อูเบอร์ลั่นไม่หยุดให้บริการ ชี้ไทยเป็นชาติเดียวในอาเซียนที่มีปัญหากฎหมายไม่รองรับอูเบอร์ คมนาคมสั่งศึกษาแนวทางปรับกปรุง
อย่างไรก็ตามการปรับแก้กฎหมายต้องทำให้เข้ากับประเทศไทยมากที่สุดและรองรับงานบริการได้ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม โดยคาดว่าจะใช้เวลาการศึกษา 6 เดือนถึง 1 ปี ดังนั้นจึงขอร้องให้อูเบอร์หยุดบริการผู้โดยสารก่อนในช่วงที่กำลังศึกษาปรับแก้ตามแนวทางดังกล่าว
ด้าน นาง เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายโยบายรัฐสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค อูเบอร์ กล่าวว่า อูเบอร์ ยืนยันว่าไม่สามารถรับข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมได้ ดังนั้น อูเบอร์ จะยังให้บริการต่อไปในระหว่างที่รัฐบาลศึกษาแนวทางเนื่องจากบริษัทต้องรับผิดชอบผู้โดยสารและผู้ขับขี่ที่ยังมีความต้องการใช้บริการแอพพลิเคชั่น วันนี้มีความคืบหน้าที่ชัดเจนและจับต้องได้ภายหลังรัฐบาลสัญญาว่าจะดำเนินการศึกษาแนวทางดังกล่าวเพื่อส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะให้สามารถตอบสนองต่อรายได้ประชากร ความปลอดภัยและเศรษฐกิจของประเทศ
"อูเบอร์ยินดีมากที่กระทรวงคมนาคมเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้เพราะว่ากฎหมายของไทยยังไม่มีการรองรับบริการ car-sharing ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและรูปแบบบริการสมัยใหม่ที่ไม่เหมือนกับบริการรถแท็กซี่"นางเอมี่กล่าว
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นประเทศอาเซียนเพียงชาติเดียวที่มีปัญหาเรื่องบริการอูเบอร์ในขณะที่ประเทศอื่นๆต่างออกกฎหมายรองรับตลอดจนทำการศึกษาเพื่อปรับแก้กฎหมายไปแล้ว แต่ทั้งนี้คำว่ากฎหมายยังไม่รองรับนั้นตีความได้สองความหมายคือ 1.เป็นสิ่งผิดกฎหมายและ 2.เป็นโอกาสทางการทำธุรกิจบริการและพัฒนากฎหมายของประเทศ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาอูเบอร์ได้ให้การช่วยเหลือตลอดจนให้คำปรึกษาผู้ขับขี่ของอูเบอร์ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากแท็กซี่ท้องถิ่นรวมถึงการโดนเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าทางอูเบอร์พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาของรัฐบาลอีกด้วย
"จะต้องบังคับใช้กฎหมายให้ได้ เพราะรถแท็กซี่ถูกกฎหมายทำผิดก็มีการลงโทษ แต่อูเบอร์ปล่อยให้รถผิดกฎหมายเข้ามาวิ่งในระบบก็จะต้องดำเนินการเช่นกัน สิ่งที่เป็นห่วงและกังวล คือปัญหาที่คนขับแท้กซี่กับคนขับอูเบอร์อาจมีการปะทะกันบนท้องถนน ซึ่งทาง ขบ.จะพยายามดูแลอย่างเต็มที่"นายสนิทกล่าว
ขณะที่ นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ กล่าวว่า เมื่ออูเบอร์ยืนยันว่าจะยังไม่หยุดให้บริการ ทางสมาคมฯ คงจะต้องหารือกับคณะกรรมการจัดระเบียบซึ่งมีทั้งทหารและตำรวจ แต่คงจะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง พร้อมกับเสนอให้ใช้มาตรา 44 เพื่อสั่งให้รถผิดกฎหมายเหล่านี้หยุดวิ่งให้บริการทันที ในขณะเดียวกันจะเสนอให้กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจเพื่อสังคม (DE) พิจารณาสั่งปิดแอพพลิเคชั่นอูเบอร์และแกรพที่เป็นต้นทางของการนำรถผิดกฎหมายมาวิ่งให้บริการ