ซึ่งทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 เพื่อพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน โดยมีนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานได้ข้อสรุปร่วมกันหลังจากใช้เวลาประชุมนานกว่า 7 ชั่วโมง โดยมีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดทั่วประเทศในอัตรา 5-22 บาท นายจรินทร์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด โดยแบ่งการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกเป็น 7 ระดับ โดยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 5-22 บาท
จังหวัดที่มีค่าจ้างต่ำสุดคือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีค่าจ้างอยู่ที่ 308 บาท เเละเพิ่มไล่ระดับมาที่ 310, 315, 318, 320 และ 325 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีค่าจ้างอยู่ที่ ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดที่ 330 บาท ในจ.ภูเก็ต จ.ชลบุรี และจ.ระยอง
สำหรับรายละเอียดการปรับขึ้นค่าจ้าง ใน 3 จังหวัด ได้ขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด 30 บาท เป็น 330 บาท/วัน ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง
และมี 7 จังหวัด ได้ขึ้น 25 บาท/วัน เป็น 325 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา
ส่วนจังหวัดที่ได้เพิ่ม 20 บาท/ วัน เป็น 320 บาท มี 14 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี อยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และพังงา
ขณะที่จังหวัดที่ได้ขึ้น 18 บาท/วัน เป็น 318 บาท มี 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ และปราจีนบุรี
สำหรับ จังหวัดที่ได้ขึ้น 15 บาท/วัน เป็น 315 บาท มี 21 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ น่าน กาญจนบุรี และอ่างทอง
ขณะเดียวกัน จังหวัดที่ได้ขึ้น 10บาท/วัน เป็น 310 บาท มี 22 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีสะเกษ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร หนองบัวลำภู และสตูล
และ จังหวัดที่ได้ขึ้นต่ำสุด 8 บาท/วัน เป็น 308 บาท ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี