ทุบแฟลตยังไม่ชัด รอฟังผลบอร์ดกคช.

"ทุปแฟลตดินแดง ไม่รอผลบอร์ด"



หลังจากมีการรื้อฟื้นเรื่องแฟลตดินแดงที่ถูกสำรวจพบว่าโครงสร้างอาคารอยู่ในขั้นวิกฤติ มีสภาพอันตราย

เสี่ยงต่อการถล่มครืนลงมาเพราะตัวตึกแตกร้าว

คานและเสาถูกสนิมเกาะกินจนผุกร่อน โดยผู้เกี่ยวข้องเสนอให้มีการทุบทิ้งรวม 20 อาคาร เพื่อความปลอดภัยและก่อสร้างขึ้นมาใหม่นั้น

นายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ถึงกรณีแฟลตดินแดงว่า ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยเคยแจ้งเตือนไปยัง กทม.เรื่องสภาพความแข็งแรงของแฟลตดินแดงแล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นก็ถือว่ากระทรวงได้เตือนแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของ กทม.

ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ตรงตามข้อเท็จจริง

หากจำเป็นต้องรื้อก็รื้อ ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยๆ ยืนยันว่าการสำรวจสภาพอาคารครั้งนี้ไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาแทรกแซง เพราะกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นห่วงสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก

ขณะที่นายชนินทร์ รุ่งแสง โฆษกกรุงเทพมหานคร

เปิดเผยหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงผลการศึกษาสภาพและประเมินความแข็งแรงอาคารแฟลตดินแดง ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

โดยนายวรภาส รุจิโภชน์ ผอ.เขตดินแดง

ได้รายงานข้อมูลของ AIT ให้ที่ประชุมรับทราบ ระบุว่าควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ไม่ใช่เสนอให้ทุบอาคารทิ้ง เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง ทำให้ทราบว่าคณะอนุกรรมการป้องกันอุบัติภัยเคหสถาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่



และสาธารณสถาน (กปอ.)

ที่กระทรวงมหาดไทยตั้งขึ้นมา มีมติเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2549 ให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซ่อมแซมและเสริมโครงสร้างที่ทรุดโทรม และในวันที่ 17 พ.ค. การเคหะแห่งชาติจะประชุมเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว

ขณะนี้เขตได้ทำหนังสือขอทราบมติที่ประชุม

เนื่องจากต้องการทราบว่าจะทุบหรือจะซ่อมแซม หากทุบหรือซ่อม ก็จะต้องทำหนังสือขออนุญาตจากสำนักการโยธา พร้อมระบุแผนการทำงาน เมื่อผ่านความเห็นชอบ

จึงจะเริ่มดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้

และระหว่างการดำเนินการสำนักการโยธาจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ขณะที่เขตในฐานะเจ้าของท้องที่ ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลความเรียบร้อย

วันเดียวกัน ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส.เขตดินแดง กทม.แถลงถึงเรื่องแฟลตดินแดง ว่า ตนได้รับร้องเรียนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในแฟลตดังกล่าวว่ามีความสับสนไม่ชัดเจน เพราะรายงานของ AIT ไม่มีข้อเสนอให้ทุบแฟลต

แต่กลับมีรายงานข่าวจากผู้ที่เกี่ยวข้องจาก AIT ว่า

ต้องมีการทุบแฟลต จึงต้องมีการตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ทั้งนี้ ในความเป็นจริงและหลักวิชาการ ยืนยันว่า แฟลตดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ ไม่ต้องทุบ แต่เหตุที่มีเรื่องอย่างต่อเนื่อง เพราะมีเรื่องผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง เท่าที่ทราบคือมีคนอยากนำพื้นที่นี้ไปทำธุรกิจ จึงพยายามหาเหตุให้ ต้องมีการทุบแฟลต

