ป้านก อายุ 47 ปี กล่าวว่า ตัวเองอาศัยอยู่บริเวณริมคลองหลอดมานานถึง 6 ปีแล้วอาชีพหลักก็คือเก็บขวดขาย
แต่ช่วงที่มีม็อบเก็บได้เยอะขึ้นโดยเฉพาะช่วงที่จะมีการเคลื่อนขบวนบางวันเมื่อนำไปขายแล้วได้มากถึง 200 บาท จากวันธรรมดาที่ไม่มีม็อบจะขายได้เพียงวันละ 30 บาท ส่วนอาหารป้านกเล่าว่าตนเองไม่ค่อยได้ไปกินเท่าไหร่เนื่องจากว่าส่วนใหญ่เป็นอาหารใต้มีรสชาติเผ็ดกินไม่ค่อยได้ แต่ชอบเพราะคนเยอะมีเพื่อนเยอะดี อย่างไรก็ตามป้านกไม่เคยคิดที่จะเข้าไปอยู่บ้านอิ่มใจของกรุงเทพมหานครเลยเพราะชอบความอิสระอีกอย่าง คือป้านกเองก็เป็นวัณโรคจึงไม่อยากเอาเชื้อโรคไปแพร่ให้คนอื่นและอยู่แบบนี้ก็สบายใจดี
ป้าคำหล้า อายุ 48 ปี เล่าว่าโดยพื้นเพแล้วเป็นคนสุรินทร์แต่เดินทางด้วยรถไฟฟรีไป ๆ มา ๆ ระหว่างกรุงเทพฯ-สุรินทร์
เพื่อเข้ามาเก็บของเก่าขาย ช่วงที่มีม็อบรายได้ก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพราะไม่ค่อยได้เข้าไปเก็บเท่าไหร่ เนื่องจากคนเยอะมากเฉลี่ยช่วงม็อบก็จะขายได้ประมาณวันละ 30-40 บาท แต่หากไม่มีก็วันละ 10 บาท และชอบอาหารฟรีให้กิน อร่อยดี มีหลายอย่างดีที่ชอบที่สุดคือขนมจีนอีกอย่างที่ชอบมีเพลงให้ฟังด้วย
น้านก อายุ 35 ปี กล่าวว่า สำหรับตัวเองนั้นบ้านอยู่แถวสะพานควายแต่ไม่อยากกลับบ้านเพราะไม่ชอบแม่เลี้ยงจึงมาอยู่กับเพื่อนที่หน้าศาลฎีกา
ช่วงที่มีการชุมนุมก็เดินไปกินข้าวตลอด ไปเก็บขวดขายได้เฉลี่ยวันละเกือบ 160 บาท จากปกติที่ไม่เคยได้ถึงร้อยแต่ที่สำคัญคือเวลามีม็อบจะมีเพื่อน ๆ เยอะเพราะต่างคนก็มาเก็บขวดขายทำให้ไม่เหงาดี อีกอย่างก็มีเพลงให้ฟังแบบฟรี ๆ ด้วย
พี่ต้อม อายุ 36 ปี เล่าว่าส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยชอบม็อบเท่าไหร่นักเพราะคนเยอะวุ่นวายแต่ก็เคยเดินไปกินข้าวบ้างเป็นครั้งคราว
สำหรับอาชีพนั้นตอนนี้ไม่ได้ทำอะไรไม่ได้เก็บของขาย เพราะขาพิการอาศัยเงินเบี้ยคนพิการและแค่มานอนแถวสนามหลวงตอนกลางคืนก็พอแล้ว เพราะมีเพื่อนเยอะแต่เมื่อถามถึงว่าทำไมไม่ไปบ้านอิ่มใจพี่ต้อมกลับบอกว่าไม่รู้จัก และไม่เคยได้ยินอยู่ตรงนี้ก็สบายอยู่แล้ว
นอกจากคนเร่ร่อนที่ชอบม็อบแล้วแต่สำหรับบางคนกลับเห็นว่าเวลาที่มีม็อบทำให้เขาเสียพื้นที่ส่วนตัวไปให้คนอื่น ๆ ที่เข้ามาเพื่อจะมาหาข้าวกิน เก็บของขายจากม็อบครั้งนี้ รวมทั้งเห็นว่าการก่อม็อบสร้างความเสียหายให้กับประเทศเช่น
ลุงวิเชียร อายุ 65 ปี และลุงป๊อก อายุ 58 ปี กลับมีความเห็นต่าง ลุงวิเชียรเล่าว่าตนอยู่แถวศาลฎีกานานกว่า 20 ปี
แต่เทียวไปเทียวมาเพราะบ้านอยู่คลองเตยอาชีพหลัก ๆ ก็จะคอยโบกรถให้คนที่มาศาล รายได้ก็แล้วแต่บางวันก็ได้เยอะบางวันก็ได้น้อยแล้วแต่คนที่มาจอดจะจ่ายให้ แต่ช่วงที่มีม็อบก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เพราะคนไม่เข้ามาบริเวณนี้ ช่วงมีม็อบคนเก็บของเก่าก็เยอะไม่อยากไปแย่ง นอกจากจะแย่งกันเก็บแล้ว ยังมาแย่งที่นอนด้วย แต่อย่างไรก็ตามคิดว่าคงไม่กลับบ้านเพราะอยู่ตรงนี้ก็สบายดี ระหว่างที่เล่าก็เปิดทรานซิสเตอร์คลอเพลงเบา ๆ นั่งบนเปลเอนหลังพร้อมกับกระดิกขาไปตามจังหวะเพลงราวกับว่าชีวิตนี้มีแค่นี้ก็พอแล้ว
ด้านลุงป๊อกเล่าว่า ตัวเองเป็นคนอยุธยาแต่พอได้ข่าวว่าจะมีม็อบก็ตามมา
เพื่อสังเกตการณ์ไม่ได้มีอาชีพอะไรแน่นอนส่วนตัวแล้วคิดว่าการก่อม็อบไม่ดีทำให้เศรษฐกิจเสียหาย บ้านเมืองไม่เดินหน้าแต่ตัวเองก็มาอยู่ที่นี่ได้เกือบเดือนแล้ว ก็อาศัยกินข้าวกับม็อบรู้สึกว่าอร่อยดีพร้อมโชว์ถุงกับข้าว บอกว่า “นี้ก็เพิ่งไปเอามาจากม็อบนะตั้งแต่เมื่อคืนละเห็นว่ามันอร่อยดีเลยขอมากะว่าจะเก็บไว้กินตอนเย็น” ลุงป๊อกยังเล่าต่อว่า อีกไม่นานคงกลับอยุธยาแล้วเพราะดูจากท่าทางแล้วม็อบไม่น่าจะมีอะไร
น่าแปลกใจระหว่างที่คนกรุงเทพฯ เห็นจะกังวลกันมากเมื่อพูดถึงว่าจะเกิดม็อบตรงจุดใดจุดหนึ่ง
แต่สำหรับพวกคนเร่ร่อนแล้วช่วงที่มีม็อบคงเป็นนาทีทองเพราะนอกจากม็อบจะทำให้มีข้าวกินอย่างอิ่มหนำสำราญ โดยไม่ต้องไปแบมือขอใครแล้ว ยังมีรายได้เพิ่มเป็นเท่าตัวไว้สำหรับใช้จ่าย แม้บางครั้งได้มาจะถูกขโมยไปตอนหลับแต่ก็ยังมีเสียงดนตรีจากม็อบคอยปลอบประโลมจิตใจอีกทั้งยังมีเพื่อน ๆ ค่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พูดคุยแม้บางครั้งจะมีคนเร่ร่อนบางจำพวกที่รักสันโดษไม่อยากได้ม็อบ แต่ต่างก็เอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่ามีม็อบแล้วไม่เหงา มีเพื่อน มีอาชีพแถมยังมีข้าวกิน บางวันก็ไปนอนในม็อบเลย พอช่วงนี้ม็อบกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าเหงา เงียบไม่ชินพร้อมกับอยากให้ม็อบ