ปลอดประสพชี้ ปีนี้อาจมีประกาศอพยพน้ำท่วมอีก

ปลอดประสพชี้ ปีนี้อาจมีประกาศอพยพน้ำท่วมอีก

“ปลอดประสพ”ชี้ ปีนี้อาจมีประกาศอพยพน้ำท่วมอีก แต่ไม่รุนแรง รัฐบาลกำหนด "จุดรับน้ำ-ชดเชยเกษตรกร" จังหวัดกลางน้ำแล้ว ระบุล่าสุดได้แล้ว 4.7 แสนไร่


เมื่อเวลา 10.45 น. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงร่วมกัน ที่ห้องโกลเด้นท์ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ทแอนด์สปา จ.นครสวรรค์ ว่า จากการใช้โมเดลทางวิทยาศาตร์ และวิเคราะห์ไป100 ปี พบว่า ใน 1 ปีนี้ประเทศไทยจะถูกพายุ 1ลูก และอิทธิพลพายุอีก 2 ลูก ฝนตกประมาณ 600-700 มิลลิเมตรต่อวินาที จำนวนน้ำท่า 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) โดยจะบริหารจัดการน้ำเก็บไว้ในเขื่อน 5,000 ล้านลบ.ม. เก็บไว้ในแก้มลิง 5,000 ล้านลบ.ม. และที่เหลือ 10,000 ล้าน ลบ.ม. รัฐบาลจะควบคุมผล่อยน้ำผ่านออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง ให้ได้ภายใน 45 วัน

นายธีระ แถลงว่า การเชื่อมลุ่มน้ำเข้าด้วยกันและผันน้ำ เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน หากแม่น้ำยมมากเกินไปก็จะผันลงแม่น้ำน่าน โดยอาศัยลำคลอง เนื่องจากลำน้ำน่านมีเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยในการบริหารจัดการน้ำได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีลุ่มน้ำยมเก่า และคลองอื่นๆที่จะระบายน้ำได้ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดหน้าแล้งก็จะผันน้ำจากลำน้านานสู่ลำน้ำยมได้เช่นเดียวกัน

สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ เช่น บางระกำ ก็มีคลองกล่ำและคลองเกตุ สามารถระบายน้ำจากคลองเล็กเชื่อมสู่คลองใหญ่ได้เพื่อระบายและกักเก็บน้ำไปในตัว นอกจากนั้นฝั่งขวาของแม่น้ำยม ที่อ.บางระกำก็ต่อยอดมาจากบางระกำโมเดล ใช้บึงธรรมชาติ คือ บึงระมาณ บึงขี้แร้ง และบึงตะเคร็ง สามารถกับเก็บน้ำได้กว่า 3.2 ล้านลบ.ม. ทั้งนี้ในส่วนของคลองกล่ำ คลองเกตุ มีเป้าว่าในเดือนกรกฎาคมต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อเชื่อมโยงลุ่มน้ำต่าง ส่วนการจัดหาพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำที่เหนือจ.นครสวรรค์และเหนือจ.พระนครศรีอยุธยา ต้องลงไปสำรงจพื้นที่อย่างจริงจัง ว่าพื้นที่ลุ่มต่ำสามารถรับน้ำได้เท่าไหร่ และทำการเกษตรอะไร รวมทั้งมีชุมชนเยอะหรือไม่ เพื่อที่จะมาคำนวณลดยอดน้ำว่าจะนำไปปล่อยอยู่ตรงไหนอย่างไร ซึ่งวันที่ 27 ก.พ.นี้ จะต้องรับทราบ” นายธีระ กล่าว และว่า นอกจากนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์เยียวยา และทำความเข้าใจประชาชน โดยยึกหลักไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมาก

