เตือน..! วัยรุ่นใต้เสพยาสูตร4x100ผสมยาจุดกันยุงอัมพาต

เตือนวัยรุ่นแดนใต้เสพยาสูตร "สี่คูณร้อยผสมยาจุดกันยุง"อัมพาต


สาธารณสุข เผยยาเสพติดสูตร "สี่คูณร้อยผสมยาจุดกันยุง" กำลังแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ดื่ม

เพราะไม่มีกลิ่น วัยรุ่นเชื่อว่ายากันยุงทำให้เมาเหมือนยุง ชี้หากร่างกายรับสารพิษในยากันยุงมาก ๆ อาจล้มทั้งยืน กลายเป็นอัมพาตได้



นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผย


ถึงผลการตรวจเยี่ยมศูนย์บำบัดยาเสพติดจังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามการบำบัดผู้เสพยาเสพติดในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไทยมุสลิมพบว่า ขณะนี้ปัญหายาเสพติดเริ่มหวนกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นในบางพื้นที่ และประชากรบางกลุ่ม

ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชายแดนใต้ ถึงแม้ว่ามีสัดส่วนปัญหายาเสพติดเพียงร้อยละ 7 ของทั้งประเทศ แต่จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดที่รุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ และยังเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของประเทศด้วย

จากการประชุมเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข รวมทั้งฝ่ายตำรวจ พบว่ายาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดในวัยรุ่น 3 จังหวัด ได้แก่ ยาเสพติดที่ผสมกันเอง มีชื่อเรียกว่า "สี่คูณร้อย"

ซึ่งมีส่วนผสมของสารเสพติด 3 ตัว และผสมยาจุดกันยุงด้วย นำมาต้ม ใช้ดื่ม เนื่องจากสารเสพชนิดนี้ไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่มีใครรู้

นพ.มงคล กล่าวว่า การที่วัยรุ่นบดยาจุดกันยุงใส่ลงไปด้วย เนื่องจากมีความเชื่อว่า จะทำให้เมาเหมือนยุง ซึ่งเป็นความเชื่อที่อันตรายมาก

เนื่องจากสารเคมีในยาจุดกันยุง เป็นสารกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ สลายตัวได้ง่าย มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ทำให้แมลงหรือยุงเป็นอัมพาต และร่วงหล่นได้ภายใน 2-3 นาที หากคนได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้เช่นกัน

เช่น เกิดอาการชักกระตุก เดินโซเซ ชัก และเป็นอัมพาตได้ เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ในปี 2550 รัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย ที่ให้มีการปฏิบัติการ รวมพลังไทยขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชันด้วย


สำหรับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดใน 3 จังหวัดดังกล่าว


ในปี 2550 สธ.มีนโยบายส่งเสริมให้วัยรุ่นในพื้นที่ดังกล่าว ใช้เวลาว่างเล่นกีฬาตามความสนใจหรือตามถนัด เช่น ฟุตบอล ตะกร้อ และจัดแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้าน หากคนไหนมีแววจะสนับสนุนให้ก้าวสู่ระดับทีมชาติ

โดยจะประสานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาต่อไป โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสำรวจความต้องการเล่นกีฬาของวัยรุ่นแล้ว

ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2549 มีผู้ติดสารเสพติดเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด จ.ปัตตานี ทั้งหมด 578 ราย ลดลงจากปี 2548 ที่มีจำนวน 995 ราย เนื่องจากผู้เสพมักเป็นชาวประมง มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ยาเสพติดที่พบมากที่สุดใกล้เคียงกัน

ได้แก่ ยาบ้า และเฮโรอีน รองลงมาคือ กัญชา ที่สำคัญพบว่ามีการใช้ยาเสพติดหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการดื่มสารเสพติดสี่คูณร้อยร่วมกับยาบ้าด้วย พบประมาณร้อยละ 10 ของผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด

จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงว่า การดื่มสารเสพติดสี่คูณร้อย อาจเป็นการเปิดประตูให้วัยรุ่นก้าวสู่การเสพติดยาเสพติดตัวอื่น ๆ มากขึ้น



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ จาก หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์