ดูซะ!แผนผังประเมินวิกฤตวันที่กรุงเทพฯท่วมสุดสุด!!

ภัยร้ายจากมนุษย์ ยังไม่อยู่เหนือการควบคุมจากภัยธรรมชาติ ที่แม้จะสามารถคาดเดาทิศทางล่วงหน้าได้(บ้าง) แต่ก็มิสามารถล่วงรู้ถึงการเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน  รวมถึงหายนะเบื้องหน้าเกินกำลังกางกั้นที่กำลังจะเกิดได้


จากสภาวะการณ์น้ำท่วมร้ายแรงสุดของประเทศไทยขณะนี้ นับเป็นสิ่งทรมานจิตใจของผู้คนเกือบ 30 จังหวัด

  อันเป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจของชาติเป็นอย่างมาก  ความเสียหายราบคาบเกิดขึ้นอยู่แทบทุกพื้นที่แล้ว  ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ภายใต้น้ำ บ้านเรือน วัดวา อาราม โรงเรียน สถานพยาบาล  ข้าวของ ทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง โรงงานอุตสาหกรรม  ฯลฯเสียหายพังพินาศไปอย่างที่ทำได้แค่ยอมรับและปลงกับสิ่งที่เกิดขึ้น 


กรุงเทพมหานคร  เมืองหลวงฟ้าอมรสุดศิวิไลค์ของชาติ ก็กำลังตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับจังหวัดอื่นๆโดยรอบ ที่โดนน้ำถาโถมเข้าถ้วนทั่วแล้ว   ขณะเดียวกันพื้นที่กรุงเทพฯบางส่วนต่างก็ต้องพบปะกับสายน้ำที่หลายคนไม่เต็มใจจะต้อนรับสักเท่าไหร่  มีหลายๆคำเตือน  การคาดการณ์ รวมถึงแผนที่มากมายมาจากนักวิชาการ นักสิ่งแวดล้อมผู้มีชื่อเสียงต่างๆออกมาอธิบายการเดินทางของน้ำกันอย่างมากมาย  และ การคาดการณ์ของ   รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด

 มติชนออนไลน์ จึงได้หยิบนำเอา  แผนผังแสดงพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต  กรณีมวลน้ำขนาดใหญ่จ่ออยู่ทางตอนบนของกรุงเทพมหานครในขณะนี้ไหลทะลักท่วม รัฐบาลและกรุงเทพมหานครไม่สามารถสกัดกั้นได้  ที่  รศ.ดร.เสรี เป็นผู้จัดทำไว้พร้อมประเมินระดับความสูงของน้ำแต่ละพื้นที่ มานำเสนอ...


ดูซะ!แผนผังประเมินวิกฤตวันที่กรุงเทพฯท่วมสุดสุด!!


ในแผนผังที่เพิ่มภาพกราฟฟิกแสดงพื้นที่ระดับต่ำ สูง ของ กรุงเทพฯ  แสดงให้เราเห็นว่า บางแห่งอาจสูงเพียง 20 ซม.แต่บางแห่งเป็นพื้นที่ต่ำและเป็นทางเดินของน้ำอาจมีน้ำท่วมถึง 2 เมตร เช่น  เขตบางบอน  บางแค

จากแผนผังดังกล่าวของ รศ.ดร.เสรี   นั้น สอดรับกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) กับกรุงเทพมหานคร(กทม.)   ที่บอกว่า แผนผังนี้แสดงให้เห็นว่าหากเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด แต่ไม่ได้ประสงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกมากไปกว่าการเตรียมตัววางแผนตั้งรับและป้องกันน้ำท่วมบ้านเรือน  ซึ่งสถานการณ์ขั้นเลวร้ายที่สุดประกอบด้วย 4 กรณี คือ 1.แนวคันพระราชดำริ (แนวถนนร่มเกล้า)  แตก  2.คลองหกวาสายล่างแตก 3.คันกั้นน้ำคลองแสนแสบ และแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับความเสียหาย 4.สถานีสูบน้ำในจุดต่างๆ เกิดปัญหา เช่น เครื่องสูบน้ำไม่ทำงาน


"ดังนั้น ประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาตามสภาพข้อเท็จจริงแล้ว ในส่วนของคันกั้นน้ำพระราชดำริหรือถนนร่มเกล้ายังมีความมั่นคงแข็งแรงดีมาก และป้องกันได้ในระดับ 2.50 เมตร ซึ่งเมื่อไปสำรวจพื้นที่มา เห็นว่ายังแข็งแรงดีมาก"อดีตผู้ว่าฯ กทม.ให้ความมั่นใจ  พร้อมว่า  ขอย้ำอีกครั้ง...อย่าเพิ่งตื่นตระหนก แต่ขอให้ทุกบ้านเตรียมแผนรับมือ..."

ทำได้ขณะนี้ แค่เพียงทำใจ  เมื่อน้ำมา ปลาทะลัก ข้าวของทลาย  เมื่อน้ำมลาย ใจอย่าหาย ร่วมกันฟื้นฟูไปด้วยกันนะพี่น้องงงงง


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์