นักวิชาการมช.ชี้คนไทยไร้เหตุผลจูงง่าย

คมชัดลึก :เสวนาธรรมศาสตร์ ผ่าทางตันวิกฤติไทย “นักวิชาการกฎหมาย” ชี้ทางออกไทยสร้างประชาสังคมเข้มแข็ง สร้างบรรทัดฐานการบังคับใช้กฎหมาย ทำลายระบบ 2 มาตรฐาน ศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชี้สังคมไทยยึดติดอารมณ์ไม่มีเหตุจึงถูกจูงเข้าสีใดได้ง่าย


(3พ.ค.) ที่ห้องประชุมจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สมาคมนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ"ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย"โดยมี ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ , รศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ อดีต คตส. , นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์

  ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติประเทศเกิดจากปัญหาสะสมทางโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีต่อเนื่องมานานแล้ว มากกว่าการช่วงชิงอำนาจการเมืองที่เพิ่งเกิดไม่นานมานี้  ดังนั้นการแก้ปัญหา ต้องปรับปรุงโครงสร้างสังคม เหมือนในประเทศเยอรมัน ที่เคยประสบปัญหาความแตกต่างในช่วงสงครามโลก และหลังสงครามโลกจนเมื่อมีการทำลายกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งเป็นเยอรมันตะวันตกและตะวันออก ซึ่งประเทศเยอรมัน ได้สร้างนโยบายที่ปฏิเสธสังคมนิยม มาเป็นเสรีนิยมโดยการสร้างสวัสดิการทางสังคม และได้มีการเจรจา ถกเถียง ต่อรองกันในระดับชาติอย่างกว้าขวางทุกระดับชนชั้น เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ

 ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาธิปไตยของไทยอยู่ภายใต้เวทีสื่อมวลชน ที่มีเพียงนักการเมืองบางคน หรือนักวิชาการไม่กี่คน ที่ออกมาแสดงความเห็นในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีการเผยแพร่ความคิดเห็นแล้วกลายเป็นเรื่องที่จะนำมาตัดสินใจโดยใช้เวลาอันสั้นในการพิจารณาไตร่ตรอง เป็นการตัดสินใจแบบฉาบฉวย ดังนั้นการจะมีประชาธิปไตยได้ จะต้องสร้างหลักให้กฎหมายเป็นใหญ่เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และการสร้างประชาสังคมที่เป็นจริงและชุมชนที่เข้มแข็ง ขณะที่ต้องสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ยอมรับอุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะนำเสียงบางส่วนมาบีบ

  รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิด ต้องใช้ สติปัญญาในการจำแนกแยกความเป็นสภาพการณ์ในการชุมนุมของคนเสื้อสีต่าง ๆ  จากปัญหาโครงสร้างประเทศ และชนชั้น ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาในการปกครองของไทย 77 ปี รธน.ที่เกิดขึ้นได้แต่เพียงแก้ปัญหาระบบส่วนบนของประเทศ แต่ไม่ใช่ระบบส่วนล่างเลย โดยประชาธิปไตยจะเกิดได้เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังนั้นที่ผ่านมาจึงมีการใช่องโหว่งนี้สร้างนโยบายประชานิยมเพื่อทำให้ชนะใจระบบส่วนล่าง แต่ขณะที่นโยบายประชานิยม คือ เรื่องที่พรรคการเมืองห่วงต่อการสร้างคะแนนเสียงในอนาคตเท่านั้นดังนั้นทางออกวิกฤติ ต้องดูถึงมิติการแก้ปัญหาโครงสร้างส่วนล่างที่ย้อนกลับไปที่ชุมชน ที่จะสร้างความเข้มแข็ง ดูแลตัวเองได้แบบที่ให้เป็นประชาธิปไตยกินได้ โดยเป็นการแก้ปัญหาชุมชนและประชาธิปไตย

  รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมต้องสร้างการมีส่วนร่วม การกำหนดทิศทางการดูแลชุมชนด้วยตนเอง ขณะที่ระดับฝ่าบริหาร รัฐบาลควรต้องปรับยุทธศาสตร์ อย่างกรณีปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐบาลจะต้องไม่พึ่งการส่งออกอย่างเดียว แต่จะต้องสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่จะอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะแก้ปัจจัยการผลิตระดับชุมชน เรื่องที่ดินทำกิน แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหา พูดถึงแต่ การแก้ รธน. ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระดับบนมากกว่าส่วนล่าง

 ตนไม่เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปฏิรูปการเมืองและแก้ รธน. จะแก้วิกฤติได้ แต่นอกจากจะต้องส่งเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่กินได้แล้ว ก็ต้องปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตรวจแห่งชาติ ( สตช.) ที่ทำให้เกิด 2 มาตรฐาน โดยต้องมีการกระจายแบ่งอำนาจไปยังตำรวจภาคต่างๆ ขณะที่คณะกรรมการตำรวจ ควรต้องให้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบด้วย ส่วนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ก็ต้องไม่เน้นแต่การปราบปราม ต้องเน้นการป้องกันด้วย

 รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวถึงการแก้ รธน. ด้วยว่า เรื่องการนิรโทษกรรมควรจะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงคุณค่าว่า ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเชื่อถือในหลักนิติรัฐหรือไม่ ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายคุณค่านั้นก็ไม่ควรทำ

 นายธีระ กล่าวว่า วิกฤตของประเทศ เกิดจากโครงสร้าง ชนชั้น เศรษฐกิจ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปีที่ผ่านมา คือต่างคนต่างชี้หน้าพูดว่าเกิดจากระบบทักษิณ ขณะที่อีกฝ่ายบอกว่าเกิดจากอำมาตยาธิปไตยที่รวมถึงโครงสร้างบทบาท ตุลากร องคมนตรีบางท่าน ซึ่งการแก้ปัญหาก็มี 2 วิธี คือวิธีแบบสันติ ที่จะต้องรู้ 2 เรื่องว่า 1.ใครคือต้นเหตุ ใครมีส่วนร่วมปัญหาทั้งหน้าม่านและหลังม่าน 2.ปัญหาเกิดจากอะไร เกิดจากทางเทคนิค ระบอบโครงงสร้าง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีคุยอย่างเปิดเผยแต่ขึ้นอยู่กับว่าคนที่คิดว่าเป็นต้นปัญหาจะคิดหรือไม่ว่าตัวเองเป็นปัญหาแล้วมานั่งเจรจาหรือไม่ ส่วนวิธีแก้ปัญหาแบบไม่สันติ คือการทำสงครามกันไม่ใช่แบบเปิดเผยที่ใช้วิธรการเจรจาไม่ได้แล้ว

 อย่างไรก็ดีส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่าในภาวะที่มีคนหลายพวกทำให้เกิดวิฤติขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงที่ใช้วิธีแบบสันติคุยกันได้ แต่ขึ้นว่าต้นเหตุปัญหาจะรู้ตัวแล้วมาคุยหรือไม่ ซึ่งวันนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านแต่จะไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ หรือไม่ก็ต้องยอมรับว่าวิกฤติได้เกิดขึ้นแล้วและเป็นเรื่องสลับซับซ้อน ซึ่งการแก้ปัญหาไม่ใช้อยู่จุดหนึ่งจุดใดก็จะแก้ปัญหาได้หมด โดยการแก้ปัญหานอกจากต้องอาศัยความอดทนแล้วยังต้องมีความละเอียดอ่อนด้วย และไทย ยังยินดี แก้สันติวิธีหรือ และกลุ่มคนยอมรับการที่จะพูดคุยกันหรือไม่

