ชาวบ้านเบื่อม็อบการเมืองหวั่นนองเลือด แนะจับเข่าคุยมีสติ ใจเย็น
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีสถานการณ์ความรุนแรงในบ้านเมือง
หลังเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปปี 56 ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยสำรวจจากประชาชนจำนวน 1,176 คน ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2556 สรุปผลดังนี้
ประชาชนคิดอย่างไรกับ "การชุมนุมทางการเมือง" ณ วันนี้
ร้อยละ 54.07 รู้สึกเบื่อ ไม่อยากให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย
ร้อยละ 25.00 เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ควรอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
ร้อยละ 11.63 เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีมาตรการการป้องกันที่เด็ดขาด รัดกุม ดูแลผู้ที่มาชุมนุมเป็นอย่างดี และต้องระวังผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวาย
ร้อยละ 09.30 กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัย เกิดการสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
"การชุมนุมทางการเมือง" แบบใด ที่ประชาชนต้องการให้เป็น
ร้อยละ 52.57 ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล มีสติ ใจเย็น /แกนนำต่างๆต้องไม่ยั่วยุหรือปลุกปั่น
ร้อยละ 22.29 การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีการปะทะกัน ไม่มีการพกพาอาวุธร้ายแรง
ร้อยละ 13.14 การชุมนุมจะต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
ร้อยละ 12.00 เป็นการชุมนุมที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือชุมนุมในสถานที่ที่มีการจัดเตรียมให้
"การชุมนุมทางการเมือง" แบบใด ที่ประชาชนไม่ต้องการให้เป็น
ร้อยละ 43.27 การประท้วงที่รุนแรง /การทำร้ายร่างกาย มีอาวุธ /ทำลายทรัพย์สินให้เสียหาย
ร้อยละ 42.69 ขาดสติ ไม่มีเหตุผล ใช้อารมณ์ในการตัดสิน /เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
ร้อยละ 07.61 การชุมนุมที่ยืดเยื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน
ร้อยละ 06.43 ปิดเส้นทางจราจร กีดขวางทางเดินหรือบริเวณที่มีการค้าขาย
ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับการชุมนุมคัดค้านร่าง พรบ.นิรโทษกรรมที่จะนำเข้าสภาในเดือนสิงหาคมนี้
ร้อยละ 37.24 เฉยๆ เพราะ เป็นเรื่องปกติทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาก็เคยมีกลุ่มต่างๆออกมาเคลื่อนไหวโดยตลอด ฯลฯ
ร้อยละ 33.67 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม เพราะ ส่งผลต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศ สังคมเกิดความวุ่นวาย เสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้ายแรง ผู้ชุมนุมปะทะกัน ควรใช้วิธีการพูดคุยหรือส่งตัวแทนเจรจาอย่างสันติจะดีกว่า ฯลฯ
ร้อยละ 29.09 เห็นด้วยกับการชุมนุม เพราะ ทำให้รัฐบาลรู้ถึงความต้องการและความคิดเห็นของประชาชน รัฐบาลจะได้ดำเนินการด้วยความรอบคอบ และรัดกุมมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้คนในสังคมตื่นตัว รับรู้ข้อมูลหลายด้าน ฯลฯ
สิ่งที่ประชาชนกลัว/กังวลเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ คือ
ร้อยละ 46.47 อาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินการปะทะกันของผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ร้อยละ 22.35 ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ร้อยละ 18.23 มีผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวายในการชุมนุม ทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น
ร้อยละ 12.95 เหตุการณ์ยืดเยื้อ บานปลาย /การจราจรติดขัด ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก
ทำอย่างไร จึงจะไม่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง ณ วันนี้
ร้อยละ 38.01 ทุกคนต้องมีสติ ไม่วู่วาม มีเหตุผล และนึกถึงบ้านเมืองเป็นสำคัญ
ร้อยละ 25.73 ทุกๆฝ่ายควรร่วมมือกัน /ประชาชนไม่ออกมาเคลื่อนไหว /สื่อมวลชนจะต้องนำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง ชัดเจน
ร้อยละ 23.39 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดูแลอย่างเข้มงวดกวดขัน ตรวจสอบป้องกันไม่ให้มีการพกพาอาวุธเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุม
ร้อยละ 12.87 ผู้ที่เป็นแกนนำจะต้องดูแลควบคุมผู้ชุมนุมให้อยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการสื่อสารและทำความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันกับผู้ชุมนุม