สัตว์ทะเลขนาดใหญ่เกยตื้น ทำประมงผิดกม. ตรัง-กระบี่-พังงา-สตูล

ทช.จับมือกรมประมงลาดตระเวนประมงผิดกฎหมายทำลายแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหายาก พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมช่วยชีวิตสัตว์ทะเล โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

วันนี้ (24 เม.ย.) นายสำราญ รักชาติ อธิบดีกรมทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากเหตุการณ์สัตว์ทะเลขนาดใหญ่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของ ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนับแต่ปลายปี 2551 โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันบริเวณ จ.ตรัง กระบี่ พังงา สตูล จึงได้เร่งศึกษาและเก็บข้อมูลทางสถิติเพื่อหาสาเหตุการเข้ามาเกยตื้นของ สัตว์ทะเลขนาดใหญ่เหล่านั้น พบว่าสาเหตุการตายที่สำคัญเกิดจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยการนำอวนลากอวนรุนเข้าไปบุกรุกแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ เช่น พะยูน นอกจากจะทำให้พะยูนตกใจและขึ้นมาเกยตื้นบนชายฝั่งแล้ว การทำประมงด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายยังสร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังและหญ้า ทะเล? แหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน และสัตว์น้ำขนาดเล็กอีกด้วย

เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมอบหมายให้ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทั่วประเทศทั้ง 6 ศูนย์ประสานความร่วมมือกับกรมประมงในการลาดตระเวนและตราตรวจพื้นที่เสี่ยง อย่างใกล้ชิด

เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย รวมทั้งเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยการประกาศพื้นที่เขตคุ้มครองพิเศษเพิ่มในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ อาทิ แหล่งหญ้าทะเล แหล่งปะการัง ตลอดจนพื้นที่ที่ห้ามไม่ให้มีการดำน้ำและห้ามท่องเที่ยว เพื่อเร่งฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและสัตว์น้ำหายาก

"ปัจจุบันสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของไทยมีจำนวนลดน้อยลง หากเกิดการสูญเสียไปมากกว่านี้จะทำให้การฟื้นฟูกลับคืนมาทำได้ยาก จึงจะเร่งประสานงานกับกรมประมงในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำควบคู่ไปกับการเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนและทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น " นายสำราญกล่าว

นายสำราญ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ เตรียมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมช่วยชีวิตสัตว์ทะเล

โดยจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้าย สัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บที่มาเกยตื้นตามหลักวิชาการให้กับอาสา สมัคร และชุมชนเครือข่ายที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ให้ลดน้อยลงอีก ทางหนึ่ง


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์