ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบกระแสลมและระดับอุณหภูมิของน้ำทะเลพบว่า การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้อุณหภูมิเปลือกโลกบริเวณนั้นร้อนขึ้น เนื่องจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นกลางทะเล และเมื่อเปลือกโลกเคลื่อนตัว ลาวาใต้ทะเลก็ระอุขึ้น ทำให้มหาสมุทรแถบนั้นร้อน ส่งผลให้ความกดอากาศสูง ความเย็นของลมต่างๆ พัดมายังบริเวณดังกล่าว เมื่อทั้งหมดมาปะทะส่งผลมวลอากาศเย็นลง และเกิดหิมะอย่างที่เป็นข่าว สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลให้ทิศทางลมเปลี่ยนไป จากเดิมลมต้องพัดลงทางใต้ของญี่ปุ่น แต่กลับพัดไปทางทิศตะวันออกของประเทศแทน
"หากไม่เกิดแผ่นดินไหว ความหนาวเย็นจะมาทางใต้ของประเทศและจะส่งผลให้มาถึงประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยหนาวยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่แม้ไม่เกิดแผ่นดินไหวก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ไม่ปกติเพราะเป็นการพัดผ่านที่รุนแรงขึ้น แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็ทำให้กระแสลมเปลี่ยนทิศทาง"ดร.รอยล กล่าว