษัท อากัสต้าเวสต์แลนด์ กับฟินเมคคานิก้า เฮลิคอปเตอร์ลำนี้มีเลขทะเบียน G-VSKP มีมูลค่าสูงถึง 6.6 ล้านปอนด์ หรือราว 280 ล้านบาท


ทบ.แจงแล้ว! ปม ‘ศรีสุวรรณ’ สงสัยยุค ‘บิ๊กตู่’ ซื้อฮ.แพงกว่า ‘เจ้าสัววิชัย

เมื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างเฮลิคอป เตอร์ยี่ห้อดังกล่าวของ “กรมการขนส่งทหารบก” จัดซื้อจัดจ้างในรุ่น AW 139 และรุ่น AW 149 จากบริษัท อะกุสตาเวสต์แลนด์ เอส.พี.เอ.ประเทศอิตาลีประมาณ 12 ลำ หลายครั้ง พบว่าในปี 2555 ในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ผบ.ทบ. จัดซื้อ AW 139 จำนวน 2 ลำ วงเงิน 43,548,387 เหรียญสหรัฐ หรือ 1,350 ล้านบาท เฉลี่ยลำละ 675 ล้านบาท ซึ่งรุ่นดังกล่าวมีการประกาศขายเป็นการทั่วไปในราคาเพียง 12 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 396 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งทำให้มองเห็นส่วนต่าง 2 ลำ มากถึง 558 ล้านบาท

ต่อมาในปี 2557 หลังรัฐประหาร จัดซื้อ AW 139 เพิ่มอีก 2 ลำ วงเงิน 46,062,500 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,474 ล้านบาท เฉลี่ยลำละ 737 ล้านบาท(เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนลำละ 67 ล้านบาท) ซึ่งส่วนต่างของการจัดซื้อครั้งที่ 2 เท่ากับ 692 ล้านบาท และหลังจากนั้นในปี 2559-2560 ยังมีการจัดซื้อจัดหา AW 139 เพิ่มอีก 6 ลำ ส่วนรุ่น AW 149 จัดซื้อจัดหามาในปี 2560 จำนวน 2 ลำอีกด้วย ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวปัจจุบันยังคงใช้งานตามปกติ แต่มีจำนวนเกือบครึ่งที่ถูกสั่งให้ งดบิน ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมโซเชี่ยลออนไลน์ทั่วไปก่อนหน้านี้


กรณีดังกล่าวเป็นที่น่าสงสัยว่า การจัดซื้อจัดหาเฮลิคอปเตอร์จากบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นรุ่นล้าหลังกว่ารุ่นของนายวิชัย ศรีวัฒนประภา ซึ่งมีราคาเพียง 280 ล้านบาท ทำไมจึงมีราคาและส่วนต่างกันมากมายมหาศาลขนาดนั้น การจัดซื้อจัดหาเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการหรือไม่ และการใช้จ่ายเงินหรือการใช้ประโยชน์นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความคุ้มค่า ประหยัด เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพหรือไม่


ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปยื่นร้องเรียนต่อประธาน, คณะกรรมการ, ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2561 ดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ของกรมการขนส่งทหารบก ว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากพบความผิดให้ดำเนินการเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป โดยสมาคมจะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อ สตง. ในวันศุกร์ที่ 2 พ.ย. เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน ซ.อารีย์ ถ.พระราม 6 เขตพญาไท กทม.

พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีนายศรีสุวรรณ จะยื่นสตง.สอบจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ว่า ได้สอบถามไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 รุ่น และได้รับคำยืนยันว่า กองทัพบกไม่ได้ซื้อแพงอย่างที่เป็นข่าว นายศรีสุวรรณน่าจะเข้าใจผิด ในตัวเลขที่ระบุนั้นราคาถูกเกินไป เพราะปกติแค่เครื่องเปล่า ราคา 300 ล้านบาทแล้ว แต่เฮลิคอปเตอร์ทั้งสองรุ่นที่กองทัพบกจัดซื้อมีเครื่องซิมูเลเตอร์ หรือเครื่องฝึกบิน และการฝึกบิน สำรองอะไหล่ 2 ปี รวมถึงตัวเครื่องและอุปกรณ์เพิ่มเติม จึงทำให้ราคาสูงกว่าเครื่องปกติ เรามีระบบการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม ทุกกองทัพก็ซื้อแบบนี้

ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวชี้แจงว่า หากเปรียบเทียบราคาเฉพาะตัวเครื่อง ซึ่งเบื้องต้นจากการตรวจสอบราคาของกองทัพบก และภาคเอกชน นั้นจะมีราคาที่ใกล้เคียงกัน แต่ในส่วนของกองทัพบก ไม่ได้จัดซื้อเฉพาะตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว เหมือนกับของภาคเอกชน ที่ใช้เพียงระบบการจ้างขับ และจ้างซ่อม จากบริษัทภายนอก แต่ในส่วนของกองทัพ เราจัดซื้อจัดจ้างระบบทั้งหมด อย่างไรก็ตามทางหน่วยที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการ จัดทำรายละเอียดการจัดซื้อ จัดจ้างเพื่อชี้แจงสังคมต่อไป


“ยืนยัน โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกกับเอกชน ไม่เหมือนกัน เนื่องกองทัพบก มีซิมูเลเตอร์ การสำรองอะไหล่ การอบรมช่าง ขณะที่ของเอกชนใช้ระบบว่าจ้างทั้งหมด ซึ่งตัวเลขที่นายศรีสุวรรณระบุ 280 ล้าน เป็นราคาผ่านสื่อ ไม่ได้มาจากทางการ ทั้งนี้ ไม่สามารถเทียบราคาลำต่อลำได้ เพราะคนละรุ่น” พ.อ.วินธัยกล่าว


รายงานข่าวจากกองทัพบก เปิดเผยข้อมูล เฮลิคอปเตอร์ AW 139 และ AW 149 ที่กองทัพบกมีประจำการนั้น มีขนาดใหญ่กว่า AW 169 และ ฮ. ที่นำมาใช้งานทางทหาร ต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่ม โดยเฉพาะเครื่องเดินอากาศที่สามารถปฏิบัติทางทหารได้ อุปกรณ์บริการภาคพื้นดิน สแปร์พาร์ท ที่ต้องเปลี่ยน เมื่อชิ้นส่วนเดิมชำรุดหรือเสียหายจากการใช้งาน หลักสูตรฝึกนักบิน การฝึกช่างเครื่อง

สำหรับรายละเอียด ฮ. อะกุสตา แต่ละรุ่นแบ่งได้ดังนี้

AW 139 ตามมาตรฐานบรรจุผู้โดยสารได้ 15 คน น้ำหนักสูงสุดก่อนบิน 6,400 กิโลกรัม ทำการบินต่อเนื่องได้ 5 ชั่วโมง 56 นาที ความเร็วสูงสุด 310 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และระยะทางการบินสูงสุด 1,250 กิโลเมตร

AW 149 ตามมาตรฐานบรรจุผู้โดยสารได้ 19 คน น้ำหนักสูงสุดก่อนบิน 8,300 กิโลกรัม ทำการบินต่อเนื่องได้ 5 ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 313 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางการบินสูงสุด 1,200 กิโลเมตร

AW 169 ตามมาตรฐานบรรจุผู้โดยสารได้ 10 คน น้ำหนักสูงสุดก่อนบิน 4,600 กิโลกรัม ทำการบินต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 289 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางการบินสูงสุด 768 กิโลเมตร


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:11 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์