นายพีระพันธุ์กล่าวอีกว่า น่าประหลาดใจว่า

โครงการนี้เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองดินแดงส่วนที่ 1 จะต้องมีการทุบแฟลตจำนวนมาก โดยเฟสที่ 1 คือแฟลตที่ 1-8 ที่อยู่ ริมถนนดินแดง ที่มีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรืออาคารสูงเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย



และแฟลตที่ 21-32 ที่อยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต

ซึ่งจะใช้ก่อสร้างศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน น่าสังเกตว่าเหตุใดรายงานที่แจ้งให้ทุบแฟลตเหล่านี้ก่อน จึงเป็นพื้นที่เดียวกัน กับพื้นที่ที่โครงการนี้ จะสร้างศูนย์การค้า อาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม

ฉะนั้น เชื่อว่าเรื่องนี้ต้องมีลับลมคมใน

จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนการระบุว่าพื้นที่ใน กทม.มีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 5 ริกเตอร์และอาจทำให้แฟลตถล่มลงได้นั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง อาคารต่างๆ ใน กทม.คงพังไปหมด ไม่เฉพาะแฟลตดินแดงเท่านั้น

ที่โรงแรมเรดิสัน นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงเรื่องแฟลตดินแดงว่า การดำเนินการต้องยึดคนเป็นศูนย์กลางและความปลอดภัยในชีวิตของคนเป็นหลัก เมื่อมีสถาบันที่มีความเป็นกลางเข้ามาศึกษา

เพื่อนำผลมาประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้

ต้องคำนึงถึงตัว ผู้อยู่อาศัยให้เดือดร้อนน้อยที่สุดและให้เข้ามาพิจารณารับฟังข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้ความเห็นร่วมกัน แต่ด้านเทคนิคต้องมองความปลอดภัย เลือกวิธีที่ดีที่สุด

หากจะรื้อย้ายหรือปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน

ต้องดูเรื่องค่าใช้จ่ายและการดำเนินการ เรื่องนี้คงต้องใช้เวลา ไม่ควรรวบรัดตัดสินใจ และมีข่าวว่า มีนักการเมืองล่ารายชื่อกันต่อต้านการที่จะทุบแฟลตดินแดง

นายพรศักดิ์ บุณโยดม ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ

กล่าวว่า การเคหะฯได้ให้ AIT สำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2546 และจากการสำรวจล่าสุดในปี 2550 พบว่าอัตราเร่งความเสียหายเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะพบสนิมที่เหล็กและคานเสียหายเร็วมาก



ซึ่ง AIT จะนำเสนอเรื่องนี้ ต่อที่ประชุมบอร์ด กคช.

ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ ซึ่งการประชุมบอร์ดจะพิจารณาโดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะอาคาร 20 หลัง ที่เป็นพื้นที่สีแดง ที่มีความเสียหายสูงสุด จะพิจารณาซ่อมแซมในส่วนที่สามารถซ่อมได้

เพื่อให้ ขยายอายุการใช้งานอยู่ได้อีกหลายปี

โดยใช้งบประมาณกลางปี 2549 จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนจุดที่วิกฤติมากๆอยู่ต่อไปไม่ได้ หากซ่อมอาจจะเกิดอันตราย จะแจ้งให้ ผู้อยู่อาศัยทราบ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยร่วมตัดสินใจว่าจะให้ ทางการเคหะฯ ดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้การเคหะฯไม่ได้ อยากทุบตึกเพื่อสร้างใหม่ แต่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่อยู่อาศัยเป็นที่ตั้ง

ทางด้านประชาชนผู้อยู่อาศัย นายเรืองยศ รักมั่นมิตรดี

อายุ 59 ปี ประธานเคหะชุมชนดินแดงแฟลต 1-20 กล่าวถึงการทุบแฟลตดินแดงทิ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการทำประชาพิจารณ์มาหลายครั้ง สัมมนามาหลายหน ทั้งที่เมืองพัทยาและที่โรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์

