ศาลพิพากษาโชเฟอร์207-ขสมก.จ่ายเงินชดเชยพ่อน.ศ.เอแบคตกรถเมย์เสียชีวิต 10 ล้าน

ศาลพิพากษาโชเฟอร์207-ขสมก.จ่ายเงินชดเชยพ่อน.ศ.เอแบคตกรถเมย์เสียชีวิต 10 ล้าน

ศาลแพ่งพิพากษาโชเฟอร์ตีนผีสาย 207-ขสมก. - บริษัทเดินรถร่วม จ่าย พ่อนักศึกษาเอแบค กว่า 10 ล้าน พ่อเหยื่อซึ่งใจลูกสาวไม่ตายเปล่า ศาลสั่งจ่ายสูงสุดสร้างบรรทัดฐานสังคม

ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 22 มี.ค.49 เวลา 10.00น . ศาลมีคำพิพากษาคดีที่นายนำ และนางลักษณา โชติมนัส บิดา-มารดาของ น.ส.ปิยะธิดา หรือน้องฮุ่ย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารการเงินระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ที่เสียชีวิตจากการพลัดตกจากรถประจำทางร่วมบริการ สาย 207 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทวิม แสงเดช พนักงานขับรถประจำทางสาย 207 , นายธนะสิทธิ์ วรโชติหิรัญศิริ ในฐานะนายจ้าง , นายฤกษ์ชัย เรืองกิตติยศยิ่ง ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของรถ , บริษัท207 เดินรถจำกัด , นายเชาวน์ กระแสร์ชล ผู้ที่มีชื่อได้รับสัมปทานเดินรถ และองค์การขนส่งมวลชน

กรุงเทพ ( ขสมก.) เป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทน 12,081,211 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี กรณีเมื่อวันที่ 14 ก.ย.47 นายทวิม ขับรถด้วยความประมาทด้วยความเร็วทำให้ น.ส.ปิยะธิดา พลัดตกจากรถสาย 207 ที่บริเวณแยกลำสาลี ทำให้ศรีษะกระแทกพื้นอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบหักล้างการแล้ว มีประเด็นต้องวินิจฉัยประการแรก โดยจำเลยนำสืบต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นบิดามารดาที่แม้จริงของผู้เสียหาย เห็นว่า ตามสำเนาทะเบียนบ้านระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นบิดาและมารดาของผู้ตาย ส่วนที่อ้างว่าบริษัทประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมให้แก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 7.5 แสนบาท แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า เป็นการระงับข้อพิพาทของคู่สัญญาประกันภัยเท่านั้น โจทก์ทั้งสองยังมีสิทธิฟ้องผู้อื่นที่ละเมิดและเรียกค่าชดเชยในส่วนค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือ ผู้ตายนั้น ตามกฎหมายระบุว่า บุคคลใดเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ บุคคลนั้นจะต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้ตายลุกจ้างที่นั่งไปที่ประตู ขณะที่รถโดยสารกำลังเลี้ยวขวาและเสียหลักล้มลงซึ่งหากประตูรถโดยสารปิดผู้ตายคงไม่ตกไปจากรถ แต่ขณะเกิดเหตุประตูลมแบบเปิด-ปิดอัตโนมัติของรถเสีย ผู้ตายจึงพลัดตกลงไป แม้จำเลยจะนำพยานเข้านำสืบระบุว่า กฎหมายไม่ได้บังคับให้รถโดยสารทุกคันต้องติดประตูลม แต่เมื่อรถโดยสารคันเกิดเหตุได้ติดตั้งประตูลมแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานขับรถต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยในวิชาชีพ ย่อมต้องทราบดีว่ารถไม่ปลอดภัย ไม่สมควรนำมาใช้วิ่งให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร ควรให้ช่างซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัย ไม่ใช่ใช้สายยางรัดประตูซึ่งเป็นการขาดความระมัดระวัง ดังนั้นศาลเห็นว่าเหตุละเมิดเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบ

สำหรับจำเลยที่ 2-6 ต้องรับผิดชอบการกระทำของจำเลยที่ 1 หรือไม่ ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถและประกอบกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 4 จึงถือว่า ต้องร่วมรับผิดชอบจากละเมิดฐานเป็นนายจ้าง ส่วนจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับสัมปทานจากจำเลยที่ 6 ซึ่งได้รับส่วนแบ่งจากการประกอบการเดินรถดังนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ด้วย

โดยศาลกำหนดให้ชำระค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จของโรงพยาบาลรามคำแหงจำนวน 256,211บาท ค่าปลงศพจำนวน 250,000 บาท สำหรับค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์เรียกเดือนละ 50,000 บาทเป็นเวลา 20 ปี โดยคิดคำนวณจากโอกาสในอนาคตที่โจทก์จะส่งเสียผู้ตายไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสำเร็จการศึกษา จะสามารถทำงานมีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท โดยจำเลย ต่อสู้อ้างว่าเป็นการคำนวณและคาดเดาเอาเองของโจทก์นั้น ศาลเห็นว่าตามใบรับรองผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอแบค ปรากฎว่าผู้ตายเรียนคณะบริหารการเงินระหว่างประเทศ มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ประกอบกับฐานะการเงินของโจทก์จึงเชื่อว่าจะสามารถ

ส่งผู้ตายไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และหากยังมีชีวิตอยู่เชื่อว่าผู้ตายจะมีโอกาสประกอบอาชีพและมี รายได้สูง แต่เมื่อชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นถึงรายได้ของผู้ตายในอนาคตศาลจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าขาดไร้อุปการะในส่วนนี้ให้เองเดือนละ 46,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี และเมื่อหักค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับไว้จากบริษัทประกันภัยแล้วจำนวน 750,000 บาท จึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 10,747,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3

ภายหลังนายนำ บิดา น.ส.ปิยะธิดา กล่าวว่า รู้สึกทราบซึ้งในความกรุณาของศาลที่พิจารณาให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายใกล้เคียงตามฟ้อง โดยศาลยังพิจารณาสร้างบรรทัดฐานให้ขสมก. ผู้ให้สัมปทานการเดินรถ รับผิดชอบบริษัทเดินรถที่ได้รับสัมปทาน ร่วมกันชดใช้และให้ความสะดวกและปลอดภัยกับประชาชนที่ใช้บริการ อย่างไรก็ดีหลังจากนี้ถ้าหากจำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์คดีแต่จะเข้ามาขอเจรจาเพื่อปรับลดวงเงิน ตนยื่นยันว่าจะไม่ขอเจรจา แต่จะให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว

ระหว่างพิจารณาคดีผมยังเดินทางไปเยี่ยมอัฐิของบุตรสาวที่วัดเป็นประจำ เพราะผมยังคิดถึงลูกเสมอซึ่งวันนี้ที่ศาลตัดสินมาบุตรสาวคงรับรู้ได้ว่าชีวิตเ-ขาจะไม่สูญเปล่า เพราะอย่างน้อยก็มีคำพิพากษาของศาลที่สร้างเป็นบรรทัดฐานของสังคม บิดา น.ส.ปิยะธิดากล่าว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์