พบกรูปรีสัตว์หายากที่อุบลฯ

"สามเหลี่ยมมรกต พบกรูปรี"


เมื่อวันที่ 31 ส.ค. นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้รับรายงานจากนายปัญญา บุญยาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า เมื่อต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของอุทยานได้ออกลาดตระเวนเข้าไปในป่าลึก เขตต่อเชื่อม 3 ประเทศ ไทย ลาว และกัมพูชา บริเวณที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต ได้ไปพบสัตว์

ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับกระทิงจำนวน 3 ตัวหากินอยู่ในป่า แต่มีลักษณะเขาที่แปลกกว่าเขาของกระทิงและวัวแดง คือลักษณะเขาจะบิด และส่วนปลายเขาจะแตกออกเป็นเส้นๆ มีรูปร่างสูงสง่างาม ตัวสูงใหญ่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นสัตว์อะไร จึงได้กลับมารายงานให้หัวหน้าอุทยานทราบ


"ตามรอย กรูปรี หากใช่ถือเป็นข่าวใหญ่"


ซึ่งจากการสันนิษฐานของทุกคนคาดว่าน่าจะเป็น กูปรี หรือโคไพร ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย และอยู่ในบัญชีสัตว์ที่สูญพันธุ์ในระดับโลก เนื่องจากไม่เคยมีรายงานการค้นพบตัวเป็นๆ มานานกว่า 30-40 ปีมาแล้ว

"ถ้าเป็นกูปรีจริง ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี และเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกเลย ที่พบว่ายังมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ ขณะนี้ได้สั่งการให้ส่งทีมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าออกซุ่มสังเกตการณ์ตามรอยกูปรี เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นกูปรีจริงหรือเปล่า และพิทักษ์ป่าทุกคนจะต้องติดกล้องเข้าไปด้วย เผื่อเจอก็ให้ถ่ายรูปมาเลย จะได้มีหลักฐานภาพถ่ายที่ยืนยันได้" นายดำรงค์กล่าว


"สั่ง จนท.พกกล้องตามถ่ายภาพยืนยัน"


ด้านนายปัญญา บุญญาอดุลยกิจ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่พบเล่าให้ฟังว่าตอนที่พบเห็นสัตว์ทั้ง 3 ตัว กำลังยืนกินหญ้าอยู่ในทุ่งหญ้าเล็กๆ ในบริเวณป่าดงดิบสมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน ก่อนที่สัตว์ทั้ง 3 ตัวจะวิ่งเข้าไปในรอยต่อป่า

จึงได้กลับมารายงานให้ตนทราบ ทั้งนี้ จากลักษณะดังกล่าว เชื่อว่าอาจจะเป็น กูปรี หรือโคไพร หลังจากได้รับรายงาน ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนจับตาดูสัตว์ป่าชนิดนี้ว่าจะใช่ กูปรี หรือโคไพร จริงหรือไม่ โดยให้พกกล้องถ่ายรูปในขณะออกลาดตระเวนทุกครั้ง เตรียมเก็บภาพสัตว์ชนิดดังกล่าวหากมีการพบเห็นอีกครั้ง

ด้าน นายสุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โอกาสที่จะเป็นกูปรีอาจจะน้อยเต็มที เพราะการแยกแยะลักษณะของกูปรี วัวแดง และกระทิง ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันค่อนข้างยาก ถ้าไม่เห็นชัดเจนแบบเห็นรายละเอียดมากพอก็อาจจะเข้าใจผิดได้ ซึ่งสมัยเมื่อ 40-50 ปีก่อน น.พ.บุญส่ง เลขะกุล เคยสำรวจและตามกูปรี กระทิง วัวแดง ก็พบว่าสัตว์ชนิดนี้อยู่รวมปนกับฝูงวัวแดง ดังนั้นจึงต้องสำรวจว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีวัวแดงอยู่หรือไม่ จึงมั่นใจว่าเป็นกูปรี แต่หากเป็นกูปรีจริงๆ ก็ถือเป็นข่าวดีมาก


แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์