พลิกปูมปีย์ มาลากุลเจ้าบ้านวงดินเนอร์ กับข่าววางแผนโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ???

นายปีย์  มาลากุล ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2480 เป็นบุตรของ ม.ล.ปีกทิพย์ และนางชนัฎ มาลากุล ณ อยุธยา

จบชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน  ก่อนที่จะไปศึกษาต่อด้านการธนาคาร ณ ประเทศอังกฤษ  และต่อมา เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2537 ก็ได้รับพระราชทานปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสื่อสารมวลชน จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง


นอกจากนี้ นายปีย์ ยังได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุด เป็นทุติยจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องราชฯ ที่ในพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ส่วนภรรยา คือท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา ก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ตระกูลจุมจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อ 2547 ได้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ผลงานที่ผ่านมาของ นายปีย์
 
    -  อาจารย์บรรยายพิเศษให้กับคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะมนุษย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะวารสาร       ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  ที่ปรึกษา บริษัท การบินไทย
    -  วิทยาการพิเศษบรรยายให้กับโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือน
    -  กรรมการบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ กรุงเทพ ธนาธร จำกัด พ.ศ. 2534
    -  กรรมการที่ปรึกษาของคณะกรรมการจัดงาน "เฉลิมขวัญนพบุรี 700 ปี" นครเชียงใหม่ พ.ศ.2540
    -  กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราดำริ พ.ศ. 2534
       ของกระทรวงศึกษาธิการ
    -  กรรมการที่ปรึกษา ในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์การพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา
       ครบ 6 รอง พ.ศ.2541-2542
    -  กรรมการที่ปรึกษา ในการจัดสร้างพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
        พ.ศ.2541
    -  กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาพิเศษประชาคมเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541
    -  คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของคณะกรรมการอำนวยพัฒนาการประชาสัมพันธ์ ของกรมประชาสัมพันธ์
       เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
    -  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงาน ตำรวจแห่งชาติ (กต.ตร)
        พ.ศ. 2542-2544
    -  คณะทำงานโครงการเผยแพร่ และจัดจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ฉบับการ์ตูน
       ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542
    -  รองประธานกรรมการของคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุง
       พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พ.ศ. 2535
    -  กรรมการฝ่ายหาทุน และจำหน่ายบัตรของคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2535-2548
    -  กรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช
    -  อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ และการตลาดโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ "ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9" พ.ศ. 2539
    -  คณะกรรมการบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2542 และเป็นประธานอำนวยการฝ่ายข่าว
        บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ 1 ต.ค.2543 - 2 ก.พ. 2544
    -  กรรมการฝ่ายหาทุน และจำหน่ายบัตรของคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2543
    -  คณะกรรมการธนบัตรที่ระลึกวันราชาภิเษกสมรสครบ 50 ปี (กธภ.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
    -  คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ งานวันเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ
        สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี พ.ศ. 2543