นายปลอดประสพ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีกระแสข่าวว่าจะใช้พื้นที่รอบๆกรุงเทพฯทิ้งน้ำนั้น ไม่เป็นความจริง และไม่ได้ให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯ มากกว่าจังหวัดอื่นๆ เพียงแต่ยึดหลักการว่าจะใช้พื้นที่ใดที่ชะลอน้ำให้ได้มากที่สุด ก่อนปล่อยลงสู่ทะเลไม่ได้ต้องการไปทำร้ายพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า สำหรับพื้นที่รับน้ำนอง จะมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1.หนองบึงตามธรรมชาติ รัฐบบาลสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที 2.พื้นที่ราบลุ่มของเกษตรกรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูฝน ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย และ 3 พื้นที่ราบลุ่มที่มีการใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าฝน รัฐบาลจำเป็นจะต้องหามาตรการหาเงินชดเชยต่อไป ส่วนพื้นที่รับน้ำใน 6 จังหวัดกลางน้ำ ขณะนี้สามารถหาพื้นที่ได้แล้ว 470,000 ไร่ จาก 2 ล้านไร่ ได้แก่ จ.พิษณุโลก ใช้พื้นที่ บึงตะเคร็ง 300 ไร่ บึงขี้แร้ง 200 ไร่ และบึงระมาณ 34 ล้านลบ.ม.ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่เป็นแก้มลิงธรรมชาติ ส่วนแก้มลิงที่ต้องขุดลอกเพิ่มเติม คือ บึงสะะเดา 350 ไร่  จ.นครสวรรค์ จะใช้พื้นที่ข้างลุ่มน้ำยมและลุมน้ำน่าน จำนวน 120,000 ไร่ บึงบอระเพ็ด 60,000 ไร่ จ.อุทัยธานี จะใช้พื้นที่เกาะ 10,000 ไร่ และพื้นที่เกษตร 13,000 ไร่ จ.พิจิตร พื้นที่เกษตร 8 อำเภอ 36 ตำบล ที่รัฐบาลต้องเข้าไปชดเชย 259,700 ไร่ และยังมีพื้นที่ธรรมชาติ หนอง บึงอีก 407 แห่ง

ส่วนจ.ชัยนาท จะใช้พื้นที่ บึงกระจับ บึงวงฆ้อง และพื้นที่ตำบลเขาแก้วอีก 10,000 ไร่ จ.กำแพงเพชร เป็นพื้นที่สูงไม่มีพื้นที่รับน้ำ ทั้งนี้การใช้พื้นที่รับน้ำหรือทิ้งน้ำเป็นการใช้ชั่วคราวประมาณ 2-3 เดือน โดยหากพื้นที่ใดยิ่งสูง ก็จะใช้เวลาน้อยลงไปอีก และน่าจะไม่เกินเดือนพฤศจิกายนสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

ผู้สื่อข่าวถามว่าการบริหารจัดการน้ำในที่จะปล่อยลงสู่ทะเลมีพื้นที่จังหวัดใดจะเกิดน้ำท่วมในปีนี้หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ในส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง สามารถระบายน้ำได้ไม่เกิน 350 ล้าน ลบ.ม. ซึ่ง 3 แม่น้ำ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่งน้ำก็หมดพอดี

เมื่อถามว่าแสดงว่าจะต้องไม่มีพื้นที่ไหนมีการประกาศอพยพ นายปลอดประสพ กล่าวว่า โอกาสที่จะประกาศมี แต่จะต้องน้อยกว่าเดิมทั้งในแง่ของพื้นที่พื้นที่ความลึกของพื้นที่ ซึ่งการประกาศอยูในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่คาดว่าไม่ร้ายแรงเหมือนปี 2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากปีนี้มีการเตรียมการและมีเครื่องมือและสาธารณูปโภคในการบริหารจัดการน้ำมากขึ้น รวมทั้งแก้มลิงและพื้นที่รับน้ำที่ต้องมาช่วยดึงน้ำเพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมาด้วย

แหล่งข่าวจากที่ประชุม แจ้งว่า สำหรับพื้นที่ในจ.นครสวรรค์ มีพื้นที่พักน้ำที่เป็นพื้นที่ของเกษตรกร ที่รัฐต้องเข้าไปชดเชย 3 หมู่บ้าน คือ บ้านยางตาล บ้านน้ำทรวง และบ้านยางขาว ซึ่งขณะยังไม่มีการกำหนดพื้นที่และมาตรการชดเชย


ขอบคุณ ระวังภัย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์