อึ้่งทั้งประเทศ!!ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้คนรวย-คนจน ไทยห่างกัน 10.3 เท่า
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ธุรกิจ อึ้่งทั้งประเทศ!!ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้คนรวย-คนจน ไทยห่างกัน 10.3 เท่า
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยรายงาน ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนรวย-คนจน ห่างกัน 10.3 เท่า ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในช่วง 5 ปี พื้นที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยทำให้คนเข้าถึงโอกาสทางรายได้ การจ้างงาน การศึกษา และบริการสาธารณะ ไม่เท่าเทียมกัน คนอีสานมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนกรุงเทพฯ ถึง 9 เท่า
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานชื่อ ความเหลื่อมล้ำไทย ทำไมไม่เท่าเทียม โดยแบ่งงานศึกษาออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่
1.ภาพรวมความเหลื่อมล้ำของไทยในศตวรรษที่ 21
2.ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่และนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
3.ความเหลื่อมล้ำมิติอาชีพของไทย: กรณีศึกษาในอาชีพเกษตร
ภาพรวมความเหลื่อมล้ำของไทยในศตวรรษที่ 21
งานศึกษาในส่วนที่หนึ่ง ระบุว่า ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทย “ลดลง” เมื่อดูจากสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค หรือ Gini coefficient พบว่า สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของไทย ลดลงจากปี 1991 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 46 เหลือร้อยละ 38 ในปี 2015
อย่างไรก็ตาม หากแบ่งคนไทย 60 กว่าล้านคน ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามระดับรายได้ จะพบว่า กลุ่ม 20% บนสุด (คนรวย) มีรายได้สูงกว่ากลุ่ม 20% ล่างสุด (คนจน) ถึง 10.3 เท่า
ดังนั้น แม้ในระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมไทยจะลดลง แต่ช่องว่างนั้นยังมีความห่างกันมากอยู่ดี
ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2013-2018) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 หรืออาจหมายความว่า คนรวยในประเทศไทยมีทรัพย์สินสะสมสูงกว่าคนจนมากขึ้นไปเรื่อยๆ
ข้อมูลจาก World Economic Forum (2018) ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูง เป็นอันดับที่ 10 ของโลก จากทั้งหมด 107 ประเทศ
ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่และนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
งานศึกษาชิ้นต่อมาในรายงานชุดเดียวกัน ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลัก ดังนั้น การอาศัยในพื้นที่ที่ต่างกันจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยซึ่งทำให้คนเข้าถึงโอกาสทางรายได้ การจ้างงาน การศึกษา และบริการสาธารณะ ไม่เท่าเทียมกัน
คนที่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ถึง 9 เท่า และในระยะยาวความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ความเหลื่อมล้ำมิติอาชีพของไทย: กรณีศึกษาในอาชีพเกษตร
กว่าร้อยละ 50 ของคนจนทั้งประเทศอยู่ในภาคการเกษตร เนื่องจากรายได้ขยายตัวต่ำตามราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตไม่แน่นอน
รายงานชิ้นสุดท้ายชี้ว่า ภาคการเกษตรเป็นอาชีพที่ควรได้รับการดูแลเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง และเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของครัวเรือนไทย
โดยเกษตรกรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ที่ 16,000 บาท/ครัวเรือน แต่กว่า 60% ของครัวเรือนที่ทำเกษตร กลับมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือต่ำกว่า 16,000 บาท
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น