งานปัจจุบัน ของนายปีย์
 
    -  ประธานกรรมการ บริษัท แอ็ดวานซพับลิชชิ่ง จำกัด ดำเนินกิจการผลิตนิตยสาร "ดิฉัน"
    -  ประธานกรรมการ บริษัท แปซิฟิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินกิจการผลิตรายการข่าวสารด้านการจราจรทาง
        สถานีวิทยุ จส.100
    -  ประธานกรรมการ บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ดำเนินกิจการผลิตสารคดีพิเศษเฉลิมพระเกียรติ
       ในราชวงศ์ และผลิตสารคดี ต่าง ๆ ทาง สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
    -  ประธานกรรมการร่วม บริษัท แปซิฟิคเฮิร์ท จำกัด ผู้ผลิตนิตยสาร "คอสโมโพลิแทน" ฉบับภาษาไทย
    -  ประธานบริษัท เกรนโดเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
    -  อุปนายกของสมาคมสโมสรการบินพลเรือน
    -  สมาชิกชมรมอนุรักษ์อากาศยานไทย
    -  กรรมการในคณะกรรมการก่อตั้งมูลนิธิสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2529
    -  ผู้ก่อตั้งศูนย์แพทย์อาสา จส.100 ดูแลผู้เจ็บป่วยและให้คำปรึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2537
    -  ผู้ก่อตั้งโครงการนภาแพทย์ เพื่อรับผู้ป่วย เพื่อนำมาโรงพยาบาล จากทั่วประเทศ โดยอากาศยาน พ.ศ. 2539
    -  ผู้ก่อตั้ง "กองทุนบริจาคเงินเพื่อซื้อลิ้นหัวใจกับ จส.100" ตั้งแต่ พ.ศ. 2537
    -   สมาชิกหอการค้าไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2533
    -  กรรมการบริหาร ของมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535
    -   กรรมการบริหารและที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิโรคไต แห่งประเทศไทย
      ตั้งแต่ พ.ศ.2536
    -  ที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ ของคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ
       สภาความมั่นคงแห่งชาติ กองบัญชาทหารสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2540
    -  ที่ปรึกษาคณะกรรมการการจัดงานฉลองแม่โจ้ 60 ปี และที่ปรึกษาคณะอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินงาน
       โครงการคืนชีวิตกล้วยไม้สู่ป่าของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2537
    -  กรรมการของมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2537
    -  กรรมการฝ่ายจัดงาน ของคณะกรรมการจัดงาน "วันสายใจไทย" มูลนิธิสายใจไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2538
    -  กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในคณะกรรมการชมรมผู้บริจาคโลหิต 100 ครั้ง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
       สภากาชาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538
    -  ที่ปรึกษา กรมตำรวจ ตั้งแต่ พ.ศ.2541
    -  ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของสมาคมศิษย์เก่าการเรือน-สวนดุสิต ตั้งแต่ พ.ศ.2545
    -  ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ในโครงการจัดสร้างพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2545
    -  กรรมการอำนวยการโครงการเปลี่ยนไตถวายเป็นพระกุศล 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
       เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2545
    -  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงาน ตำรวจแห่งชาติ (กต.ตร)
       สาขาสื่อสารมวลชน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2545
    -  ประธานคณะอนุกรรมการ กต.ตร.เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
        เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2545
    -  ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ "ใครงการวิจัยเพื่อจัดทำรายงานการดำเนินงานวิจัยประจำปี 2545 สำนักงาน
        คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ" มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  ที่ปรึกษาพิเศษปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ ของคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ
      สภาความมั่นคงแห่งชาติ กองบัญชาทหารสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2548
  

ทั้งนี้ นายปีย์  ถือเป็นผู้ปฏิวัติวงการข่าวโทรทัศน์ไทย เมื่อปี 2527  โดยผลงานที่โดดเด่นคือ การทำวิทยุจราจร จส.100 ในปี 2534  ภายใต้การบริหารของบริษัท แปซิฟิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีนายปีย์ เป็นเจ้าของ  ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของวิทยุเพื่อมวลชน  ทั้งนี้ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เคยระบุ ไว้ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ว่า นายปีย์เป็นคหบดีที่รักชาติรักบ้านเมือง และสถาบันมากที่สุดคนหนึ่ง แต่ชอบอยู่เงียบๆ จนมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีชื่อปรากฏในหนังสือเรื่อง “พระราชอำนาจ” ที่นายประมวล รุจนเสรี เป็นคนเขียน โดยนายปีย์นั้นเป็นคนอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับหนังสือดังกล่าวว่า “เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง ให้ไปบอกเขาว่า เราชอบมาก” ไปบอกนายประมวล
      

นอกจากนี้ นายปีย์ ยังถูกสันนิษฐานว่า เป็นบุคคลที่ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เรียกว่า  "ไอ้หัวเถิก"  ซึ่งนายสมัคร อ้างเมื่อครั้งจัดรายการ "สนทนา ประสาสมัคร" เมื่อวันที่  27 เม.ย. และ 11 พ.ค.  2551 ที่ผ่านมา ว่า เป็นคนที่ปล่อยข่าวไม่ดีต่างๆ หลายเรื่อง   ทั้งการกล่าวหา นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ซึ่งดูแลสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที  อยู่ขณะนั้น ซึ่งมีการระบุว่า นายจักรภพ เป็นผู้ เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการประท้วงที่ประเทศเนปาล ที่ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วมีการเลือกตั้ง ที่ถือว่าเป็นการไม่จงรักภักดี
 
"มีนายคนหนึ่งเดือดร้อนเรื่องนี้ มีเรื่องการโยกย้ายกรรมการตรงโน้นเสียหาย ไอ้หัวเถิกนั่น จนกลายเป็นว่าสถานีโทรทัศน์ช่องนี้ไม่จงรักภักดี นายจักรภพก็โดนคดีที่ตำรวจไปแจ้งความที่ไปพูดจาในการปาฐกถา ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไร เพราะผมอ่านแล้วไม่มีอะไร ไอ้หัวเถิกเนี่ยเป็นคนจัดการซอกแซก แต่ก่อนนายกฯทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) ถูกกล่าวหาไม่จงรักภักดี เดี๋ยวนี้ผมโดนไปด้วย ไอ้สถานีนี้แหละ เอเอสทีวีเนี่ย รวบหัวรวบหางเหมาเอาไปด้วย เพราะผมช่วยดูแลนายกฯทักษิณ ถามกันมาเลยว่า เลือดสีน้ำเงินจริงหรือเปล่า มันจะอะไรกันหนักกันหนา ฆ่ากันไม่ตายขายกันไม่ขาด จะเอาผมด้วย ไอ้เจ้าหัวเถิกนั่นแหละครับแส่ไปถามโน่นถามนี่ว่านายสมัครไม่จงรักภักดี จะให้ผมท้าทายขนาดไหน ก็ขอให้ลองดูว่า คนอย่างผมหรือไม่จงรักภักดี และขอให้คนที่ดำเนินการเรื่องนี้อยู่ไปส่องกระจกดูตัวเองบ้างว่า ทำให้เกิดความเสียหายเพราะผลประโยชน์ส่วนตัวมาเท่าไร" นายสมัครกล่าวเมื่อวันที่ 27 เม.ย.  2551

อีกหนึ่ง ตัวอย่าง คำพูดของนายสมัคร  เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2551 ในรายการ "สนทนา ประสาสมัคร"
 
 
" ไป ๆมา ๆ ก็มีข่าวไม่เป็นมงคล คืนวันที่ไปกินข้าวกันที่ “โพซาโน” กับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ก็เห็นพ้องต้องกันให้เป็นเรื่องของสภาฯ คืนวันนั้นปล่อยข่าวว่า แม่ทัพนายกองเข้าไปอยู่บ้านสี่เสาฯ ทำข่าวจะเป็นจะตาย มันจะอะไรกันนักหนา มีออกข่าวให้สมัครเข้าเฝ้าฯเพื่อลาออก ให้จักรภพ (เพ็ญแข) ลาออก มีการออกข่าว ก็ “ไอ้หัวเถิก” นี่แหล่ะครับ ออกข่าวว่า เรียกคนนั้นไปพบ ผบ.ตร.ก็ยังไปพบ ไอ้หัวเถิกนี่แหล่ะที่ออกข่าว เจ้าคณะวัดยานนาวา ผมรู้จักท่านมาตั้งแต่ปี 2519 ตั้งแต่เป็นรมช. 32 ปีผมกับท่านเจ้าคณะรองฯ ก็คุ้นเคยกันมา ไอ้หัวเถิกไปพูดกับท่านเลยว่า นายสมัครจะมาติดต่อให้ท่านเจ้าคุณจะขึ้นทางโน้น-ทางนี้ ให้เจ้าคุณระวังตัว ไอ้คนนี้ล่ะครับ ที่เสียหายทุกวันนี้ก็ไอ้คนนี้ล่ะครับ ที่ดึงฟ้าต่ำ ปั่นป่วนไปหมด ต้องพูดกันไว้เลย ให้รู้กันเลย มันอะไรกันนักหนา คนรู้จักกันมาก็กล่าวหากัน ไปกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ จักรภพก็โดนกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็บอกตำรวจให้จัดการไปเลย ต้องให้รู้ว่า คนแบบนี้ที่ทำให้สถาบันเสียหาย ทำลายสถาบัน นี่ก็ขอเอาคืนเพียงแค่นี้”
 
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา และผู้ใกล้ชิดนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  กล่าวในรายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน”  เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2551 ตอนหนึ่งระบุว่า ที่นายสมัครเอ่ยถึงคนที่อยู่เบื้องหลัง คือ “คนหัวเถิก” ซึ่งทำให้มีคำถามว่า หมายถึงใครกันแน่ ซึ่งทีแรกบางคนอาจนึกถึงนายสุทธิชัย หยุ่น หรือนายสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ก็ไม่น่าจะใช่ และเมื่อดูเรื่องราวทั้งหมดแล้วเข้าใจว่านายสมัครคงไม่ยอมรับหรอกว่าหมายถึงใคร แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่า นายสมัครกำลังพูดถึงนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา
 

นายคำนูณ ชี้แจงต่อว่า เรื่องนี้มีความบังเอิญที่มีคอลัมนิสต์ใช้นามปากกาว่า "กาหลิบ" เขียนวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงเหน็บแนมนายปีย์ ในหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2551 ว่า นายปีย์เป็นพีอาร์แมเนเจอร์ให้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบเดียวกับพล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช   ซึ่งนามปากกานี้ นายจักรภพ เพ็ญแข เคยใช้เมื่อครั้งที่เขียนคอลัมน์ให้กับนสพ.ผู้จัดการรายสัปดาห์อยู่ระยะหนึ่ง และมีแนวโน้มสูงว่าน่าจะเป็นคนเดียวกันกับที่เขียนในนสพ.โลกวันนี้ เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นายจักรภพ อาจจะให้ข้อมูลกับนายสมัคร เมื่อถูกถามกรณีเอ็นบีทีเสนอข่าวดังกล่าว

      
“คุณสมัครจะรู้จักคุณปีย์หรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่การเอ่ยชื่อคนหัวเถิก จากที่ผมอยู่ในวงการมานาน ผมไม่คิดเป็นคนอื่นเลย และเชื่อว่าคนวงในที่รู้อะไรเป็นอะไร ร้อยละ 99.99 เชื่อว่าคุณสมัครหมายถึงคุณปีย์”
นายคำนูณกล่าวและว่า  นายปีย์ไม่ได้เกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี

 
จนกระทั่งปัจจุบัน ชื่อของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา  ได้กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพล..อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีต รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ระบุ ว่า นายปีย์ เป็นเจ้าของบ้านที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พล.อ.พัลลภ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี) นายจรัญ ภักดีธนากุล  เลขาธิการประธานศาลฎีกา (ปัจจุบัน เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)  นายปราโมทย์ นาครทรรพ  รวมทั้งนายปีย์ เอง รวม 7 คน ใช้เป็นที่รับประทานอาหารเย็น ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2549  เพื่อวางแผนโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 
 
นายปีย์  ปฏิเสธว่า  ในวันดังกล่าว  เป็นเพียงการเชิญเพื่อนและคนที่มีความสนิทสนมมารับประทานอาหารเย็นที่บ้านเป็นประจำอยู่แล้ว  เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังเพราะต้องการทันสถานการณ์เนื่องจากมีอาชีพเป็นนักข่าวซึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสกับตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตของบ้านเมือง จึงได้เชิญนายอักขราทร ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็กๆ รวมทั้งนายชาญชัย เพื่อคุยว่า จะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองอย่างไรตามที่ทรงมีพระราชดำรัส  จากนั้นได้โทรศัพท์ชวน พล.อ.สุรยุทธ์ พล.อ.พัลลภ และนายปราโมทย์ ซึ่งมีความสนิทสนมกันอยู่แล้ว
 
"ยืนยันว่า ไม่มีการพูดเรื่องปฏิวัติ หรือพูดเรื่องตำแหน่ง ไม่มีทหารอยู่สักคนจะพูดเรื่องปฏิวัติได้อย่างไร" นายปีย์ ระบุ และว่า  พ.ต.ท.ทักษิณ  ก็เคยมารับประทานอาหารที่บ้านหลายครั้งเพราะเคยสนิทสนมกัน  ในช่วงก่อนที่จะเป็นนายกฯ ส่วนช่วงเป็นนายกฯไม่ได้มา แต่หลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549  และกลับจากต่างประเทศมา 2 ครั้ง   ขณะที่คุณพญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เคยมา 1 ครั้ง

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์