 ดร.ปริญญา  กล่าวว่า ตราบที่เมืองไทยยังเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ก็จะแก้ไขปัญหาไม่ได้ เพราะความขัดแย้ทางการเมืองรุนแรงอย่างยิ่งในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมามีการนองเลือดยิ่งกว่าเหตุการณ์ชุมนุมพัฯมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 7 ต.ค.2551 เหตุการณ์ยึดสนามบิน ซึ่งขณะนี้ก็สามารถประคับประคองความขัดแย้งได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาก็คือ เราจะประคับประคองได้อีกนานแค่ไหน ถ้าเวลานี้ คือการพักยก เชื่อว่าวิกฤติต่อไปอาจรุนแรงถึงขั้นจลาจล เกิดสงครามการเมืองจริงๆ ได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้ว่า ประชาธิปไตย คือปกครองโดยกติกา ภายใต้ นิติรัฐ ที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายแบบเสมอกันและเป็นธรรม ไม่ใช้โดยอำเภอใจ หรือกำลัง ดังนั้นถ้าจะให้มีประชาธิปไตยต่อไป ก็ต้องรักษากติกาต้องใช้กระบวนการยุติธรรมให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้งกัน ซึ่งการรักษากติกา การตีความกฎหมายและการบังคับใช้ ต้องเสมอกัน เพราะที่ผ่านมาปัญหาคือ 2 มาตรฐานจนทำให้เกิดการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งปัญหาจะต้องไม่มองว่า เสื้อแดงเป็นเพียงสาวกทักษิณ เพราะถ้ามองแค่นั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นส่วนหนึ่งความขัดแย้งที่จะยุติได้ด้วยกระบวนการยุติธรรม จะยุติสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยความเป็นธรรม

 ดร.ปริญญา ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เกิดจากการเรียกร้องทางการมือง โดยเริ่มจากปีที่แล้ว โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แล้วปีนี้เริ่มโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แต่ประเด็นที่เหมือนกันก็คือ สองฝ่ายต่างอ้างสิทธิชุมนุม ตาม รธน.ปี 2550 มาตรา 63 ดังนั้นคำถามคือขอบเขตการใช้สิทธิชุมนุมอยู่ตรงไหน ซึ่งการชุมนุมทางการเมืองจะละเมิดสิทธิบุคคลไม่ได้ โดย รธน.มาตรา 28 ก็บัญญัติไว้ว่า การใช้สิทธิชุมนุมทำได้ ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ดังนั้นจึงต้องมีกติกา แต่ไม่ใช่จากฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะ ปัญหาไม่ใช่ว่าไม่มีกฎหมาย แต่ปัญหา คือ การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาใหญ่ของเรา จึงมองว่า ฝ่ายที่จะสร้างกติ หา คือฝ่ายตุลาการ ที่สร้างบรรทัดฐานจากคดีต่างๆของพันธมิตร ฯ และ นปช. ที่ทยอยเข้าสู้กระบวนการวยุติธรรม ซึ่งสิ่งที่ผู้นำชุมนุมถูกฟ้องในกฎมายอาญา หลัก ๆ คือ มาตรา 116 และ 215 ที่มีการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ตรงนี้คือสิ่งที่ศาลจะสร้างบรรทัดฐานเส้นแบ่งของการใช้สิทธิชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบ สันติ ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ศาลต้องสร้างบรรทัดฐานขึ้นมาส่วนเรื่องของกฎหมาย ตนเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญรองลงมาที่จะพยายามร่างกฎหมายการชุมนุม โดยตนเห็นว่าแม้มีกฎหมาย แต่ถ้าบังคบัใช้ก็ไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

 ส่วนเรื่องการคืนสิทธิเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบสำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำผิด ไม่ได้เกี่ยวข้อง นั้นตนเห็นว่าไม่ควรเรียกว่านิรโทษกรรม เพราะถ้าอ่านคำวนิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทยเมื่อ ปี 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ระบุชัดว่า ที่ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 มาใช้บังคับย้อนหลังในการกระทำที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 เม.ย.2549 ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องโทษอาญา ดังนั้น ถ้าการวินิจฉัยนี้คือบรรทัดฐาน ว่าไม่ใช่เรื่องความผิดอาญาแล้ว ก็ไม่ควรเรียกว่านิรโทษกรรม แต่เรื่องนี้ควรให้ฝ่ายตุลาการพิจารณา ซึ่งการนิรโทษกรรมหากแก้แล้วทำให้ทะเลาะกันน้อยลงหรือมากขึ้น ถ้าทะเลาะกันมากขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยง

 ดร.ปริญญา ยังกล่าวย้ำถึง การแก้รัฐธรรมนูญว่า เราต้องทำ รธน.ให้เป็นกติกาสูงสุดของทุกฝ่าย โดยที่ยังไม่ถึงพูดเนื้อหา รธน. ปี 2550 ที่ไม่สามารถเป็นสัญญาประชาคมอย่างสมบูรณ์ในการเป็นกติการสูงสุดจนเกิดการไม่ยอมรับ เหมือน รธน. ฉบับปี 2540 เคยเป็นที่ยอมรับความเป็นกติกาสูงสุด โดยการทำให้ รธน. เป็นกติกาสูงสุด ก็มี 3 แนวทาง คือ 1.การนำ รธน. ปี 2540 มาแก้ 2.การแก้ รธน.ปี 2550 3.การร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งทั้งสามแนวทางมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องทำให้ รธน.ที่จะเกิดขึ้นเป็นฉบับสุดท้ายเสียที

 ขณะที่เรื่องความขัดแย้งต่อการแบ่งสี กลุ่มนปช. และ พันธมิตร ฯ ซึ่ง ถือว่าเป็นวิกฤติแบ่งไทยเป็นเสี่ยง ๆ ที่จะทำให้เกิดงครามกลางเมือง แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะเปิดให้มีการใช้พลังอย่างสร้างสรรค์เพื่อประชาธิปไตยไทยที่ก้าวหน้าได้ โดยเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ฯ ว่า การเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ก็เพราะความเคลือบแคลงในใช้อำนาจโดยมิชอบ ซึ่งการมีเสียง ส.ส. ในสภาเกิน3 ใน 4 แต่อยู่ในอำนาจได้ แค่ 4 ปี เพราะแม้มีสียงข้างมาก แต่ก็ต้องถูกรวจสอบได้ ส่วนการเคลื่อนไหวของ นปช. ทำให้เห็นว่า เป็นการต่อต้านอำนาจนอกระบบ โดยเมื่อการเมืองไทยล้มเหลวในการปกครอง แล้วทหารจะออกมาล้มกติกา ดังนั้นพลังภาคประชาชนจึงได้ออกมาทัดท้านอำนาจทหาร ซึ่งการต่อต้านอำนาจนอกระบบเป็นเรื่องที่ไทยต้องการ เพราะที่ผ่านมาประชาธิปไตยของไทยอยู่กับ 2 กลุ่ม คือนักการเมือง และทหารที่ได้ยึดอำนาจ ดังนั้นถ้าเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นพลังเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์ ก็จะทำให้ประชาธิปไตยไทยก้าวหน้าได้

 ทั้งนี้ ดร.ปริญญา ยังกล่าวถึงการเมืองภาคประชาสังคม ว่า เรื่องของคนมีความสำคัญเท่ากับเรื่องระบบ โดยประชาธิปไตยที่มีอยู่โลกมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ที่ประสบความสำเร็จ ที่เหลือ 70 เปอร์เซ้นต์ล้มเหลว แบบดีบ้างร้ายบ้าง โดยประเทศที่มีประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน คือ ในยุโรป และอเมริกา ซึ่งประเศเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาสร้างพลเมือง เพื่อสร้างประชาธิปไตยขึ้นมา โดยการศึกษา คือแสดงให้ดห็นว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่กฎธรรมชาติ ที่บอกว่าทุกคนเท่าเทียมกันคือเรื่องที่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งการศึกษาจะฝึกคนให้เคารพกติกา เคารพสิทธิซึ่งกันและกันเพราะเข้าใจว่าคนย่อมีความมแตกต่างกันจึงต้องเรียนรู้จะอยู่ร่วมกันโดยประชาธิปไตยที่ถูกคิดค้นขึ้นมานั้นก็เพื่อการอยู่ร่วมกันซึ่งเรื่องนี้กว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริการจะคิดได้ก็ต้องสูญเสียชีวิตไปถึง 650,000 คนในสงครามกลางเมือง ที่เป็นการเสียชีวิตของทหารอเมริกาในสงครามโลกเสียอีก แต่ขณะที่ประเทศไทยไม่เคยทำเรื่องการให้การศึกษาสร้างพลเมืองรับผิดชอบสังคม และประชาธิปไตยเลย โดยระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นกลับเป็นการศึกษามุ่งแข่งขันเข้ามหาลัยวิทยาลัยเท่านั้น อย่างไรก็ดีในส่วนประชาสังคม ตนเห็นว่าสิ่งที่สังคม และสื่อ จะทำได้เลยต่อการสร้างประชาธิปไตยเคารพสิทธิ คือ 1.การสร้างกติกาขีดเส้นว่า ประชาชนเห็นต่างกันได้ แต่ต้องไม่ใช้ควารมรุนแรง 2.ประชาธิปไตยต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น

