สำหรับผู้ต้องขังคดีข่มขืนจัดเป็นโรคจิตชนิดหนึ่งเพราะคนปกติจะไม่ก่อคดีเช่นนี้ เว้นแต่มีอาการมึนเมายาเสพติดในเรือนจำจึงจัดให้มีโปรแกรมบำบัดและพัฒนาจิตใจนักโทษกลุ่มนี้เป็นการเฉพาะ แต่การบำบัดฟื้นฟูยังทำได้ไม่เต็มที่เพราะขาดแคลนนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์จึงจัดโปรแกรมบำบัดได้เพียงเรือนจำในเขตกทม.ไม่ครอบคลุมถึงเรือนจำในต่างจังหวัด
สำหรับนายชาตรีเคยต้องโทษฐานความผิดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นก่อเหตุในพื้นที่จ.สระบุรี ศาลตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.57 โดยจะพ้นโทษจำคุก 4 ก.พ.59โดยนายชาตรีต้องโทษในเรือนจำจังหวัดสระบุรีจนถึงวันที่ 3 ก.พ.58 จึงถูกย้ายไปเรือนจำจังหวัดปทุมธานีเพื่อฝึกวิชาชีพ ต่อมาได้รับการอภัยโทษในวโรกาสพิเศษ 4 เดือน 24 วัน คงเหลือโทษจำคุก 1 ปี 7 เดือน 6 วัน พ้นโทษออกจากเรือนจำเมื่อวันที่ 8 ก.ย.58
เมื่อนายชาตรีก่อคดีอาญาซ้ำและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำอีกครั้งจะถูกจัดเป็นนักโทษชั้นเลว เนื่องจากกระทำความผิดซ้ำภายในเวลา 5 ปีและจะไม่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษอีก
ทั้งนี้จากสถิตินักโทษเด็ดขาดของกรมราชทัณฑ์แยกตามลักษณะความผิดคดีความผิดเกี่ยวกับเพศมีทั้งสิ้น 4,391 คดี แบ่งเป็นนักโทษชาย 3,406 รายนักโทษหญิง 985 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.68
ด้านพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า จากการตรวจสอบประวัติของนายชาตรีพบว่า ขณะได้รับโทษจำคุก 2 ปีในคดีข่มขืนนายชาตรียื่นเรื่องขอพักการลงโทษโดยเรือนจำระบุว่ามีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์เพราะต้องโทษจำคุกแล้ว2 ใน 3 แต่ในชั้นสืบเสาะพฤติกรรมพบว่าผู้ต้องขังรายนี้ไม่มีญาติมารับตัว จึงเสนอความเห็นไม่สมควรพักโทษ แต่ต่อมานายชาตรีได้รับการอภัยโทษในวโรกาสพิเศษจึงได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด
อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดปัญหาผู้พ้นโทษออกมาก่อคดีอาญาทำร้ายสังคมหนักขึ้นกรมคุมประพฤติจะแก้ระเบียบเพื่อดึงอำนาจการสืบเสาะเพื่ออนุมัติพักโทษซึ่งเคยกระจายอำนาจให้กับผอ.สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกลับมายังอธิบดีกรมคุมประพฤติเพื่อให้การพักโทษหรือปล่อยตัวก่อนครบกำหนดโทษผ่านการตรวจสอบอย่างรัดกุม
นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกล่าวว่า สำหรับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทางเพศนั้นกรมพินิจฯได้มีการติดตามพฤติกรรมของเยาวชนที่กระทำความผิดทุกประเภทซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด คดีฆาตกรรม และคดีประเภทอื่นๆอยู่แล้วส่วนคดีความผิดทางเพศนั้นไม่ติด 1ใน 5ของเยาวชนที่กระทำความผิดซึ่งพบว่ามีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
อย่างไรก็ตามหลังจากกรมพินิจฯได้นำระบบจัดทำแผนให้คำปรึกษาแนะนำติดตามดูแลเด็กและเยาวชนเฉพาะรายตั้งแต่เริ่มเข้ามาในศูนย์หรือระบบIRC (Individual Routing Counselor)เข้ามาในช่วง 2ปีที่ผ่านในกลุ่มเด็กที่ความเสี่ยงสูงพบว่ามีเด็กกลับไปทำความผิดซ้ำไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์ ในภาพรวมถือว่าดีขึ้น