การลงนามร่วมกันของผู้นำจาก 193 ประเทศทั่วโลกในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) 17 ประการ เมื่อ พ.ศ.2558 เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ให้ได้ภายในปี 2573 นั้น นอกจากจะถือเป็นภาพสะท้อนถึงการหันกลับมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของมนุษยชาติแล้ว
เผย!!! 5 เรื่องจริง วิกฤติทะเลไทย ในวันทะเลโลก!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ เผย!!! 5 เรื่องจริง วิกฤติทะเลไทย ในวันทะเลโลก!
มันก็ไม่ต่างจากสัญญาณอันตรายที่กำลังบอกเราว่า โลกใบนี้วิกฤติแค่ไหนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ แหล่งทรัพยากรที่มีอาณาบริเวณกว่า 2 ใน 3 ของโลกใบนี้ อย่างทะเล
"การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล" ถูกวางเป็นเป้าหมายที่ 14 ในวาระดังกล่าว
วันทะเลโลก 8 มิถุนายนปีนี้ เราจึงมี 5 ข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขก่อนทะเลจะวิกฤติไปมากกว่านี้
วิกฤติความสมบูรณ์ระบบนิเวศชายฝั่ง
องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง กรีนพีช (GreenPeace) ได้แบ่ง ภัยคุกคามต่อทะเลในวันนี้ออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ อุตสาหกรรมการประมง ที่มีการใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อให้จับปลาได้ในปริมาณมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงการฟื้นตัวของธรรมชาติ
เรื่องนี้ยังรวมไปถึง การจับสัตว์น้ำพลอยได้ (Bycatch) หรือการติดเครื่องมือประมงของเหล่าสัตว์ทะเลหายาก ทั้ง เต่าทะเล โลมา วาฬ และพะยูน ที่รายงานจากกรมทรัยากรทางทะเลและชายฝั่งระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ความตายของสัตว์ทะเลหายากเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากเครื่องมือประมง
ความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (U.S.Environmental Protection Agency) เผยข้อมูลว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลนั้นเพิ่มสูงกว่าในอดีต จากการบันทึกข้อมูลไว้ตั้งแต่ประมาณปี 2423 โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นไม่ได้ลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศทั้งหมด กว่าครึ่งละลายลงทะเล ทำให้น้ำทะเลมีสภาวะเป็นกรด จนนำไปสู่เหตุการณ์ปะการังฟอกขาว และความปั่นป่วนของระบบห่วงโซ่อาหารใต้น้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลบางชนิดในที่สุด
ขณะที่ มลพิษทางทะเล ก็กำลังกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลร้ายทั้งทางตรง และทางอ้อมกับทะเลในวันนี้ ทั้งสิ่งปฏิกูลจากครัวเรือน และของเสียจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
เมื่อขยะล้นทะเล
"ขยะกำลังล้นทะเล" ประโยคนี้จะไม่ได้เป็นแค่คำขู่อีกต่อไป เพราะมีรายงานว่า ปัญหาขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลกำลังเข้าขั้นวิกฤติในระดับโลก
ปัจจุบันมีขยะพลาสติกในทะเลอยู่ถึง 5.25 ล้านล้านชิ้นและถูกทิ้งลงทะเลเพิ่มในแต่ละปีอีกไม่ต่ำกว่าแปดล้านตัน โดย องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล หรือ Ocean Conservancy พบว่า ภายในค.ศ. 2025 เราจะพบขยะพลาสติกทุก 1 ตันต่อปลา 3 ตันในทะเล
ขณะที่ งานวิจัยเกี่ยวกับขยะในนิตยสาร Science ช่วงต้นปี 2558 ก็ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า มหาสมุทรไม่ต่างจากถังขยะขนาดมหึมารองรับขยะพลาสติกประมาณ 8 ล้านตันต่อปี และตัวเลขนี้คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 155 ล้านตันต่อปีภายในปี 2568
