สาธารณสุขเตือนอันตรายยุงลายเป็นพาหะ

แนะหลัก 4 ป.ป้องกันไข้เลือดออก ผู้ป่วยซึม-หมดสติพบแพทย์ทันที


ฤดูฝนของทุกปีมักจะพบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาตามโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน หรือคลินิก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ ที่อาจเป็นไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ แต่ก็มีโรคที่น่าสนใจ คือ “โรคไข้เลือดออก” ที่เป็นปัญหาต่อวงการสาธารณสุขทั่วโลกเพราะในแต่ละปีมีผู้ล้มป่วยจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ 
 
โรคไข้เลือดออก” มักเกิดขึ้นในเขตร้อนชื้นและเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศต่าง ๆ ที่มากกว่า 100 ประเทศ ในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความรุนแรงในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคนี้มี “ยุงลายตัวเมีย” เป็นพาหะนำโรค
 
อย่างไรก็ตาม มีการประมาณการกันว่า มี ประชากรประมาณ 2,500 ล้านคน ในประเทศที่มี  การระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก มีการ ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อโรคนี้ปีละ 50 ล้านคน  และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500,000 คนต่อปี  มีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะ สูงถึงร้อยละ 20 แต่หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการ เสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 การติดเชื้อโรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายตัวเมีย ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน ซึ่งเชื้อไวรัสนี้จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง ซึ่งเมื่อยุงลายตัวที่มีเชื้อโรคไปกัดคนอื่นก็จะแพร่เชื้อไปยังคน ๆ นั้นทันที ที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน โดยยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันที่มีอยู่ตามบ้านเรือน และโรงเรียน และชอบวางไข่ตามภาชนะ ที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง


สำหรับอาการของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาจจะไม่มีอาการก็ได้

อาการที่พบบ่อย ๆ คือ ผู้ป่วยจะ  มีไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้ แต่หากผู้ป่วยหายจากอาการไข้ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุน แรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ

นพ.อิทธิพล สูง แข็ง นายแพทย์สาธารณสุข จ.หนองคาย เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกที่ จ.หนองคาย พบว่า ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 7 พ.ค. 51 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 14 ราย


โดยพบในพื้นที่ อ.เมือง อ.โพนพิสัย และ อ.ปากคาด ตามลำดับ ซึ่งช่วงนี้จะมีฝนตกและมีน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพาหะสำคัญของโรค ซึ่งโดยลำพังเจ้าหน้าที่ที่ออกพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่ต่าง ๆ ยังไม่สามารถกำจัด ยุงลายให้หมดไปได้ โดยเฉพาะยุงลาย จะอาศัยอยู่ในบ้านโดยมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญ คือ ภาชนะเก็บกักน้ำต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง เช่น ตุ่มน้ำ น้ำในจานรองขาตู้กับข้าว น้ำในแจกันดอกไม้ และอื่น ๆ
 
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงขอความร่วมมือจากประชาชนโดยใช้หลัก 4 ป.

คือ ป. ที่ 1 ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ เช่น โอ่ง หรือ ตุ่มน้ำ ด้วยตาข่ายไนลอน 2 ชั้นแล้วปิดฝาปิดทับอีกครั้งหนึ่ง, ป. ที่ 2 เปลี่ยนน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ทั้งน้ำในห้องน้ำ น้ำในแจกันดอกไม้, ป. ที่ 3 ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ในโอ่งน้ำ  ใช้ อ่างเลี้ยงบัว, และ ป. ที่ 4 ปฏิบัติ เป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือทุก 7 วัน ก็จะเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้ ด้วยการป้องกันไม่ให้ยุงกัด หากเด็กนอนกลางวันต้องนอนกางมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ไม่ควรให้เด็กเล่นในที่มืด หรือมุมอับที่เป็นแหล่งเกาะพักของยุง ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้
 
หากคนในครอบครัวเจ็บป่วยต้องเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าพบผิดปกติควรพบแพทย์ทันที.

จิรศักดิ์  วงษ์คำจันทร์


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์