นายปรเมศวร์ กล่าวต่อว่า เพราะพนักงานสอบสวนก็มีความสามารถ เเต่บางเรื่องถ้าเป็นคดีสำคัญพนักงานสอบสวนก็จะเชิญเราไปนั่งคุย ที่ผ่านมาก็มีหลายเรื่องที่มีการประสานงานก่อนการส่งสำนวนให้อัยการเพียงเเต่ไม่เป็นข่าว เเต่ที่เราเข้าไป ไม่ได้ไปร่วมสอบสวนเพราะเราไม่มีอำนาจสอบสวน ตำรวจเเค่มาขอคำเเนะนำจากที่อัยการเคยทำคดี เเละข้อกฎหมายที่ยังสงสัย จะได้ไม่ต้องไปถูกสั่งสอบสวนกันที่หลัง
ผู้สื่อข่าวเมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ได้เคยเเสดงความเห็นในคดีนี้ไปต่อสื่อมวลชนเเล้วการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจะกระทบรูปคดีหรือไม่ นายปรเมศวร์ กล่าวว่า ไม่มีผล ตนให้เหตุผลในการศึกษาพยานว่าพยานปากไหนน่าเชื่อถือได้ จะสอบอย่างไรให้พยานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น คงไม่ไปบอกว่าใครเป็นยังไง ตนเพียงวิเคราะห์ให้ฟังว่าพยานที่จะไปถึงศาล ศาลจะรับฟังได้หรือไม่ เรื่องพยานจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนต้องทำว่าจะต้องทำอย่างไรให้เชื่อถือมากยิ่งขึ้นไม่ใช่ของตน
"ผมเคยสอนสถาบันสอบสวนสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ (ตร.) สอนพนักงานสอบสวนมาตลอดพนักงานสอบสวนต่างจังหวัดก็มีโทรมาหารือว่าควรจะทำอย่างไร เเต่เราไม่ก้าวล่วงดุลพินิจ เราให้คำเเนะนำเท่าที่ทำได้" รองอธิบดีอัยการ กล่าว