งานสุดท้ายก่อนเสียชีวิต! ของ สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมว.ต่างประเทศ
สำหรับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จ.นครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 (ก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ เคยศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ปี) ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522)[2] เริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529
สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 7 สมัย เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529-2531) ต่อมาเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538[3] และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550