สถาปนิก โชว์ เหรียญสิบปี 33

นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า เหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 10 บาทที่ผลิตในปี 2533 มีจำนวนผลิตเพียง 100 เหรียญเท่านั้น
 
กรมธนารักษ์ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 10 บาท โลหะสองสี ผลิตออกใช้ในปี พ.ศ.2531 เป็นครั้งแรก โดยผลิตเอง จำนวน 60,200 เหรียญ ต่อมาในปีพ.ศ. 2532 เพื่อให้มีเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี ชนิดราคา 10 บาท เพียงพอต่อการใช้หมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่สามารถผลิตได้เองจึงสั่งซื้อเหรียญ 10 บาท สำเร็จรูปจากประเทศอิตาลี จำนวน 100 ล้านเหรียญ มีการทยอยส่งมอบให้ในปี พ.ศ.2532-2533

ดังนั้น ในปีพ.ศ. 2533 กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเหรียญตัวเปล่า 10 บาท จากบริษัทประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 50 ล้านเหรียญ
 
มาตีตราเป็นเหรียญสำเร็จรูปเอง แต่ปรากฏว่าเหรียญ 10 บาท ที่ซื้อเข้ามาในปีพ.ศ.2532 ประชาชนไม่นิยมแลกไปใช้ เนื่องจากยังมีธนบัตรราคา 10 บาท ที่ยังผลิตให้ประชาชนใช้อยู่ จึงไม่ได้ผลิตเหรียญชนิดราคา 10 บาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติม

นาย นริศกล่าวต่อว่า ในปีพ.ศ.2533 กรมธนารักษ์เข้าร่วมการประชุม Mint Directors Conference (MDC) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศอังกฤษ
 
จึงผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 10 บาท ขึ้นเพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นตัวแทนจากโรงกษาปณ์รัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้จำหน่ายเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหรียญเข้าร่วมด้วย สำหรับเหรียญชนิดราคา 10 บาท ที่ผลิตเองจำนวน 100 เหรียญนั้น จะตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งว่า ได้มอบเป็นที่ระลึกแก่ที่ประชุม MDC ทั้งหมดหรือไม่

สถาปนิก โชว์ เหรียญสิบปี 33

วัน เดียวกัน นายอรรณพ แก้วปทุมทิพย์ สถาปนิกและนักสะสมเหรียญ หนึ่งในผู้ถือครองเหรียญ 10 บาท สองสี พ.ศ. 2533

ได้ออกมาเปิดเผยว่า ผู้รู้รุ่นก่อนเล่าว่า อธิบดีกรมธนารักษ์ในสมัยนั้น ทำหนังสือขอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขออนุญาตผลิตเหรียญ 10 บาท จำนวนประมาณ 100 เหรียญ เพื่อเผยแพร่ในงานจัดแสดงเหรียญในต่างประเทศ ซึ่งผู้ถ่ายทอดเรื่องราวระบุว่า มีหนังสือการจัดทำเหรียญยืนยัน แต่ก็ยังไม่เคยเห็นหนังสือด้วยตัวเอง ได้ยินข้อมูลจากผู้รู้ที่ยืนยัน ช่วงจัดสร้างไม่ค่อยมีผู้สนใจเหรียญนี้มากนัก กระทั่งเวลาผ่านไปกลุ่มพ่อค้าเหรียญ ซึ่งมักหาข้อมูลเรื่องการผลิตเหรียญ ทราบเรื่องเข้าก็กลายเป็นที่ฮือฮาขึ้นมาอีกเล็กน้อย แต่ก็ยังอยู่ในวงแคบ เพราะวงการเหรียญไม่เหมือนวงการพระเครื่อง

นายอรรณพกล่าวต่อ ว่า หลังจากมีการผลิตเหรียญปี 2533 วงการพระเครื่อง จึงมีผู้พยายามค้นหาเหรียญมากขึ้นตั้งแต่ปี 2538 แต่ก็ยังไม่มีใครหาได้

