รวบหนุ่มหัวใสตัดต่อแบงก์พันหลอกฝากตู้เอทีเอ็ม

"หนุ่มหัวใสก่อเหตุ ตัดต่อธนบัตรจริง ฝากตู้อัตโนมัติ ก่อนถอนเงินจริง"



ก่อนถอนธนบัตรจริงออกมาใช้แทน ก่อเหตุนับสิบแห่งได้เงินกว่า 3 แสนบาท สารภาพทดลองตัดต่อธนบัตรจริง 36 ฉบับ

จะได้เพิ่ม 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่เผย ตู้เอทีเอ็มตรวจสอบไม่ได้ เพราะเป็นธนบัตรจริงตัดต่อ แม้ขนาดจะไม่เท่ากันแต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบได้

ตร.รวบบัณฑิตนิติศาสตร์

ตัดต่อธนบัตรหลอกระบบคอมพิวเตอร์ของตู้เอทีเอ็ม เพื่อเพิ่มยอดจำนวนเงินรายนี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 เมษายน ตำรวจสืบสวน สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ ได้จับกุมนายธนกร อังกุลดี อายุ 38 ปี

อยู่บ้านเลขที่ 149/39 หมู่ 14 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

บัณฑิตนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้ต้องหาปลอมแปลงธนบัตรและฉ้อโกงทรัพย์ ได้บริเวณหน้าศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ถนนทิพย์เนตร ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ค้นในตัวพบบัตรเอทีเอ็มธนาคารหลายแห่งรวม 17 ใบ

สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ 1 คัน รถจักรยานยนต์ 4 คัน และธนบัตรชนิด 1,000 บาท ที่ถูกตัดต่ออีก 6 ใบ จึงควบคุมตัวพร้อมของกลาง ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี

พ.ต.อ.ประจวบ วงศ์สุข ผกก.สภ.อ.เมืองเชียงใหม่

กล่าวว่า ได้รับการร้องทุกข์จากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งว่ามีคนร้ายใช้ธนบัตรชนิด 1,000 บาท ที่มีการตัดต่อเข้าไปฝากในตู้เอทีเอ็ม ทำให้มีจำนวนธนบัตรเพิ่มขึ้น จากนั้นได้ถอนเป็นเงินสดออกมา



สร้างความเสียหายให้ธนาคารอย่างมาก

โดยคนร้ายได้ตระเวนใช้วิธีการดังกล่าวกดเงินจากตู้เอทีเอ็มไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง ใน อ.เมืองและอำเภอรอบนอก จ.เชียงใหม่ โดยธนาคารผู้เสียหายได้นำธนบัตรที่มีการตัดต่อมอบให้แก่พนักงานสอบสวนเป็นหลักฐาน รวมยอดเงินกว่า 3 แสนบาท

หลังจากได้รับแจ้ง ชุดสืบสวนได้ตรวจสอบภาพ

จากกล้องวงจรปิด บริเวณตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทยและอีกหลายแห่ง พบชายต้องสงสัยรายหนึ่ง ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติพบว่า เป็นนายธนกร ซึ่งมีประวัติต้องคดีงัดแงะตู้เซฟของ

บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งย่านถนนช้างคลาน

ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 2544 และเพิ่งพ้นโทษออกมา จึงติดตามกระทั่งควบคุมตัวไว้ได้

สอบสวนนายธนกร สารภาพว่าเป็นผู้ตัดต่อธนบัตรจริง

โดยระบุว่า คิดค้นวิธีด้วยตัวเอง ขณะนำเงินไปฝากกับตู้เอทีเอ็ม พบว่ามีคำเตือน ห้ามนำธนบัตรที่มีสติกเกอร์หรือสกอตเทปมาฝากเข้าเครื่อง ได้ทดลองติดสกอตเทปกับธนบัตร เครื่องก็ยังทำงานตามปกติ

จึงตัดขอบด้านบนของธนบัตรจริง ชนิด 1,000 บาท

ประมาณ 3 มิลลิเมตร นำไปติดกับธนบัตรอีกใบหนึ่งที่ถูกตัดออก ประมาณ 5 มิลลิเมตร ซึ่งหากตัดขอบด้านบนหรือล่างออกประมาณ 3 มิลลิเมตร จำนวน 36 ใบ จะได้ธนบัตรชนิดเดียวกันจากการตัดต่อเพิ่ม 1 ใบ



แต่หากตัดขอบขนาด 2 มิลลิเมตร

จำนวน 40 ใบ จะได้เพิ่มอีก 1 ใบ เมื่อทดลองตัดต่อและรู้ว่าเครื่องเอทีเอ็มรับฝาก ก็จะใช้วิธีการฝากธนบัตรตัดต่อทั้งหมดกับตู้เอทีเอ็ม เมื่อเครื่องรับฝาก ทำให้มียอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น ก็จะเบิกเงินออกมาทันที

โดยทำมานานกว่า 1 เดือนแล้ว

แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทราบว่ามีคนใช้วิธีการเดียวกันนี้ถูกจับกุม จึงเกิดความกลัว นำคัตเตอร์ที่ใช้ตัดแต่งธนบัตรไปทิ้งและเตรียมนำธนบัตรของกลางที่ถูกยึดในครั้งนี้ไปทิ้งด้วย แต่มาถูกจับก่อน

เจ้าหน้าที่สืบสวน ระบุว่า

ของกลางธนบัตรตัดต่อที่ได้จากตู้เอทีเอเอ็มประมาณ 3 แสนบาท เป็นเพียงส่วนหนึ่ง คาดว่าผู้ต้องหาจะกดเงินจากตู้เอทีเอ็มไปหลายแสนบาท และจากการสืบสวนยังทราบว่า ผู้ต้องหามีอาชีพหลักด้วยการปล่อยเงินกู้ อาจนำบัตรเอทีเอ็มลูกค้าที่วางประกันไว้ไปใช้ก่อเหตุ เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับของเจ้าหน้าที่

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง

กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดของการตรวจสอบธนบัตรของตู้เอทีเอ็ม เพราะธนบัตรที่ตัดต่อมีขนาดเล็กกว่าธนบัตรขนาดปกติประมาณ 2-3 มิลลิเมตร

ซึ่งตู้เอทีเอ็มไม่สามารถสังเกต

ถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยได้ โดยระบบคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบจากสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏบนธนบัตรประมาณ 30 จุดเท่านั้น แต่เหตุที่เกิดขึ้นเป็นธนบัตรจริงตัดแต่งจึงตรวจสอบได้ยาก

ทั้งนี้ วิธีการการตัดแต่งธนบัตรลักษณะนี้

ตำรวจเชียงใหม่เพิ่งจับกุมอดีตครูประถมรายหนึ่งที่ทำลักษณะเดียวกันได้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา โดยสารภาพว่าทำมาแล้วหลายครั้งเช่นกัน



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์