ไทยพบตุ๊กแกป่า-จิ้งเหลนห้วยชนิดใหม่ของโลก

พบจิ้งเหลนห้วย กับ ตุ๊กแกป่าชนิดใหม่ของโลกที่ดอยเชียงดาว เตรียมบรรจุในบัญชสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย


หวั่นปัญหาไฟป่าทำลายถิ่นอาศัยส่วนนากใหญ่จมูกขน ในป่าพรุโต๊ะแดงก็เสี่ยงหลังจากเหตุการณ์ไม่สงบทำให้คนฉวยโอกาสบุกทำลายป่าพรุทำสวนปาล์ม วันที่ 12 ก.ย. น.ส. ปิยวรรณ นิยมวัน นักวิจัยจากกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า จากการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า ในดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี 2547-2550 ซึ่งใช้วิธีการเดินสำรวจ และการวางตาข่าย โดยพบสัตว์ป่าที่จำแนกได้ 321 ชนิดแบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 55 ชนิด นก 185 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 45 ชนิด โดยเฉพาะสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 36 ชนิดนั้น พบว่าจำนวนนี้มี 3 ชนิดที่เป็นสัตว์ชนิดใหม่ของโลก คือ จิ้งเหลนห้วยเชียงดาว ในสกุล Tropidophorus sp. ตุ๊กแกป่าเชียงดาวในสกุล Cyrtodactylus sp. และทั้งหมดนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการตีพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างทางการต่อไป


อาจเรียกว่าเป็นการค้นพบโดยบังเอิญก็ว่าได้ เนื่องจากพบว่าในจำนวนสัตว์ที่มาติดในหลุมกับดักที่ป่าสนเขา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีจิ้งเหลนรูปร่างหน้าตาประหลาดติดรวมอยู่ด้วยจำนวน 4-5 ตัว

เพราะลำตัวจะยาว ตัวออกสีน้ำตาลและมีเกล็ดที่บริเวณหัว วัดความยาวจากหัวถึงก้นประมาณ 5 ซม. และหางยาวประมาณ 6 ซม. ซึ่งเมื่อเช็คดูและเทียบกับจิ้งเหลนในประเทศใกล้เคียงไม่ซ้ำกับตัวไหนเลย ส่วนตุ๊กแกป่าเจอแค่ตัวเดียว ซึ่งตอนที่เจอมันมาแบบผิดธรรมชาติ เพราะมาติดตาข่ายดักนก ทำให้มีเพียงตัวอย่างตัวเดียวเท่านั้น แต่เมื่อนำมาตรวจสอบลักษณะทั่วไป และเทียบเคียงกับสัตว์ในกลุ่มเดียวกัน ก็เห็นความแตกต่างได้ชัด โดยลำตัวจะมีลวดลายสีน้ำตาลสลับกับสีเหลืองเล็กๆสวยงาม และมีเกล็ด โดยตัวที่เจอมีความยาว9 ซม. คาดว่าน่าเป็นตัวเต็มวัย


อย่างไรก็ตาม สำหรับตุ๊กแกป่าทุกชนิดของไทยนั้นถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้ว


ดังนั้นถ้าได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการก็จะนำตุ๊กแกป่าเชียงดาว เข้าบรรจุเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองต่อไป ”นักวิจัย กล่าว น.ส.ปิยวรรณ กล่าวอีกว่า หลังจากค่อนข้างมั่นใจว่าสัตว์ทั้งสองชนิดเป็นชนิดใหม่ของโลก กลุ่มนักวิจัยฯกลับเข้าไปสำรวจเพิ่มเติม แต่ก็ไม่เจอ เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดชอบอยู่ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ ทำให้มีสีกลมกลืนทำให้ยากต่อการเจอ พร้อมกันนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์กลุ่มนี้ยังเตรียมที่จะศึกษารายละเอียดทางเชิงชีววิทยา พฤติกรรมของสัตว์เพิ่มเติมด้วย เพราะยอมรับว่ายังไม่มีข้อมูลเชิงลึกของสัตว์ทั้งสองตัวนี้เลย ขณะที่ค่อนข้างเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ รวมทั้งปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในป่าสนเขาที่อยู่ห่างจากแหล่งน้ำ อาจเป็นสาเหตุให้สัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ง่าย รวมทั้งปัญหาการล่าสัตว์ของชาวบ้านด้วย
 

ส่วนน.ส. บุษบง กาญจนสาขา จากสำนักวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวถึงปัญหาการลดลงของนากใหญ่จมูกขนว่า

นากใหญ่จมูกขน ถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถูกค้นพบอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทยที่ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส หลังจากไม่มีรายงานการค้นพบในโลกมานานกว่า 20 ปี โดยพบมีการกระจายพันธุ์ในป่าพรุโต๊ะแดง แถวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ และนอกเขตป่าอนุรักษ์ตามหย่อมป่าเสม็ด หนองนาและสวน แต่ค่อนข้างอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก เนื่องจากมีการอาศัยสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ของคนบางกลุ่มที่ฉกฉวยเข้าไปทำลายป่าพรุไปทำสวนปาล์ม และมีการล่านากใหญ่จมูกขนไปกินด้วย
 

นักวิจัย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเตรียมสํารวจนากใหญจมูกขนเพิ่มเติมในพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่จ.ตรัง สตูล และนราธิวาส โดยใชกล้องดักถ่ายภาพ เก็บข้อมูลด้านนิเวศวิทยา รวมทั้ง จะติดเครื่องสงสัญญาณวิทยุติดตามตัวสัตว เพื่อติดตามพฤติกรรม การเลือกใชพื้นที่ถิ่นที่อยูอาศัย ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธของการใชพื้นที่ร่วมกันกับนากชนิดอื่นด้วย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์