เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับทราบจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่พาบุตร หลาน
เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวชมสวนสวย ชมศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค และชมการแสดงช้างแสนรู้ ภายในสวนนงนุชพัทยา ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ว่า ขณะที่ได้เดินชมสวนบริเวณสะพานแห่งความรัก และเดินมาอยู่บริเวณโคนต้นมะโรง หลานสาวตัวเล็ก ๆ ได้เห็นแมลงประหลาดชนิดหนึ่ง จึงตะโกนให้พี่น้อง เพื่อนมาดูกัน เพราะเคยอีกข่าวมาเมื่อไม่นานว่าเป็นแมลงเหมือนคน และเหมือนเปาบุ้นจิ้น จากการจ้องมองมันมีตัวสีแดง ๆ ปีกหลังมีจุด 2 จุด เหมือนลูกตา 2 ดวง หนวดสีดำ มีหน้าผาก ปาก จมูก คอ คลานหันหลังชนกัน เกาะกินเม็ดมะโรง จึงได้สอบถามพนักงานภายในสวนนงนุชพัทยา ได้รับคำตอบว่าสัตว์ชนิดนี้พึ่งเคยเห็นมีในสวน และมีเฉพาะโคนต้นมะโรงเท่านั้น หรืออาจจะเป็นเพราะขณะนี้ต้นมะโรงกำลังออกผล เมื่อตกลงมาถึงพื้นผลแตก เจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้ ก็จะมารุมกินเม็ดลูกมะโรงกันอย่างเอร็ดอร่อย
นายจิรพฤทธิ์ โสดร ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด สวนนงนุชพัทยา กล่าวว่า
เคยได้ยิน และจากคำบอกเล่าเรื่องแมลงหน้าคน แต่ก็ไม่เคยเห็นด้วยสายตาตัวเองมาก่อน ซึ่งเมื่อไม่นานได้มีข่าวฮือฮามีคนพบแมลงเปาบุ้นจิ้นหรือแมลงหน้าคน หลายพื้นที่ สำหรับภายในสวนนงนุชพัทยา ได้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยมาพบว่าแมลงชนิดนี้มาเดินอยู่โคนต้นมะโรง โขดหิน และพื้นทรายจำนวนมาก จึงได้ไปตรวจสอบพบว่ามีจำนวนมากและส่วนมากกำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ หันหลังชนกันจับกันเป็นคู่ ๆ และมียังมีลูกเล็ก ๆ จำนวนมาก แมลงชนิดนี้ประชาชนจำนวนมากเชื่อและศรัทธาว่าเป็นสัตว์มหัศจรรย์ที่สามารถปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ทำให้เหมือนหน้าคน หรือเหมือนเปาบุ้นจิ้น ให้ศัตรูกลัวไม่กล้าเข้าใกล้ และไม่กล้าเข้ามาทำร้าย บางคนจับไปสตาฟไว้เพื่อเชื่อว่ามีไว้ในครอบครองแล้วจะทำให้เกิดมงคล มีโชคลาภ เพราะเคยมีคนถูกเลขเด็ดเพราะได้แมลงชนิดนี้
สำหรับแมลงเปาบุ้นจิ้นตัวนี้ ไม่ใช่ของประหลาด มีกระจายอยู่ทั่วไป
ในจังหวัดทางภาคอีสาน ภาคตะวันออก แมลงตัวนี้น่าทึ่งก็คือเผ่าพันธุ์ของมันแจกแจงออกมาได้ถึง 30 ล้านชนิด และสืบสานต่อชีวิตกันมาบนโลกใบนี้นานถึง 400 ล้านปี เป็นศัตรูพืช ด้วยการเข้าไปดูด น้ำเลี้ยง อาทิ ต้นใบขันทองพยายาท เข็ม หนามดอง ฯลฯ แต่ไม่มีรายงานว่า มีการระบาดแต่อย่างใด มันมีคุณลักษณะพิเศษคือเปลี่ยนรูปร่างให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือทำให้เกิดความ น่ากลัว...เพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากศัตรู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คาทาแคนทัส อินคานาทัส (Catacanthus Incar natus Drury) อยู่ในวงศ์ เพนตาโตมิดี้ (Pentatomidae) อันดับ เฮมิพเตรา (Hemiptera) จากการตรวจสอบใน พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร มีมวนชนิดนี้อยู่ 23 ตัว ตัวแรกจับในกรุงเทพมหานครนี้เองเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2475