ฝาแฝดอินเดียวัยสองขวบที่มีชื่อว่าจากาและพาลิยา กันหาร์ จากครอบครัวยากจนในรัฐโอริศา ต้องเข้ารับการผ่าตัดจากแพทย์เนื่องจากเป็นแฝดที่มีศีรษะติดกัน ซึ่งพบได้ยากมาก สัดส่วนการพบเด็กแฝดจะอยู่ที่เด็ก 1 คนต่อเด็ก 3 คนและจากจำนวนเด็กทั้งหมดมีเพียงแค่ร้อยละ 2 เท่านั้นที่จะพบเด็กแฝดมีร่างกายติดกัน ไม่ว่าจะส่วนร่างหรือส่วนบน
สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์อินเดียในกรุงนิวเดลีใช้เวลาผ่าตัดครั้งแรกถึง 22 ชั่วโมงซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี
นายแพทย์ดีพัก คุปตะ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดสมอง ในฐานะหัวหน้าทีมการแยกร่างแฝดคู่นี้ เล่าว่า การผ่าตัดเริ่มจาก 9.00 น. ของวันจันทร์และเสร็จสิ้นการผ่าครั้งแรกในเวลา 6.30 น. ของวันอังคาร การผ่าตัดนี้กำหนดเวลาไม่ได้ ตอนนี้ยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสูญเสียเลือกจากหลอดเลือด หรือปัญหาจากระบบภายในร่างกาย
ขณะที่นายแพทย์มหาปาตรี กล่าวว่าเด็กแฝดคู่นี้ยังมีอาการดีหลังจากการผ่าตัด นอกจากนี้ยังบอกด้วยการผ่าตัดยังมีความยากอยู่ที่ทั้งคู่ใช้หลอดเลือดเลี้ยงสมองเดียวกัน
ลักษณะของแฝดทั้งคู่ที่มีส่วนบนของศีรษะติดกันจนทำให้ร่างกายของทั้งคู่อยู่ในลักษณะ 180 องศาหรือที่เรียกว่าแฝดตัวติดแนวตั้ง โดยร้อยละ 50 ของแฝดที่มีลักษณะเช่นนี้จะเสียชีวิตทันทีหลังคลอด หรือหลังจากคลอดประมาณ 24 ชั่วโมง อีกร้อยละ 25 มีชีวิตรอด และอีกร้อยละ 25 ขึ้นอยู่กับสภาพของชีวิตการอยู่อาศัย
นายแพทย์คุปตะเผยว่ามีเด็กแฝดหัวติดกันที่เข้ารับการผ่าตัดมีโอกาสรอดชีวิตเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น กระนั้นตามมีความพยายามในการผ่าตัดช่วยชีวิตแฝดหัวติดถึง 60 คู่มาตั้งแต่ปี 2495 แล้ว
ศาสตราจารย์เอส.เอส กาเล หัวหน้าแผนกประสาทศัลยศาสตร์ ของสถาบันเปิดเผยว่าการผ่าตัดนี้เริ่มขั้นตอนมาแล้วสองเดือนกว่า มีทีมแพทย์ถึง 40 คนเข้ามาช่วยเตรียมการผ่าตัดรวมไปถึงช่วยกันวางแผน การผ่าตัดครั้งนี้นับว่ายากมาก ซึ่งมีเพียงแค่ไม่กี่รายเท่านั้นที่รอดชีวิต
สำหรับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ทางครอบครัวของเด็กแฝดระบุขอบคุณทางรัฐโอริศาที่ยื่นมือเข้ามาช่วยตั้งแต่การจัดการด้านพาตัวมาที่สถาบัน รวมไปถึงออกค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด โดยต้องใช้เวลาอีก 3 เดือนให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว