เปิดแผนฟื้นฟู ‘การบินไทย’ หนี้ท่วม 4.1 แสนล้าน ลดพนง. 50%
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ธุรกิจ เปิดแผนฟื้นฟู ‘การบินไทย’ หนี้ท่วม 4.1 แสนล้าน ลดพนง. 50%
เปิดแผนฟื้นฟู ‘การบินไทย' หนี้ท่วม 4.1 แสนล้าน ดึง ‘ปิยสวัสดิ์-จักรกฤศฎิ์' นั่งบริหาร ลดพนง. 50% ใน 2 ปี "ชาญศิลป์" เตรียมประชุมเจ้าหนี้ 12 พ.ค.นี้ ลุ้นยื่นแผนฟื้นฟูฯ ผ่าน ก.ค.64
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 นั้น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการจนแล้วเสร็จ
เบื้องต้น การบินไทย ได้จัดส่งแผนฟื้นฟูจำนวน 303 หน้ากระดาษ ให้กับทางกรมบังคับคดีเป็นที่เรียบร้อย โดยกำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ที่ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โดยคาดว่าหลังประชุมเจ้าหนี้เสร็จจะยื่นแผนฟื้นฟูฯ ผ่าน ภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 นอกจากนี้ เบื้องต้นคณะผู้ทำแผนเสนอให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และนายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล เป็นผู้บริหารแผนที่จะบริหารและจัดการธุรกิจภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 นั้น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการจนแล้วเสร็จ
เบื้องต้น การบินไทย ได้จัดส่งแผนฟื้นฟูจำนวน 303 หน้ากระดาษ ให้กับทางกรมบังคับคดีเป็นที่เรียบร้อย โดยกำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ที่ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โดยคาดว่าหลังประชุมเจ้าหนี้เสร็จจะยื่นแผนฟื้นฟูฯ ผ่าน ภายในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 นอกจากนี้ เบื้องต้นคณะผู้ทำแผนเสนอให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และนายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล เป็นผู้บริหารแผนที่จะบริหารและจัดการธุรกิจภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป
นายชาญศิลป์ กล่าวว่า ทั้งนี้ การบินไทยจะลดต้นทุนในทุกส่วนของธุรกิจให้มากขึ้น รวมถึงปรับการทำงานขององค์กร ออกมาเป็น 9 แกนหลักในการยกเครื่ององค์กร เช่น ค่าบุคลากร ที่สูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านบาท ต้องเหลือไม่เกินปีละ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือลดพนักงานกว่า 50% ใน 2 ปี ให้เหลือ 1.3-1.5 หมื่นคน ซึ่งคาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายรวม 5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2565 และคาดว่าจะกลับมามีกำไรในปี 2568
ลดเส้นทางการบินที่ไม่มีกำไร บริการลูกค้ากลุ่มพิเศษ และลดประเภทเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ จำนวน 86 ลำ เพื่อตัดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา โดยคาดว่าเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายดีขึ้นภายในปี 2568
ต้องหาเงินเข้าระบบ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงาน และจ่ายชดเชยพนักงานที่ลาออก โดยอาจจะใช้วิธีกู้เงินจากสถาบันการเงิน การหาพันธมิตรร่วมทุน และการแปลงหนี้เป็นทุน
ลดเส้นทางการบินที่ไม่มีกำไร บริการลูกค้ากลุ่มพิเศษ และลดประเภทเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ จำนวน 86 ลำ เพื่อตัดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา โดยคาดว่าเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายดีขึ้นภายในปี 2568
นายชาญศิลป์ กล่าวว่า สำหรับ มูลหนี้ของการบินไทยทั้งหมดอยู่ที่ราว 4.1 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นมูลหนี้จริงประมาณ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งยืนยันไม่มีแฮร์คัทหนี้ หรือ การปรับลดมูลหนี้จากเจ้าหนี้ทุกราย แต่จะจ่ายเฉพาะเงินต้น รวมถึงไม่จ่ายหนี้ใน 3 ปีแรก
นอกจากนี้ จะขอเพิ่มทุนจำนวน 5 หมื่นล้านบาท ภายใน 2 ปี เพื่อให้มีต้นทุนมาหมุนเวียนในกิจการ โดยในกลางปี 2564 หรือประมาณในเดือนกรกฎาคมนี้ต้องหาเงินเข้าระบบ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงาน และจ่ายชดเชยพนักงานที่ลาออก โดยอาจจะใช้วิธีกู้เงินจากสถาบันการเงิน การหาพันธมิตรร่วมทุน และการแปลงหนี้เป็นทุน
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น