วายร้ายพลาสติก
ในบรรดาขยะที่พากันไหลลงสู่ทะเล "พลาสติก" ทั้ง "น่ากลัว" และ "เรื้อรัง" ที่สุด ถ้ายังสงสัยลองย้อนกลับขึ้นไปอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น หรือทำความเข้าจตั้งแต่บรรทัดนี้เลยว่า พลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลายไม่ต่ำกว่า 450 ปีนั้น กำลังก่อปัญหาให้กับทะเลโลก และทะเลบ้านเรา
วันนี้ คนไทย 1 คน สร้างขยะโดยเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน
และขยะเหล่านั้น ก็ไม่ได้หายไปไหน กรมควบคุมมลพิษพบว่า มีขยะถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 9.59 ล้านตัน หรือร้อยละ 36 เท่านั้น
ส่วนที่เหลืออีกราวร้อยละ 43 หรือ กว่า 11 ล้านตันล้วนถูกจัดการอย่างไม่ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเผากลางแจ้ง หรือการเทกองทิ้งในบ่อดินเก่า และพื้นที่รกร้าง ขณะที่ประเทศไทยมีการคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์มีเพียง 5.76 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 21 เท่านั้นเอง และเมื่อสำรวจ 23 จังหวัดติดชายทะเล ก็จะพบว่า มีขยะกว่า 5 ล้านตันที่จะถูกชะลงไปนอนที่ก้นมหาสมุทรได้ แน่นอนว่า เกินครึ่งในจำนวนนั้นคือ "พลาสติก"
ความเสี่ยงอันดับโลก
นอกจาก ขยะพลาสติกในทะเลจากประเทศไทยจะขึ้นแท่นอันดับ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลกแล้ว ในทางกลับกัน เรากำลังเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากวัสดุสังเคราะห์เหล่านี้สูงเป็นอันดับ 6 ของโลกด้วยเช่นเดียวกัน
ข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ขยะที่พบบริเวณปะการังมากสุดได้แก่ เครื่องมือทำประมง รองลงมาก็คือ โลหะ และยางรถยนต์ อีกทั้งยังกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลหายากอย่าง เต่าทะเล โลมา วาฬ และพะยูนอีกด้วย
อันตรายใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
ที่สุด สิ่งที่เราทิ้งไปก็จะย้อนกลับมาหาตัวเราเองอยู่ดี...
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) พบว่า ร้อยละ 30 ของมลพิษในมหาสมุทรมาจาก ไมโครพลาสติก หรือพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่ทั้งเกิดจากการย่อยสลายในทะเล ไมโครบีตส์ที่ใช้ผสมในเครื่องสำอางค์ หรือแม้แต่จากการซักเสื้อของคนเรา!
แค่ในทวีปยุโรปและทวีปเอเชียเพียง 2 ทวีป คนหนึ่งคนจะทิ้งจำนวนพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่เทียบเท่ากับถุงพลาสติกจำนวน 54 ใบ ต่อสัปดาห์ลงในมหาสมุทร
พลาสติกเหล่านี้ ก็จะแทรกซึมเข้าสู่ระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารใต้ทะเลได้ด้วยการไปอยู่ในสัตว์ทะเลที่กินมันเข้าไปตั้งแต่แพลงตอนสัตว์ไปจนถึงวาฬ โดยทุกตารางกิโลเมตรของมหาสมุทรในโลกนี้จะมีไมโครพลาสติกโดยเฉลี่ย 63,320 ชิ้น และในเอเชียตะวันออกก็จะมีสูงกว่าที่อื่นถึง 27 เท่า
ส่วนในประเทศไทยนั้น พบในหอยสองฝา หอยเสียบ และหอยกระปุก มากที่สุด
เห็นได้ชัดว่า ขยะ (โดยเฉพาะพลาสติก) ในมือเรานั้นไม่ได้จบแค่ที่ถังขยะ และถึงเราจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนบก แต่ก็สร้างผลสะเทือนให้กับท้องทะเลได้ คิดก่อนใช้ และการแยกขยะอย่างถูกวิธีก็จะมีส่วนช่วยในการทำให้ทะเลดีขึ้น
สุดท้าย คนที่ได้ประโยชน์ก็คือเราทุกคนนั่นเอง.
ที่มา : Workpoint
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!