พอล้อเครื่องบินแตะรันเวย์ก็ลื่นไถลออกนอกรันเวย์ด้านขวาแล้วเสียหลักพุ่งชนเนินดินจนเครื่องขาดเป็นสองท่อน เกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงที่ส่วนหัว และท้ายทันที !!
...เครื่องแอร์บัส เอ 380 ของบริษัทการบินไทย ทะยานออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อเวลาประมาณ 17.40 น. วันที่ 11 ธันวาคม 2541 และเดินทางถึงสนามบินสุราษฎร์ธานี เมื่อเวลาประมาณ 19.10 น.ขณะที่เครื่องจะลงจอดสภาพอากาศเลวร้ายมากมี "พายุฝน" อย่างหนักเนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนจิล นักบินต้องนำเครื่องบินวนถึง 2 รอบ และเครื่องก็ประสบอุบัติเหตุตกลงในทุ่งนา ห่างจากสนามบินไปประมาณ 5 กิโลเมตร
เครื่องแอร์บัสเอ 380 พุ่งโหม่งโลกอย่างแรง ส่วนหัว และหางแตกกระจายเกลื่อน เครื่องขาดเป็นสองท่อน บริเวณจุดเกิดเหตุเป็นป่ายางสลับกับทุ่งนา มีดินเลน และน้ำท่วมขังทำให้การเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปอย่างทุลักทุเล !!
สิ่งที่แตกต่างกันบ้างคือ สภาพที่เกิดเหตุของสนามบินนานาชาติภูเก็ตอยู่ใกล้รันเวย์ จึงทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างสะดวก และรวดเร็วกว่าเหตุการณ์เมื่อ 9 ปีก่อน แต่เมื่อเกิด"เพลิงไหม้" ขึ้นหลังจากเกิดเหตุไม่นานก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันอีกประการก็คือ"นักบิน" ของทั้งสองเหตุการณ์ต่างตกเป็น"จำเลย" ในโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น...
โดยเมื่อ9 ปีก่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารระดับสูงของสายการบินบางส่วน ระบุว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นคือปัจจัยที่เกิดจากตัวนักบิน
แต่ก็มีข้อมูลคัดง้างภายหลังว่า"ระบบนำร่อง" ของสนามบินสุราษฎร์ธานีไม่ทันสมัยเพียงพอ เนื่องจากมีการต่อเติมสนามบิน และทำการรื้อระบบนำร่องบางส่วนออกไปทำให้นักบินประสบปัญหาอย่างมากในการลงจอด บางกระแสก็ว่า"เครื่องบินเก่า" และมีปัญหาเชิงเทคนิคมานานแล้ว
ผลจากข้อพิพาทในครั้งนั้นทำให้ น.ท.หญิงรัชนีวรรณ เวชศิลป์ ภรรยาของ ร.อ.พินิจเวชศิลป์ อดีตกัปตันบริษัทการบินไทยในเที่ยวบินนั้นฟ้องผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่บริษัทการบินไทยรวม 7 คน
โดยเรียกค่าเสียหายกว่า130 ล้านบาท เนื่องจากมีการแถลงต่อสื่อมวลชนว่า สาเหตุของเครื่องบินตกเกิดจากความผิดพลาดของนักบิน คดีนี้ขึ้นเบิกความนัดแรกเมื่อวันที่22 สิงหาคม 2549 และมีแนวโน้มที่จะต่อสู้คดีกันอีกยาว ส่วนคดีล่าสุดนี้เพิ่งเริ่มต้นและมีความต่างประการสำคัญ คือ นักบินของสายการบินวันทูโก "เสียชีวิต" ขณะปฏิบัติหน้าที่ ส่วนกัปตันของสายการบินไทย "รอดชีวิต" มาได้ต้องรอดูกันต่อไปว่าญาติๆของนักบินสัญชาติอินโดนีเซียจะฟ้องร้องใครหรือไม่ เพราะมีการให้สัมภาษณ์ในทำนองว่านักบิน "รั้น" ที่จะเอาเครื่องลงจอดทั้งที่สภาพอากาศเลวร้าย อีกทั้งตัวนักบินเองก็ดูเหมือนจะมั่นใจในความสามารถของตัวเองมากเกินไป