พบฟอซซิลส่วนหางไดโนเสาร์ปากเป็ด

พบฟอซซิลส่วนหางไดโนเสาร์ปากเป็ด

นักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ค้นพบซากฟอซซิลเป็นส่วนหางความยาวประมาณ 5 เมตรของไดโนเสาร์ปากเป็ด เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 72 ล้านปีมาแล้ว อยู่ทางตอนเหนือของเม็กซิโก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ว่า สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แถลงว่า นักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ได้ค้นพบฟอซซิลส่วนหางความยาวประมาณ 5 เมตรของซากไดโนเสาร์ปากเป็ด เป็นส่วนหางซึ่งประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนเอวประมาณ 50 ชิ้น รูปทรงคล้ายแลมบีโอซอรัส ไดโนเสาร์มีหงอนรูปหมวกอยู่บนหัว กินพืชเป็นอาหาร

สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ แถลงต่อไปว่า
 
นี่คือหลักฐานชัดเจนเป็นส่วนหางของฟอซซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่ค้นพบอยู่ทางตอนเหนือของเม็กซิโก โดยพบครั้งแรกเมื่อปี 2548 ที่ทะเลทรายกัวดาลูป อลิมิตอส โดยฝังอยู่ในชั้นหินตะกอน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 72 ล้านปีมาแล้ว


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์