แฉ! ชาวบ้านป้อมพระกาฬ เอาเปรียบสังคม

แฉ! ชาวบ้านป้อมพระกาฬ เอาเปรียบสังคม

จากกรณีที่ กรุงเทพมหานครได้มีการเวนคืนที่ดิน แจ้งผู้อาศัยยู่ภายในบริเวณป้อมมหากาฬรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง ให้ออกจากพื้นที่ภายใน 30 เม.ย.59 ตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ.2535  อันเนื่องมากจากรัฐบาลได้มีนโยบายการอนุรักษ์ป้อมและกำแพงพระนคร เพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์  พร้อมได้จ่ายค่าเวนคืนไปหมดแล้วนั้น แต่ยังมีชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬบางส่วน ไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่  ทำให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ 


และจากการที่ชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรม  แต่เมื่อเรามาเปิดคำแถลง ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย  ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA  เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ซึ่งท่านได้แถลงไว้ดังนี้

ในแง่หนึ่งเราเห็นชาวบ้านถูกไล่ที่ ก็รู้สึกว่าชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน ช่วยงานบริษัทพัฒนาที่ดินมากมาย ก็ไม่ไปช่วยในกรณีไล่ที่ชาวบ้าน แต่กรณีป้อมมหากาฬ ไม่เหมือนกัน ชาวบ้านรังแกสังคมหรือไม่ ลองมาดูในแง่มุมที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กัน

1. ชาวบ้านแต่เดิมมีอยู่ 21 แปลง (บ้าน 28 หลัง) ต่อมาเช่าช่วง เช่าที่ปลูกบ้าน เช่าบ้าน อยู่กันกลายเป็น 102 หลัง ซึ่งไม่พึงมีสิทธิใด ๆ เลย

2. ทางราชการใช้วิธีการโดยละมุนละม่อมโดยตลอด เช่น ปี 2503 ซื้อที่จากชาวบ้าน 1 แปลง ปี 2507 ได้อีก 1 แปลง ปี 2516 ได้อีก 8 แปลง เหลือเพียง 11 แปลง ต่อมาได้อีก 1 แปลง จึงเหลือแปลงที่ไม่ยอมขายเพียง 10 แปลง

3. ปี 2535 กำหนดเขตเวนคืน 10 แปลงนี้ และได้จ่ายค่าทดแทนกันไปโดยปัจจุบันนี้ทั้ง 10 แปลงที่เหลือก่อนหน้านี้ ได้โอนเป็นของกรุงเทพมหานครหมดแล้ว แต่ชาวบ้านส่วนหนึ่งยังไม่ยอมไป


4. ขณะนี้เหลือเพียง 56 หลังที่ยังไม่ได้รื้อถอน แต่เจ้าของอาคารได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืน 75% ไปแล้วทั้งหมด ส่วนเงิน 25% ก็อยู่ที่แต่ละราย สำหรับรายที่เพิ่งย้ายเข้ามาปี 2535 ก็จะไม่ได้สิทธินี้ จริงๆ ที่อยู่มาก่อนหน้านี้นับร้อยจากที่มีที่ดินเพียง 21 แปลง ก็ไม่ควรมีสิทธิเช่นกัน

5. พอจะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ชาวบ้านก็ "หัวหมอ" ไปฟ้องศาลปกครองตั้งแต่ปี 2546 "เตะถ่วง" อยู่ฟรีมาอีก 13 ปีจนถึงวันนี้ โดยผู้ฟ้อง 104 ราย เป็นผู้เป็นเจ้าขออาคารจริงเพียง 14 ราย ที่เหลือไม่ใช่ เป็นเพียงผู้เช่าเท่านั้น แต่หวังได้สิทธิด้วย ศาลปกครองได้ยกฟ้อง ต่อมายังมีชาวบ้านที่เหลืออีก 91 รายอุทธรณ์ต่อและได้รับคำพิพากษายกฟ้องอีกในปี 2547

มาวันนี้จึงยังมีชาวบ้านเพียง "หยิบมือเดียว" ที่ยังไม่ยอมไป ทำให้การบูรณะโบราณสถานทำต่อไปไม่ได้ ผลประโยชน์ของส่วนรวม ของประเทศชาติเสียหาย แต่ยังมีพวกเอ็นจีโอและนักวิชาการออกมาอ้างว่าให้ชุมชนกับป้อมอยู่ด้วยกัน ทั้งนี้ถือเป็นคำอ้างส่งเดชที่ "พิสูจน์ไม่ได้" ด้วยหรือไม่ โดยนัยนี้ถ้าจะหาทางเข้าข้างผู้บุกรุก ก็ควรให้มีเหตุผลมากกว่านี้

นักวิชาการบางท่านอ้างว่าการรื้อชุมชนป้อมมหากาฬจะทำให้สูญเสียโบราณคดีที่มีชีวิต ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้ ข้อนี้คนอ้างคงละเลยความจริงที่ว่าพวกชาวบ้านไม่มีสิทธิอยู่ การที่รัชกาลที่ 3 พระราชทานที่ดินให้ข้าราชบริพารอยู่ แล้วพวกชาวบ้านก็มาเช่าที่ดินต่อ แต่ตอนนี้แม้แต่ข้าฯ เหล่านั้นก็ย้ายออกไปแล้ว แต่ผู้เช่ายังไม่ยอมไป อย่างนี้มีมโนธรรมหรือไม่

นักวิชาการยังอ้างว่าตัวอย่างของเมืองโบราณในต่างประเทศอย่างเช่น กรุงโรม ลอนดอน. . .เป็นการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานที่สำคัญ ข้อนี้เชื่อว่าที่เขาอยู่นั้น ไม่ได้อยู่อย่างบุกรุกไร้สิทธิเป็นแน่ อันที่จริงชาวบ้านควรตระหนักว่าตน "อยู่ฟรี" มาหลายชั่วรุ่นแล้ว เอาเปรียบสังคมมามากแล้ว ควรรู้จักพอเสียที

พวกองค์กรสิทธิ์ยังแสดงความห่วงใยถึงแผนการรื้อชุมชนซึ่งอ้างว่าขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ แต่แท้จริงแล้วชาวชุมชนไม่มีสิทธิใดๆ เลย นี่เป็นการกระทำผิดกฎหมายบุกรุกโดยตรง ชาวชุมชนได้รับเงินชดเชยไปแล้ว แต่หวนย้ายกลับเข้ามาอยู่ใหม่อีก พฤติกรรมเช่นนี้สมควรแล้วหรือ อย่างไรก็ตามในจำนวนบ้านพักอาศัยที่ ในแง่ตรงกันข้าม การกระทำแบบนี้เป็นการนำเอาสมบัติของแผ่นดินที่เป็นของส่วนรวมไปใช้เป็นของส่วนตัวอย่างไม่ถูกต้องไหม

วิญญูชนโปรดพิจารณา อย่าได้ "ดรามา" อย่างมืดบอด  

แล้วท่านคิดอย่างไรกับชุมชนป้อมมหากาฬ?




แฉ! ชาวบ้านป้อมพระกาฬ เอาเปรียบสังคม


แฉ! ชาวบ้านป้อมพระกาฬ เอาเปรียบสังคม


ที่มา อีเมล์จาก ดร.โสภณ พรโชคชัย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์