ฮือฮาพระสร้างถนน57ก.ม.-ไม่ง้องบ

ฮือฮาพระสร้างถนน57ก.ม.-ไม่ง้องบ


"ฮือฮา พระสร้างถนนไม่ง้องบรัฐฯ"



เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พระพิศาลประชานุกูล อายุ 47 ปี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ได้สร้างถนนลำลอง 5 สาย

เชื่อมระหว่างอ.ท่าสองยาง จ.ตาก กับอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ รวมระยะทาง 95 กิโลเมตร รวมถึงสะพานอีก 2 แห่ง โดยใช้กำลังคนที่มีอุปกรณ์แค่จอบเสียมล้วนๆ และไม่พึ่งพาเงินงบประมาณจากทางราชการแม้แต่บาทเดียว

สามารถทำถนนเสร็จไปแล้ว 1 โครงการ

และขณะนี้กำลังดำเนินการโครงการที่ 2 อย่างต่อเนื่อง เป็นการปฏิบัติคล้ายกับที่ครูบาศรีวิชัย อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือ เคยร่วมกับชาวบ้านสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพนั่นเอง

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปพบกับพระพิศาลประชานุกูล

และเปิดเผยว่า อาตมาได้ไปธุดงค์และไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ ที่จ.ตาก และเชียงใหม่ อยู่ตามถิ่นทุรกันดาร เวลาเดินทางก็ต้องเดินเท้าขึ้นลงเขา มีหลายครั้งที่นำสิ่งของขึ้นไปในหมู่บ้านที่อยู่บนดอยในช่วงอากาศหนาว เช่น ผ้าห่ม

ก็ต้องแบกขึ้นไป ญาติโยมก็ต้องมาช่วยกัน

ผู้มีจิตศรัทธาที่อยากจะบริจาคสิ่งของเพื่อไปช่วยคนยากจน บางรายเดินทางไปครั้งเดียว ครั้งหลังเข็ดไม่ไปอีกเลยเพราะเส้นทางการเดินทางลำบากมาก อาตมาจึงมานั่งคิดทีหลังว่า เวลาเรามีเสื้อผ้า


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



มีผ้าห่มเพื่อจะขึ้นไปแจกจ่ายให้กับประชาชน

ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งมีอยู่จำนวนมากในหุบเขา บนภูเขาสูง และสถานที่ห่างไกลความเจริญ ก็จะไปลำบาก สิ่งของก็ไม่ค่อยถึงมือชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยจะมาหาหมอที่โรงพยาบาลลำบาก ต้องล้มป่วยนอนรอความตาย

ทำให้ต้องพึ่งผีสางตามความเชื่อไปอย่างนั้น

จะประสานงานกับทางอำเภอเรื่องเอกสารต่างๆ ก็ลำบาก เด็กเล็กไม่มีใครอยากเข้าโรงเรียน เพราะระยะทางการเดินทางไกล เมื่อจบชั้นประถมศึกษาในหมู่บ้านก็ถือว่าจบอยู่ตรงนั้น จะรอทางหน่วยราชการไปช่วยเหลือหรือรองบประมาณของทางราชการก็นาน

พระพิศาลประชานุกูลกล่าวว่า

อาตมาคิดว่าสิ่งของที่มีประชาชนนำมาถวายมาทำบุญกับพระสงฆ์ ทั้งบะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ จำนวนมาก จึงมีความคิดนำสิ่งอุปโภคบริโภคเหล่านี้ นำขึ้นไปหาชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร

เพื่อขอแลกกับแรงงานชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร

ขอให้ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลลงมาช่วยกันสร้างทางหรือถนนเข้าหมู่บ้านและตัดต่อไปยังถนนใหญ่ โดยอาตมาคิดว่า ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป เสื้อผ้า สิ่งอุปโภคบริโภคอื่นๆ เป็นค่าจ้างให้คนละ 50 บาทต่อคนต่อวัน

กับชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ

เพื่อให้ช่วยกันสร้างทางเชื่อมต่อกันจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังหมู่บ้านหนึ่ง จากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการเดินทางของชาวบ้านเอง ซึ่งเมื่ออาตมาไปสอบถามขอความช่วยเหลือ


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



และขอแรงแลกกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่นำขึ้นไป

พวกชาวบ้านก็ยินดี พร้อมกับนำจอบเสียมที่มีอยู่ออกมาช่วยกันสร้างทาง ชาวบ้านเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเขา โดยเฉพาะชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม

