ทั้งนี้ ในพื้นที่เขตดินแดงปริมาณฝนที่ตก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 60 เริ่มตกเวลา 00.20 น. จนถึง 04.25 น. รวมเป็นเวลาระมาณ 4 ชั่วโมง มีฝนตกสะสมต่อเนื่องรวม 174 มิลลิเมตร โดยในชั่วโมงแรก (00.20 - 01.00 น.) ปริมาณฝนสะสมรวมยังมีไม่มากนักเพียง 17 มิลลิเมตร แต่เมื่อย่างเข้าชั่วโมงที่สอง (01.05 - 02.00 น.) ปริมาณฝนตกสะสมเริ่มเพิ่มสูงขึ้นเป็น 42 มิลลิเมตร และเมื่อเข้าสู่ชั่วโมงที่ 3 (02.05 - 03.00 น.) ปริมาณฝนตกสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 135 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เขตดินแดงและบริเวณใกล้เคียง และฝนยังคงตกต่อเนื่องเข้าชั่วโมงที่ 4 (03.05 - 04.25 น.) ปริมาณฝนตกสะสมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 174 มิลลิเมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่เขตดินแดงและบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากความสามารถของระบบท่อระบายน้ำของกรุงเทพมหานครสามารถรองรับปริมาณฝนตกสะสมในเวลา 3 ชั่วโมง ได้ไม่เกิน 80 มิลลิเมตร แต่ขณะนั้นในช่วง 3 ชั่วโมง มีปริมาณฝนรวมสูง 135 มิลลิเมตร จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการระบายน้ำมากขึ้น
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนอย่างใกล้ชิดและเตรียมการพร่องน้ำในคลองเพื่อรองรับปริมาณฝนที่จะตกใหม่ ซึ่งในคืนวันที่ 13 ต.ค. 60 กทม.ได้พร่องน้ำในคลองต่างๆ ก่อนเกิดฝนตก เช่น ที่คลองสามเสนลดระดับน้ำในคลองอยู่ที่ ประมาณ -1.80 ม.รทก. ตั้งแต่เวลา 21.00 น.แต่เมื่อเกิดฝนตกที่เวลาประมาณ 0.00 น. ของวันที่ 14 ต.ค. นำปริมาณน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ +0.40 ม.รทก. ในเวลาประมาณ 05.00 น. ซึ่งหมายถึง ระดับน้ำในคลองได้ยกตัวขึ้นมาอีก 2 เมตร ภายในเวลา 5 ชั่วโมง จึงไม่ได้เกิดจากการไม่ได้การพร่องน้ำก่อนฝนตกแต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่อาคารรับน้ำบึงมักกะสัน ก่อนฝนตกได้มีการพร่องน้ำอยู่ที่ระดับเฉลี่ย -1.77 ม.รทก. ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2560 แต่ระดับน้ำได้เริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เวลา 0.00 น. ในช่วงเวลาที่เกิดฝนตก และสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีระดับอยู่ที่ +0.51 ม.รทก. ที่เวลาประมาณ 03.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่เขตดินแดง โดยระดับน้ำได้ทรงตัวอยู่ที่ระดับนี้เป็นเวลานานถึง 09.00 น. จึงเริ่มลดระดับลงอย่างช้าๆ และเริ่มลดระดับลงอย่างรวดเร็วในเวลาประมาณ 14.00 น.เป็นต้นไป โดยระหว่างนั้นมีการเดินเครื่องสูบน้ำอยู่ตลอดเวลา ยกเว้นในช่วงเวลา 10.00 น.-14.00 น. ที่มีปัญหาระบบไฟฟ้าขัดข้อง
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า สาเหตุหลักของน้ำท่วมในครั้งนี้เกิดจากปริมาณฝนที่ตกเป็นปริมาณมาก และตกเต็มพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดปริมาณน้ำมหาศาล น้ำในคลองเต็มเกือบทุกสาย จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการระบายน้ำ ซึ่งอุโมงค์ระบายน้ำเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นทางลัดในลำเลียงน้ำออกสู่แม่น้ำ โดยการสูบระบายน้ำของอุโมงค์ระบายน้ำเป็นการระบายน้ำในจุดที่ใกล้กับทางออกก่อน ทำให้น้ำบริเวณที่อยู่ไกลกว่า (บริเวณอาคารรับน้ำบึงมักกะสัน) ต้องรอคิวในการระบาย ระดับน้ำที่อาคารรับน้ำบึงมักกะสัน จึงคงที่อยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง (ตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เริ่มมีการท่วมขัง ) ทำให้เกิดน้ำตกค้างอยู่ในคลอง ต่อเนื่องไปจนถึงในท่อ บนถนน จนถึงอุโมงค์ระบายน้ำ จากนั้นเมื่อระบบสูบน้ำได้แก้ปัญหาในพื้นที่อื่นให้คลี่คลายลง จึงถึงคิวของน้ำในบริเวณอาคารรับน้ำบึงมักกะสันที่เริ่มลดลงและทำให้น้ำในคลอง ในท่อ และบนถนนลดลงได้ตามลำดับ

Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว