จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าก่อนพายุเคลื่อนขึ้นฝั่งได้เกิดลมงวงช้างขึ้นหลายสายตั้งแต่ตอน 16.00 น. แรงลมพัดบ้านเรือนจนโยกคลอน และหลังคาหลุดปลิวลอยไปทั่วทั้งเมือง เกิดคลื่นยักษ์พัดเข้าใส่แหลมตะลุมพุกจนหมู่บ้านที่มีอยู่หลายร้อยหลังคาเรือน เหลืออยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น จากนั้นฝนก็ตกหนักต่อไปจนถึง 19.00 น. เกิดลมพัดแรงอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วสงบลง แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาที ก็เกิดลมพัดแรงอีกระลอก พัดบ้านเรือนพังทลายลงจนหมด และมีคลื่นสูงใหญ่กว่าระลอกแรก โดยคลื่นยักษ์สูงเท่ากับยอดต้นมะพร้าวกวาดบ้านเรือนลงทะเลหายไป และแม่น้ำปากพนังเอ่อล้นเข้าท่วมตัวเมืองภายในเวลาไม่กี่นาที
ย้อนดูความเสียหายครั้งพายุถล่มตะลุมพุก!!
พายุโซนร้อนปาบึก เขาบอกกันว่าน่าจะมีความร้ายแรง เทียบเท่ากับพายุโซนร้อนแฮเรียต เลย (ณ แหลมตะลุมพุก)ขอให้ไม่จริงอย่างที่คาดการณ์ไว้ เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้คนบาดเจ็บล้มตายกันมาก เพราะไม่มีเครื่องเตือนภัย เราเลยค้นหาแล้วเอาภาพย้อนรอยเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2505 มาให้ดูกัน ผ่านมาแล้ว 56 ปี ....
สาระ พายุโซนร้อนแฮเรียต เป็นพายุที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2505 พายุโซนร้อนแฮเรียตพัดขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นยังคงเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้
พายุนี้เริ่มก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชั่น 78W ตามลำดับการตั้งชื่อนานาชาติ หรือ 6225 ตามลำดับการตั้งชื่อของ JMA (อุตุนิยมวิทยาประเทศญี่ปุ่น) ในทะเลจีนใต้ตอนล่างนอกชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2505 แล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเข้ามาในอ่าวไทย และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนนอกชายฝั่งจังหวัดสงขลา จากนั้นก็เปลี่ยนทิศทางตรงมายังจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศไทยในตอนค่ำของวันที่ 25 ตุลาคม ที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความเร็วลมสูงสุดวัดที่สถานีตรวจอากาศนครศรีธรรมราชได้ 95 กม.ต่อชม. หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนผ่านจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และพังงา ลงสู่ทะเลอันดามันในวันที่ 26 ตุลาคม ก่อนจะสลายตัวไปในอ่าวเบงกอลใกล้กับบังกลาเทศในวันที่ 30 ตุลาคม พายุโซนร้อนแฮเรียตได้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยในขณะขึ้นฝั่งพายุมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 กิโลเมตร ก่อให้เกิดฝนตกหนัก คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง ลมกระโชกแรง และน้ำท่วมอย่างฉับพลัน
เหตุการณ์ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าก่อนพายุเคลื่อนขึ้นฝั่งได้เกิดลมงวงช้างขึ้นหลายสายตั้งแต่ตอน 16.00 น. แรงลมพัดบ้านเรือนจนโยกคลอน และหลังคาหลุดปลิวลอยไปทั่วทั้งเมือง เกิดคลื่นยักษ์พัดเข้าใส่แหลมตะลุมพุกจนหมู่บ้านที่มีอยู่หลายร้อยหลังคาเรือน เหลืออยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น จากนั้นฝนก็ตกหนักต่อไปจนถึง 19.00 น. เกิดลมพัดแรงอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วสงบลง แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาที ก็เกิดลมพัดแรงอีกระลอก พัดบ้านเรือนพังทลายลงจนหมด และมีคลื่นสูงใหญ่กว่าระลอกแรก โดยคลื่นยักษ์สูงเท่ากับยอดต้นมะพร้าวกวาดบ้านเรือนลงทะเลหายไป และแม่น้ำปากพนังเอ่อล้นเข้าท่วมตัวเมืองภายในเวลาไม่กี่นาที