พระนักพัฒนากล่าวต่อว่า

การดำเนินการสร้างถนนนั้น บางครั้งก็มีชาวบ้านมาช่วย 20 คนบ้าง 200 คนบ้าง แล้วแต่หมู่บ้านไหนที่มีคนมากน้อย โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา เบื้องต้นได้สร้างถนนลำลอง 3 สายมาบรรจบกัน ระยะทาง 57 กิโลเมตร

ใช้เวลา 3 ปี 4 เดือน จากเขตอ.ท่าสองยาง

จ.ตาก ถึงเขตอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และสามารถทำสำเร็จไปแล้วเมื่อปี 2545 โดยไม่ได้ใช้งบประมาณทางราชการแต่อย่างใด โดยทำไปเรื่อยๆ ปีหนึ่งได้กี่กิโลก็ทำไป

จากเส้นทางคนเดินเป็นเส้นทางรถจักรยานยนต์

และขยายจนเป็นเส้นทางรถยนต์วิ่งสัญจรได้สะดวกเริ่มต้นจากเล็กไปหาใหญ่ หากครั้งไหนอาตมาได้รับสิ่งของถวายพวกสิ่งอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ก็จะนำไปแลกเป็นแรงงานได้มาก ปัจจุบันนี้เส้นทางลำลองดังกล่าวทั้งคนและรถสามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวก

พระพิศาลประชานุกูลกล่าวต่อว่า

ตอนนี้อาตมาดำเนินการโครงการ 2 ต่อ เพราะยังพบว่ามีชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารยังเดือดร้อนอยากมีเส้นทางการสัญจรที่สะดวก จึงเริ่มโครงการ 2 ในปี 2550 ทันที โครงการที่ 2


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



นั้นไม่กำหนดวันแล้วเสร็จ

ทำไปเรื่อยๆ 2 สาย บรรจบเป็นสายเดียวเชื่อมจากอ.ท่าสองยาง จ.ตาก ไปยังอ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 38 กิโลเมตร สะพานอีก 2 แห่ง ซึ่งอาตมาได้นำสิ่งอุปโภคบริโภคที่ได้รับบริจาคและที่ประชาชนนำมาทำบุญ

นำไปแลกแรงงานชาวบ้านที่เดือดร้อน

ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 7-8 กิโลเมตร จึงอยากเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญบริจาคจอบ เสียม เกลือ ปลาเค็ม มะพร้าว เพื่อตอบแทนเป็นค่าแรงงานให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะเกลือเม็ดเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับชาวดอย

อยากให้บริจาคเป็นสิ่งของมากกว่าเงิน

ส่วนมะพร้าวที่ชาวบ้านอยากให้บริจาคเพราะว่า ชาวบ้านเห็นมะพร้าวแห้งจะนึกเสียดาย จึงเอาไปเพาะปลูกบริเวณริมลำห้วย หัวไร่ปลายนาบ้านป่าจะมีมะพร้าวไว้กิน เป็นการส่งเสริมปลูกป่าไปด้วย

"อาตมาใช้เงินไม่ค่อยเป็น

การทำบุญสร้างถนนหนทางได้บุญมาก อานิสงส์การทำบุญสร้างถนนหนทาง จะทำให้คนไม่ค่อยมีอุปสรรคจะคิดทำอะไรก็ไหลลื่น การทำบุญสร้างถนนหนทางให้คนสัญจรดีกว่าสร้างโบสถ์ วิหารใหญ่โต แต่ไม่มีคนเข้าเป็นไหนๆ" พระพิศาลประชานุกูลกล่าว


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



สำหรับพระพิศาลประชานุกูล

เดิมชื่อ ดำริ ฉายา อิทธิมนฺโต นามสกุล สุขสมบัติธรรม เป็นชาวกะเหรี่ยง อายุ 47 ปี พรรษา 24 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์อบรมศีลธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง

บ้านแม่สลิดหลวง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

เกิดเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2503 ที่บ้านเลขที่ 13 หมู่ 4 ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก บรรพชาเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2518 ที่วัดแม่ต้านเหนือ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อุปสมบท เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2524

ที่พัทธสีมาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

กทม. มีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระพิศาลประชานุกูล" เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2549 เป็นพระธรรมจาริกชาวกะเหรี่ยงรูปแรกที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์