มีอาจารย์จากสถาบันพระปกเกล้าเข้าร่วมประชุมด้วย

ได้มีข้อเสนอบางอย่างออกมา แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติ ขณะนี้ชาวบ้านกำลังรอดูว่าการเคหะฯจะเอาอย่างไร แต่ตนตั้งข้อสังเกตว่า ใกล้เลือกตั้งทีไร จะมีข่าวการทุบแฟลตออกมาทุกครั้ง ทำให้คิดว่าเรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

ก่อนหน้านี้วิศวกรเข้ามาสำรวจแล้วพบว่าแฟลต 1-8

และแฟลต 21-32 เสียหายและทรุดโทรมมาก ซ่อมแล้วไม่คุ้ม แต่ระหว่างแฟลตที่ 9-20 ยังไม่เป็นพื้นที่สีแดง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ตนไปประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ที่โรงแรมเดอะ แกรนด์

วิศวกรสรุปออกมาว่า หากเป็นบ้านเขาคงจะไม่

ซ่อมแล้ว จะสร้างใหม่แทน เพราะราคาค่าซ่อมกับสร้างใหม่พอๆกัน ท่าทีของชาวบ้านขณะนี้คงต้องรอบอร์ดของการเคหะฯที่จะประชุมกันในวันที่ 17 พ.ค. ว่าจะเอาอย่างไร



นายเรืองยศกล่าวอีกว่า หลายฝ่ายประชุมกันหลายหน

แต่ไม่มีความชัดเจนสักครั้ง เคยมีข้อเสนอจากการเคหะฯ ว่า หากมีการทุบจะให้ค่าเช่าเดือนละ 3 พันบ้าง หรือถ้าหากจะไม่อยู่จะให้ค่าขนย้ายเป็นเงิน 2.6 แสนบาท แล้วเรื่องก็เงียบหายไปหลายปี พอใกล้เลือกตั้งก็มีข่าวขึ้นมาอีก

เป็นการหาเสียงกันหรือเปล่า

สิ่งไหนที่ซ่อมได้ก็ควรจะซ่อม เพราะอยู่กันมาถึง 40 ปี มีความผูกพันกับชุมชนเป็นอย่างมาก ถ้าไปอยู่ที่ใหม่ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่อีก ที่สำคัญจุดนี้เป็นใจกลางเมือง ไปไหนมาไหนสะดวก

หากไม่ไหวจริงๆจำเป็นต้องทุบ ชาวบ้านก็คงจะยอม

แต่การเคหะฯจะต้องทำประชาพิจารณ์ เรียกประชุมชาวบ้านที่ ได้รับผลกระทบว่าจะมีวิธีช่วยเหลืออย่างไรไม่ให้เดือดร้อน ให้ชัดเจนก่อน ชาวบ้านจึงจะยินยอม

ด้านนายสุมิตร เสรพันธุ์ อายุ 78 ปี

รองประธานคณะกรรมการชุมชนดินแดงแฟลต 21-32 กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ประมาณ 7-8 เดือน ได้เคยประชุมกันที่เขตพญาไท เห็นว่าแฟลต 21-32 รากฐานยังดีอยู่ แต่มีร่องรอยของการชำรุดบ้างเล็กน้อย

ทางเขตได้เข้าซ่อมแซมและอนุญาต

ให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ต่อ แต่ภาพที่ไปปรากฏทางสื่อนั้น มักจะเป็นภาพที่มีการชำรุด แต่ยืนยันว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของแฟลต 21-32 ยังสามารถใช้การได้ดี หากจะมีการทุบทิ้งจริง ชาวบ้านคงจะไม่ยอมอย่างแน่นอน

เนื่องจากขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนจากการเคหะฯ

ออกมาเลยว่าจะดำเนินการอย่างไร ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากเรื่องการเมือง เพราะใกล้เลือกตั้งทีไรมักจะมีข่าวทุบทิ้งแฟลตดินแดงออกมาทุกที และในวันที่ 17 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมใหญ่ของชาวแฟลตดินแดงว่าจะเอาอย่างไรกับเรื่องนี้



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์