ส่วนใหญ่มักเป็นราคาคุย จนประมาณปี 2543 มีพ่อค้าหยิบเหรียญ 10 บาท ปี 2533 ให้ดูและเล่าข้อมูลให้ฟัง ตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่า ถ้าเอาเหรียญนี้ไปก็จะถ่ายทอดข้อมูลได้โดยไม่ต้องไปจากที่อื่น ตนเลยตัดใจซื้อมา ซึ่งช่วงนั้นราคาที่ซื้อมาก็เป็นหลักแสนแล้ว

นาย อรรณพยังกล่าวอีกว่า เมื่อซื้อเสร็จยังเดินถามหาเหรียญจากร้านอื่น แต่ก็เจอแต่คุยว่าหาเหรียญให้ได้ในราคา 4-5 หมื่นบาท

ทำให้ตนรู้สึกหวิวเล็กน้อย เมื่อได้ยินราคาที่ต่ำกว่าที่ซื้อมา แต่ยังบอกให้พ่อค้าหาเหรียญ ตนจะให้ราคาเหรียญละ 8 หมื่นบาท แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เจอเหรียญอื่น นอกจากที่ซื้อมาในครั้งแรก ส่วนเหรียญนี้จะไปอยู่กับนักสะสมคนอื่นบ้างหรือไม่นั้น ตนมั่นใจว่าไม่มีใครรู้ข้อมูลนี้ แม้แต่จำนวนเหรียญที่ผลิตมา สมมติว่าทำมา 100 เหรียญจริง จะนำไปจัดแสดงทั้ง 100 เหรียญหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้แน่ชัด หรือถ้าสันนิษฐานว่าแจกเหรียญไม่หมดแล้ว จะเหลือกลับมาเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครตอบได้ชัดเจน เพราะเชื่อว่าช่วงเวลานั้น ไม่มีใครสนใจมากนัก

นาย อรรณพกล่าวต่อว่า ตนประเมินว่า ถ้าเอาไปแล้วแจกสักครึ่งหนึ่ง หรืออาจแจกให้ ผู้ติดตามก็น่าจะร่วมร้อย

เชื่อว่าน่าจะเหลือ กลับมาเมืองไทย หรืออยู่ในเมืองไทยประมาณ 30 เหรียญ น่าจะวนเวียนอยู่แถวนี้ไม่มากนัก แม้ว่าการปลอมเหรียญในช่วงนั้น จะทำได้ไม่เหมือน และมองออกว่า เป็นเหรียญจริงหรือปลอม ถ้ามีข้อมูลและสังเกตอย่างละเอียด ตนจะพกแว่นส่องทั้งขนาด 1 ต่อ 10 และ 1 ต่อ 20 จุดที่นักสะสมกังวลคือจุดเลขปีพ.ศ.ผลิต ซึ่งอาจมีการตัดหางเลข 7 (๗) แบบไทยให้กลายเป็นเลข 3 (๓) อย่างไรก็ตาม นอกจากจะสังเกตอย่างละเอียดแล้ว ข้อเท็จจริงคือหัวของเลข ๓ กับเลข ๗ แบบที่ถูกตัดหางไปก็แตกต่างกันอยู่ดี แม้ว่าจะตัดหางได้เนียนแค่ไหน ซึ่งในชีวิตตนไม่เคยขายเหรียญแม้แต่เหรียญเดียว แต่ถ้ารักกันจริงๆ ก็ให้ฟรี และไม่รู้จักกับร้านที่ประกาศรับซื้อเป็นการส่วนตัว แต่เชื่อว่าอย่างน้อยก็สามารถสร้างกระแสให้คนสนใจเหรียญและเห็นว่าเหรียญที่ อยู่ในกระเป๋ามีค่า ทำให้คนรุ่นใหม่รักการสะสมมากยิ่งขึ้น

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์