 ทั้งนี้ในวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นทางตันหรือไม่ ตนยังเชื่อว่าประเทศไทยไม่มีทางตัน มีแต่อนาคตที่มีทางไป 2 ทาง คือ 1.อนาคตที่จะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งจะเกิดในเวาลอันใกล้ และมีความรุนแรงกว่า โดยเวลาไม่เกิน 2 ปีจะเกิดสงครามการเมือง ซึ่งการเกิดสงครามการเมืองอาจจะไม่ดีเหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรป หรือ อเมริการ ที่นำไปสู้การสร้างประชาธิปไตย 2. อนาคตที่มีประชาธิปไตย ที่มีภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ไม่เกิดการปฏิวัติโดยกำลังทหาร โดยอนาคตของไทยจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเราทุกคนว่าจะเลือกกันอย่างไร ถ้าพลังส่วนใหญ่ในสังคมยังนิ่งเฉยก็จะไปสู่อนาคตทางที่หนึ่งแน่นอน แต่ถ้าทางภาคประชาสังคมออกมาแล้วขีดเส้นที่จะให้สังคมเป็นผู้คุมกติกานำไปสู่อนาคตแบบที่สอง ก็จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งได้ ซึ่งความสำคัญของเรื่องนี้คือ อย่าไปเรียกร้องคนอื่น หรือรัฐบาล หรือ รัฐสภา แต่ทุกคนต้องทำถ้าทุกคนในประเทศไทยร่วมกันออกมาสร้างกติกา ประชาธิปไตยก็จะเกิดอย่างแน่นอน โดยตนยังเชื่อว่าสิ่งที่เราทุกคน

 ขณะที่นายสิทธิ์ บุตรอินทร์ ศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับพื้นฐานของคนไทยที่เกิดความขัดแย้งอย่างปัจจุบันนี้  ในการอภิปรายเรื่อง"บทบาทตรรกศาสตร์ในสังคมไทยปัจจุบัน" เนื่องในงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กทม.เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ว่า คนไทยจะยึดติดกับอารมณ์ ไม่ใจกว้าง ไม่มีเหตุผล ไม่ชอบฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพราะไม่มีการปลูกฝังให้คิดแบบตรรกศาสตร์  จึงเป็นสาเหตุให้ถูกจูงไปทางเสื้อแดงและเสื้อเหลืองได้ง่ายๆ และมีการฉีกรัฐธรรมนูญกันได้ทุกปี

 "ประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานการศึกษาปัจจุบันนี้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนตรรกศาสตร์ เรียนวิธีคิดที่มีเหตุมีผล โดยอ้างว่าเป็นวิชาที่ยาก ดังนั้น มหาวิทยาลังสงฆ์ทั้งสองแห่งน่าเป็นผู้นำในการเรียนการสอนด้านนี้ จัดระบบการสอบให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ ไม่เช่นนั้น คนไทยก็มีฐานเพียงใช้ความคิด หรือสำเนาความคิดของคนอื่น มีประชาธิปไตยก็ประชาธิปไตยเหลวไม่พัฒนาเป็นธรรมาธิปไตยเสียที"  ศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและว่า

มูลเหตุอีกประการหนึ่งเกิดจากการศึกษาที่พิการอันเกิดจากการศึกษาที่เสเพล ซึ่งเป็นผลกรรมของการจัดการศึกษาขาดดุลยภาพและความพอดีพอเพียงตามแนวทางสายกลาง การศึกษาเสเพลจึงมุ่งเน้นการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์