ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ username ว่า "ชูวิทย์ I m No.5" ตั้งคำถามต่อ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) กรณีออกคำสั่งควบคุมแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) 5 ระบุข้อความว่า
อดีต เมื่อ 30 ปีก่อน ผมเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ รัฐบาลขณะนั้น "ควบคุมสื่อ" อ้างว่า การ "เสนอข่าว" ในด้านลบ กระทบต่อ "ความมั่นคงของชาติ" ขณะนั้นมีหนังสือพิมพ์ และทีวี ไม่มีจานดาวเทียม เคเบิ้ล หรืออินเตอร์เน็ต อย่างทุกวันนี้
"ความกลัว" ทำให้เกิดการควบคุม การ "เผยแพร่" ข้อมูลข่าวสารจาก "สื่อ" สู่ "ประชาชน"แม้แต่ปัจจุบันนี้ "ความกลัว" ยังคงอยู่ ไม่อย่างนั้น พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะมาเสนอให้ควบคุมการสื่อสารผ่านแอพฯ "Line" หรือ?
ทั้งๆที่โลกปัจจุบันนี้อยู่ภายใต้ "โซเชียลเน็ตเวิร์ค" แต่สมองของคนบางคน มันไม่ได้พัฒนาให้ทันกับยุคสมัย ยังคง "ค้างเติ่ง" เหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้วไม่ทราบว่าท่านผู้การฯ ปอท. ได้ศึกษาข้อมูลมาหรือเปล่า ว่าในประเทศไทยมีคนใช้แอพฯ "ไลน์" มากกว่า 10 ล้านคน? ผมอยากตั้งคำถามดังต่อไปนี้
1.กลุ่มไหน ถือว่าเป็น "กลุ่มเสี่ยง" ที่ ปอท. อ้างจะตรวจสอบ? เป็นกลุ่มการเมือง กลุ่มยาเสพติด กลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล?2.ปอท. มีกำลังสักกี่คน ที่จะมาตรวจสอบไลน์ของประชาชน? ผมว่าปัจจุบันนี้ ปอท. มีกำลังอยู่ไม่เกิน 20 คน แล้วจะเอากำลังที่ไหนไปตรวจสอบผู้ที่ใช้ไลน์มากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ?
3.นอกจาก Line แล้ว ยังมี Facebook Whatsapp Skype Tango E-Mail SMS WeChat และอื่นๆอีกมาก อย่างนี้ต้องควบคุมด้วยหรือเปล่า? หากไม่ตรวจสอบ ตรวจเฉพาะ Line แล้วมันจะมีประสิทธิภาพอย่างไร?เขาบอกว่า "สำเนียงส่อภาษา วาจาส่อความคิด" สงสัยท่านพิสิษฐ์จะห่างเหินคำว่า "ผลงาน" มานาน พยายามที่จะสร้างผลงาน แทนที่จะได้รับ "ดอกไม้" กลับโดนคนเขา "โห่ฮา" ไล่ส่งว่าคิดได้อย่างไร?
มัวแต่มานั่งเฝ้าอ่านไลน์ของชาวบ้าน คงได้เจอแต่ข้อความ "รักตะเองจุงเบย" “เค้าคิดถึงตะเองง่ะ" “เมื่อไหร่จะกลับบ้านไอ้แก่?” แบบนี้กระทบต่อ "ความมั่นคงของชาติ" ด้วยหรือเปล่า?เอากำลังตำรวจไปตรวจสอบอาชญากรรม โจรขโมย ยังมีประโยชน์เสียมากกว่า
เดี๋ยวนี้ตำรวจเรา คิดจะเป็นแค่ "ตำรวจหน้าจอ" “ตำรวจคีย์บอร์ด" แค่นั้นหรือ?จุ๊ๆ คอมเม้นท์เบาๆนะ เดี๋ยว ปอท. เขาได้ยิน