เช็คได้ที่นี่ 16 จังหวัด 121 เส้นทางน้ำท่วมสูง-จ.อ่างทองอ่วมสุด
โดยมีโครงข่าวคมนาคมได้รับผลกระทบ รวม 93 เส้นทาง จำนวน 121 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 67 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 54 แห่ง (แบ่งเป็นทางถนน 50 แห่ง และทางราง 4 แห่ง) ซึ่งลดลงจากช่วงสัปดาห์ก่อน ที่เส้นทางถูกน้ำท่วม200แห่งโดยมี 68แห่งที่รถผ่านไม่ได้
เป็นเส้นทางถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบ รวม 89 เส้นทาง จำนวน 109 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 60 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 49 แห่ง
ส่งผลให้รฟท.ต้องหยุดเดินรถ จำนวน 7 ขบวน ได้แก่ เส้นทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่ จำนวน 2 ขบวน เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จำนวน 4 ขบวน เส้นทางกรุงเทพ - ลพบุรี จำนวน 1 ขบวน
เปลี่ยนเส้นทางการเดินรถ จำนวน 1 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพ - หนองคาย จำนวน 2 ขบวน โดยเปลี่ยนเส้นทางมาใช้เส้นทางแก่งคอย -ปากช่อง - นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่ - หนองคาย
และลดระยะทางวิ่ง จำนวน 9 ขบวน ดังนี้ เส้นทางกรุงเทพ - ลพบุรี จำนวน 3 ขบวน เหลือเดินรถ กรุงเทพ - บ้านหมอ , เส้นทางกรุงเทพ - พิษณุโลก จำนวน 2 ขบวน เหลือเดินรถ ลพบุรี - พิษณุโลก, เส้นทางกรุงเทพ - ตะพานหิน จำนวน 2 ขบวน เหลือ เดินรถ ลพบุรี - ตะพานหิน , เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จำนวน 2 ขบวน เหลือเดินรถ ลพบุรี - เชียงใหม่
ส่วน กรมเจ้าท่า (จท.) ได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดเรือท้องแบนพระราชทานฯ ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกและมอบชุดถุงยังชีพ อาหาร และน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย โดยพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ประกอบด้วย เจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 ในเขตพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ,เจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี,เจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
นอกจากนี้ กรมเจ้าท่า ได้ออกประกาศกรมเจ้าท่าเรื่องกำหนดการลากจูงในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก โดยเฉพาะช่วงระดับน้ำสูงและไหลแรง ได้ออกประกาศกรมเจ้าท่าที่ 204/2664 เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมการเดินเรือ ในช่วงระดับน้ำสูงกว่าปกติ ลงวันที่ 21 กันยายน 2564 กรณีมีการขนส่งทางน้ำ เรือลำเลียง ได้มีคำสั่งประกาศสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาอยุธยาที่ 13/2564 ลงวันที่ 29 กันยายน2564 ให้ลดระยะพ่วงจูงพ่วงละไม่เกิน 3 ลำ เพื่อความปลอดภัยต่อการเดินเรือ และการขนส่งทางน้ำไปยังเรือแม่ที่เกาะสีชังมิให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ตามหน่วยงานของกระทรวงฯ จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 24 ชั่วโมง โดยติดตั้งป้าย/อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการสัญจรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชน เช่น จัดรถรับ - ส่ง และมอบสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และซ่อมแซมเส้นทางสัญจรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางได้อย่างปลอดภัยโดยเร็ว