วันที่ 7 ก.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ว่า
สำหรับปัญหาราคายางพาราในปัจจุบัน รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาสินค้าเกษตรในระยะยาว ทั้งการจัดโซนนิ่งและการแปรรูปสินค้าเกษตร ซึ่งเชื่อว่า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ซึ่งปัญหายางพารา คงต้องแก้ปัญหาทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ควบคู่กันไป จากที่ปัจจุบันราคายางพาราไม่ได้เป็นไปตามที่เกษตรกรต้องการ ซึ่งรัฐบาลได้หารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยหาแนวทางส่งเสริมให้ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่เหมาะสม ใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา
ขณะที่อุตสาหกรรมกลางน้ำ ที่พยายามส่งเสริมให้เกิดการลงทุนโรงงานแปรรูปยาง ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณที่จะสนับสนุนให้เกิดการแปรรูป
และหากสามารถแปรรูปได้ก็จะทำให้เกิดการแปรรูปยางและเพิ่มมูลค่ามากขึ้นด้วย และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้วัตถุดิบยางธรรมชาติให้มากขึ้ยด้วย ตลอดจนการใช้ถุงมือยาง ที่เดิมนำเข้าจากต่างประเทศ ก็มีการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้สามารถผลิตในประเทศได้ ซึ่งจะมีการใช้วัตถุดิบยางพารามากขึ้น รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้วัตถุดิบยางพาราให้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแนวทางที่จะใช้ยางพาราสำหรับภาครัฐ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของถนน โดยกระทรวงคมนาคม และการพัฒนาพื้นที่ชายแดนใต้ หรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยกระทรวงกลาโหม
รัฐยันชาวสวนส่วนใหญ่พอใจราคายาง 90 บาท/กก.
ด้าน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหายางพาราว่า
จากการเจรจากับแกนนำของเกษตร ที่มีจำนวนมากจากหลายพื้นที่ ดังนั้นความคิดจึงยังไม่ได้สรุปในทางเดียวกันทั้งหมด แต่รัฐบาลพยายามหาข้อสรุปที่ดีที่สุด แต่เสียงส่วนใหญ่ของเกษตรกรรับได้ที่ราคา 90 บาทต่อกก. โดยไม่ใช้การแทรกแซง แต่จะใช้วิธีการอื่นๆ ที่ทำให้เกษตรได้ราคายางที่ต้องการและเห็นร่วมกันกับรัฐบาลสำหรับการชุมนุมในบางจังหวัดที่ยังมีอยู่ เชื่อว่า เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ทุกอย่างจะเรียบร้อยลงได้
“การหารือกันช่วงเวลาสั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ตรงกันได้ทั้งหมด แต่ก็พร้อมจะหารือและหาข้อมยุติร่วมกับเกษตรกรต่อไปอีก โดยรัฐบาลหวังว่า จะได้รับความเข้าใจกับเกษตรกร กลุ่มใด จังหวัดใดไม่เข้าใจในจุดใด ก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล พร้อมจะลงไปทำความเข้าใจในพื้นที่ทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้การชุมนุมที่จะเกิดผลกระทบ และแม้จะเกิดการชุมนุม รัฐบาลก็ไม่มีนโยบายที่จะใช้ความรุนแรงกับเกษตรกรอย่างแน่นอน” พล.ต.อ.ประชากล่าว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า
ตัวแทนเกษตรกรที่ร่วมเจรจาส่วนใหญ่รับได้กับราคายางที่ 90 บาทต่อกก. โดยไม่ใช้แนวทางการแทรกแซง แต่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการขั้นตอนต่างๆให้ได้ข้อสรุปภายใน 10 วัน อาจจะมีบางส่วนที่เห็นต่างกัน จากเดิมที่รัฐบาลมีแนวทางจะช่วยเหลือในด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิต 1,260 บาทต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจและพอใจ แต่อาจจะยังมีข้อเรียกร้องที่สูงกว่านั้นอยู่บ้าง สำหรับวิธีการดำเนินการของรัฐบาล จะดำเนินการในหลายด้าน ทั้งโดยภาครัฐ หรือร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร
สำหรับข้อสังเกตการช่วยเหลือข้าวและยางพาราที่แตกต่างกัน นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า
ข้าวสามารถปลูกได้รอบเดียวเท่านั้น ขณะที่ยางพาราต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานกว่า รวมทั้งการใช้ยางพารามีน้อยกว่าในตลาดโลก จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการใดๆ "เราได้ทำงานเรื่องยางมาโดยตลอด ไม่ได้ประวิงเวลาหรือชักช้าไม่ทันการณ์ และหลังจากนี้จะเดินหน้าทำงานต่อในกรอบของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. และเสนอต่อ ครม.ต่อไป โดยยึดหลักให้ประโยชน์ตกกับเกษตรกร โดยจะพยายามทำให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 14 กันยายน ซึ่งได้ชี้แจงกับเกษตรกรไปทั้งหมดแล้ว" นายกิตติรัตน์กล่าว
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า
รัฐบาลไม่เลือกใช้การแทรกแซงราคายาง เนื่องจากจะส่งผลต่อราคายางในตลาดโลก แต่ต้องพยายามสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดต้นทุน เพื่อการแข่งขันในอนาคต สำหรับวิธีการแก้ปัญหาของสินค้าเกษตรแต่ละชนิดมีความแตก