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าก่อนพายุเคลื่อนขึ้นฝั่งได้เกิดลมงวงช้างขึ้นหลายสายตั้งแต่ตอน 16.00 น. แรงลมพัดบ้านเรือนจนโยกคลอน และหลังคาหลุดปลิวลอยไปทั่วทั้งเมือง เกิดคลื่นยักษ์พัดเข้าใส่แหลมตะลุมพุกจนหมู่บ้านที่มีอยู่หลายร้อยหลังคาเรือน เหลืออยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น จากนั้นฝนก็ตกหนักต่อไปจนถึง 19.00 น. เกิดลมพัดแรงอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วสงบลง แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาที ก็เกิดลมพัดแรงอีกระลอก พัดบ้านเรือนพังทลายลงจนหมด และมีคลื่นสูงใหญ่กว่าระลอกแรก โดยคลื่นยักษ์สูงเท่ากับยอดต้นมะพร้าวกวาดบ้านเรือนลงทะเลหายไป และแม่น้ำปากพนังเอ่อล้นเข้าท่วมตัวเมืองภายในเวลาไม่กี่นาที
ความเสียหาย
พายุโซนร้อนแฮเรียตส่งผลกระทบต่อ 12 จังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงจังหวัดนราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 911 คน สูญหายอีก 142 คน บาดเจ็บสาหัส 252 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน อาคารบ้านเรือนทั่วทั้งจังหวัดพังทั้งหลัง 22,296 หลัง ชำรุด 50,775 หลัง โรงเรียนพังเสียหาย 435 แห่ง สวนยางสวนผลไม้เสียหายประมาณ 791 ล้านต้น สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนัก ต้นไม้โค่นล้มขวางทางยาวนับสิบกิโลเมตร รถไฟด่วนสายใต้ต้องหยุดเดินรถเพราะภูเขาดินพังทลายทับรางระหว่างสถานีรถไฟช่องเขากับสถานีรถไฟร่อนพิบูลย์ ประเมินความเสียหายกว่า 377-1,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังประเมินกันว่าพายุโซนร้อนแฮเรียตได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง หรือสตอรมเซิร์จขึ้นเป็นบริเวณกว้างโดยเกิดคลื่นสูงใหญ่กว่า 4 เมตร พัดกระหน่ำอีกหลายหมู่บ้านริมฝั่งทะเล
พายุโซนร้อนแฮเรียตส่งผลกระทบต่อ 12 จังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงจังหวัดนราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 911 คน สูญหายอีก 142 คน บาดเจ็บสาหัส 252 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน อาคารบ้านเรือนทั่วทั้งจังหวัดพังทั้งหลัง 22,296 หลัง ชำรุด 50,775 หลัง โรงเรียนพังเสียหาย 435 แห่ง สวนยางสวนผลไม้เสียหายประมาณ 791 ล้านต้น สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนัก ต้นไม้โค่นล้มขวางทางยาวนับสิบกิโลเมตร รถไฟด่วนสายใต้ต้องหยุดเดินรถเพราะภูเขาดินพังทลายทับรางระหว่างสถานีรถไฟช่องเขากับสถานีรถไฟร่อนพิบูลย์ ประเมินความเสียหายกว่า 377-1,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังประเมินกันว่าพายุโซนร้อนแฮเรียตได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง หรือสตอรมเซิร์จขึ้นเป็นบริเวณกว้างโดยเกิดคลื่นสูงใหญ่กว่า 4 เมตร พัดกระหน่ำอีกหลายหมู่บ้านริมฝั่งทะเล
ความช่วยเหลือ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชานุเคราะห์ผู้ประสบวาตภัยในครั้งนี้หลายๆ ประการ โดยโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ จดทะเบียนตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 และพระราชทานเงินจำนวน 3 ล้าน บาท และให้วิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิตกระจายข่าวให้ประชาชนร่วมบริจาคกับพระองค์ ส่วน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กล่าวถึงคนไทยทั้งชาติว่ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง มีนานาประเทศทั้งอังกฤษ, อิตาลี, เวียดนาม, สวีเดน และสหรัฐอเมริกา ยื่นมือให้ความช่วยเหลือและบริจาคให้กับผู้ประสบภัย
เครดิต https://t.co/yp1ZRLuxZq
https://bit.ly/2R881qh
ย้อนรอย ชมอดีต แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช กดที่นี่ http://bit.ly/2AqRsvh
ขอบคุณ FB : จังหวัดนครศรีธรรมราช
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น