มาตรการลดหย่อนภาษีครั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการนำค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้กับลูกจ้างเพิ่มมากขึ้นมาหักลดหย่อยภาษีได้ทั้งจำนวน 1.15 เท่า ได้ตั้งแต่ 1 เม.ย. -31 ธ.ค. 2561 ซึ่งดีกว่ามาตรการลดหย่อนภาษีตอนขึ้นค่าแรง 300 บาทในอดีต ที่ให้แค่ส่วนที่จ่ายเพิ่มมาหักลดหย่อนภาษีเท่านั้น
น.ส.กุลยา กล่าวว่า มาตรการภาษีดังกล่าวช่วยบรรเทาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากการขึ้นค่าแรง จูงใจให้นายจ้างขึ้นค่าแรงให้ลูกจ้างให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยการขยายตัวและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ การขึ้นค่าแรงมี 17 จังหวัด ไม่ได้รับผลกระทบ มี 30 จังหวัดมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 0.1% มี 3 จังหวัดสำคัญ คือ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต ที่ค่าแรงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 3.7% โดยกระทรวงการคลังประเมินภาพรวมว่าการขึ้นค่าแรงในครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 11 บาทต่อคน แต่จากมาตรการภาษีจะช่วยบรรเทาได้ 10 บาทต่อคน
นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า มาตรการภาษีผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงทำให้กรมสรรพากรสูญเสียภาษี 5,400 ล้านบาท แต่ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ถึง 4 แสนราย ทั้งผู้ประกอบการที่มีกำไรและไม่มีกำไร เพราะผู้ประกอบการที่มีกำไรก็จะทำให้เสียภาษีลดลง ส่วนผู้ประกอบการที่ขาดทุนก็จะทำให้ผลขาดทุนลดลงหรือมีกำไร และหากยังขาดทุนอยู่ก็ยังนำผลขาดทุนไปเครดิตภาษีได้อีก 5 รอบบัญชีภาษี