1. ให้กระทรวงวัฒนธรรมสานต่องานเดิม
2.จัดเตรียมงานเกี่ยวกับ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
3.บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานทูตและหน่วยงานต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในไทยเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้แพร่หลายในต่างประเทศ
4.วิเคราะห์และทบทวนเพื่อแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายให้ทันในรัฐบาลชุดนี้
5.พิจารณาถึงความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังหน่วยงานในสังกัด อาทิ เตรียมการรองรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ชาติและการปฏิรูปประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
6.พิจารณางานขึ้นทะเบียนและบูรณะโบราณสถานว่ายังมีงานที่ต้องดำเนินการมากน้อยเพียงใด มีปัญหาด้านงบประมาณหรือไม่ รวมทั้งศึกษาแนวทางพัฒนางานด้านหอสมุดแห่งชาติ งานด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมถึงงานด้านอื่นๆ ในความรับผิดชอบของ วธ.ที่ควรจะพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาจจะปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรเพื่อให้การบริหารมีความคล่องตัวมากขึ้น อาทิ หน่วยงานบริหารจัดการรูปแบบพิเศษ (เอสดียู) หรือองค์การมหาชน โดยหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ด้วย
7.ศึกษาแนวทางในการจัดทำหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาด้านศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทย(มท.) เรื่องการส่งเสริมการเล่นดนตรีไทยหรือสากลได้อย่างน้อย 1 ชิ้น หรือสามารถแสดงนาฏศิลป์ได้ อีกทั้งส่งเสริมให้มีหลักสูตรด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่ในการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย อาทิ วัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุ โดยให้บูรณาการความร่วมมือกับทั้ง 3 กระทรวง
8.ให้ศึกษาข้อมูลและเตรียมการรองรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้อง
9.ให้รณรงค์ส่งเสริมด้านภาษาถิ่นในประเทศไทยตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด วธ.นำนโยบายที่ได้รับจากรองนายกรัฐมนตรีจัดทำแผนงาน โครงการและจัดสรรงบประมาณรองรับ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมและเห็นผลสำเร็จมากขึ้น