สำหรับกรณีนี้ยังไม่รู้ประวัติผู้ก่อเหตุ และตรวจสอบโดยละเอียดอย่างชัดเจน จึงตอบไม่ได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุที่แน่ชัดมาจากอะไร เช่น การใช้สารเสพติดหรือไม่หรือเป็นแค่บันดาลโทสะ เท่านั้น ทั้งนีกรณี ลูกทำร้ายบิดา มารดา หรือสมาชิกในครอบครัวนั้น อาจจะเกิดได้ทั้งด้วยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ และเด็กคนนั้น ๆ ที่กระทำอาจเคยโดนทำทารุณกรรมมาก่อน เพราะฉะนั้นจึงต้องศึกษาเป็นกรณีไป ส่วนแนวโน้มที่ผ่านมาในประเทศไทยพบว่ากรณีลูกทำร้าย และฆ่าพ่อแม่ หรือสมาชิกในครอบครัวยังมีไม่มากนัก อีกทั้งยังไม่มีการเก็บเป็นสถิติอีกด้วย
พญ.วิมลรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนวิธีการแก้ไขนั้นเพื่อป้องกันไม่เกิดความรุนแรงเช่นกรณีดังกล่าว คือ
1.เราต้องรู้ว่าลูกของเรามีปัญหาอะไร เช่น เป็นโรคอะไร หรือหงุดหงิดง่าย มีสภาวะทางอารมณ์หรือไม่ หรือการควบคุมตนเองไม่ดี และมีการใช้สารเสพติดหรือไม่
2.การเลี้ยงดูในครอบครัวอย่างไร บางทีครอบครัวทะเลากันโดยตลอด จึงทำให้เด็กจะเห็นความก้าวร้าว ก็จะส่งผลซึมซับและเห็นความรุนแรง
3.ในปัจจุบันพบว่าการเข้าถึงข้อมูล หรือสื่อที่สะท้อนถึงความรุนแรงง่ายขึ้น จึงทำให้เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรง เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนในสังคมต้องควรให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหานี้
“คิดว่าการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ เพื่อไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นนั้น ทางครอบคร้วต้องมีการควบคุม และสั่งสอนลูกตั้งแต่ยังเล็กๆ สิ่งใดว่าทำได้ทำไม่ได้ หรือการรับฟังและเข้าใจปัญหาของลูก และเด็กควรหลีกเลี่ยงการเข้าถึงสื่อที่สะท้อนถึงความรุนแรงด้วยเช่นกัน" พญ.วิมลรัตน์ กล่าว
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday