จากการสำรวจพบว่าสุนัขในชุมชนแรกสัมผัสโรคกับสุนัขที่ติดเชื้อไปกว่า 60 ตัว หากจะกักโรคตรวจหาเชื้อจากน้ำลายสัตว์ทุกตัวต้องใช้เวลา 20 วัน ถึง 3 ปี เพื่อฟักเชื้อ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
ขณะที่เจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าสูงเช่นกัน จึงใช้วิธีทำประชาคมกับชาวบ้าน เพื่อนำสัตว์ไปทำลาย ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้านี้จึงไม่ใช่การทารุณกรรมสัตว์ ตามที่องค์กรสวัสดิภาพสัตว์เตรียมแจ้งความดำเนินคดี
ขณะที่เพจ WatchdogThailand และองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ ได้รวบรวมรายชื่อร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ Change ให้ดำเนินคดีอาญาต่อผู้ออกคำสั่ง ฆ่าสัตว์ 200 ตัว เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้สัตว์ที่ตายไป
ล่าสุดมีผู้ลงรายชื่อสนับสนุนแล้ว 6,032 คน จากจำนวนรายชื่อที่ต้องการ 7,500 คน และย้ำว่าการร้องเรียนครั้งนี้ ไม่ใช่การคัดค้านขั้นตอนยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยไม่คำนึงถึงชีวิตประชาชน แต่ต้องการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐบิดเบือนข้อมูล ละเว้นการทำตามขั้นตอนของกฎหมาย