อ่วม ! น้ำท่วมกระทบประมงกว่า 4 หมื่นราย

อ่วม ! น้ำท่วมกระทบประมงกว่า 4 หมื่นราย

ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิวัติ  สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงความเสียหายด้านการประมงจากอุทกภัย ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 8 ก.ย.2556- ถึงปัจจุบันว่า มีเกษตรกรด้านการประมงประสบปัญหาจากเหตุอุทกภัยแล้ว 27 จังหวัด 148 อำเภอ รวมพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด 51,838 ไร่ 3,607 ตารางเมตร  เกษตรกรได้รับผลกระทบ44,635 ราย  มูลค่าความเสียหายประมาณ  382,432,052 บาทครอบคลุมจังหวัดที่เสียหายดังนี้  จังหวัด พะเยา  ลำปาง พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ยโสธร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปราจีนบุรี ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และสระบุรี

อธิบดีกรมประมง กล่าวต่อว่า กรมประมงจะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากเหตุอุทกภัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกับกรมประมงเท่านั้น

โดยใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 9 ก.ย. 2556 เรื่อหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการ เกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ในด้านประมงโดยดำเนินการช่วยเหลือ ดังนี้ กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปูทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 10,920 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่ ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง) ไร่ละ 4,225 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่ กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปูทะเล หรือหอยทะเล ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆที่เลี้ยงในกระชัง  บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี่ยงในลักษณะคล้ายคลึงกัน ตรารางเมตรละ 315 บาท ไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตรทั้งนี้ หากเกษตรกรรายใด คำนวณพื้นที่การเลี้ยงแล้วได้รับการช่วยเหลือคิดเป็นเงินต่ำกว่า 315 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 315 บาท

อธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เกษตรกรควรเตรียมการควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ให้มีปริมาณพอเหมาะหรือมีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ  จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำ ตื้นเขิน  จัดเตรียมเครื่องเพิ่มออกซิเจน เพื่อใช้ในการช่วยเหลือสัตว์น้ำในบ่อ กรณีปริมาณน้ำจากภายนอกไหลเข้าบ่ออย่างกะทันหัน  และควรทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภคเพื่อลดปริมาณสัตว์ น้ำในบ่อให้เหลือน้อยลงทำการปรับปรุงคันบ่อและเสริมก้นบ่อให้สูงพอกับปริมาณ น้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่าน ๆ มา ที่สำคัญควรมีการวางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับสัตว์น้ำได้ก่อนฤดูน้ำหลาก ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียลงได้

“ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่กรมประมงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเตรียมการรับ มือและเฝ้าติดตามสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด 

หากเกิดผลกระทบหรือความเสียหายด้านประมง  ให้หน่วยงานในสังกัดกรมประมงเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่ง ด่วน  พร้อมจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ เรือตรวจการประมง อวน กระชัง และอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันทีที่ได้รับการร้องขอ เพื่อขนย้ายหรือจับสัตว์น้ำออกจำหน่าย  พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประมงประจำศูนย์ฯ และสถานีประมงเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่เกษตรกรอีกด้วย สำหรับเกษตรกรรายใดที่ประสบปัญหาด้านการประมงจากอุทกภัย  สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากนักวิชาการประมงได้ที่ศูนย์/ สถานี/ และสำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ส่วนโครงการพิเศษและบรรเทาปัญหาผู้ประสบภัยสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การประมง กรมประมง โทรศัพท์ 0 2558 0218 โทรสาร 0 2561 4740” อธิบดีกรมประมง กล่าว


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์