'ปู'ควบ'กลาโหม'สยบแรงกระเพื่อม ดึง'ยุทธศักดิ์'มือขวา-ซื้อใจขุนทหาร!! : ทีมข่าวความมั่นคงรายงาน
แทบจะ 100% แล้วที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(รมว.กลาโหม) อีกเก้าอี้ หากเป็นจริงตามโผหลายสำนักที่แพร่สะพัดออกมาก็จะทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ สร้างประวัติศาสตร์ทางการเมืองหน้าใหม่อีกครั้งด้วยการเป็น "รมว.กลาโหมหญิง" คนแรกของประเทศไทย และถือเป็นเจ้ากระทรวงกลาโหมคนที่ 60
อย่างไรก็ตาม หากนับเฉพาะ "นายกฯ พลเรือน" น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้เป็นนายกฯ พลเรือนคนแรกที่ควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม
โดยก่อนหน้านี้เคยมีนายกฯ พลเรือนนั่งควบกลาโหมมาแล้ว 3 คน คือ นายชวน หลีกภัย นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งแต่ละคน แต่ละยุคก็มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป เช่น ในยุคของนายชวน ซึ่งควบกลาโหม เพราะต้องการกระชับอำนาจทางการเมือง ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับกองทัพในยามนั้น ขณะที่ยุคนายสมัคร และนายสมชาย มีเหตุผลใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ต้องการนั่งควบเอง เพราะต้องการสยบแรงกระเพื่อมจากแคนดิเดตในพรรค และไม่ต้องการตั้งคนในฝั่งของตัวเองเพื่อตั้งตนเป็น "ศัตรู" กับขุนทหารที่ยังทรงอำนาจ
โดยก่อนหน้านี้เคยมีนายกฯ พลเรือนนั่งควบกลาโหมมาแล้ว 3 คน คือ นายชวน หลีกภัย นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งแต่ละคน แต่ละยุคก็มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป เช่น ในยุคของนายชวน ซึ่งควบกลาโหม เพราะต้องการกระชับอำนาจทางการเมือง ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับกองทัพในยามนั้น ขณะที่ยุคนายสมัคร และนายสมชาย มีเหตุผลใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ต้องการนั่งควบเอง เพราะต้องการสยบแรงกระเพื่อมจากแคนดิเดตในพรรค และไม่ต้องการตั้งคนในฝั่งของตัวเองเพื่อตั้งตนเป็น "ศัตรู" กับขุนทหารที่ยังทรงอำนาจ
ส่วนในกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกระแสข่าวว่า จะมานั่งควบ รมว.กลาโหม ตั้งแต่ปลายปี 2555 แต่ช่วงแรกๆ ยังมีกระแสต่อต้าน
เพราะกองทัพยังไม่เห็นด้วยที่จะแต่งตั้งผู้หญิงให้ขึ้นคุมกองทัพ และมองว่า การที่เป็นพลเรือนอาจไม่เข้าใจธรรมเนียม และปัญหาความต้องการของทหารดีพอ ทว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก้าวขึ้นมาครองเก้าอี้ รมว.กลาโหม จริง นาทีนี้กระแสต่อต้านคงแทบจะไม่มี เพราะตลอดการทำงานในรอบเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา นายกฯ หญิงสามารถทำงานเข้าขา และสอดรับกับกองทัพได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่มีการประชุมแก้ปัญหาร่วมกันมาตลอด และเคยลงพื้นที่ทำงานมาด้วยกันหลายครั้ง
เพราะกองทัพยังไม่เห็นด้วยที่จะแต่งตั้งผู้หญิงให้ขึ้นคุมกองทัพ และมองว่า การที่เป็นพลเรือนอาจไม่เข้าใจธรรมเนียม และปัญหาความต้องการของทหารดีพอ ทว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก้าวขึ้นมาครองเก้าอี้ รมว.กลาโหม จริง นาทีนี้กระแสต่อต้านคงแทบจะไม่มี เพราะตลอดการทำงานในรอบเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา นายกฯ หญิงสามารถทำงานเข้าขา และสอดรับกับกองทัพได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่มีการประชุมแก้ปัญหาร่วมกันมาตลอด และเคยลงพื้นที่ทำงานมาด้วยกันหลายครั้ง
นอกจากนี้ ข้อดีของการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะควบ รมว.กลาโหม อีกตำแหน่ง คือ การสยบแรงกระเพื่อมของแคนดิเดตที่เป็นขุนทหารในพรรคเพื่อไทยที่แต่ละคนต่างสวมรองเท้าจ๊อกกิ้งเข้าหา "นายใหญ่" กันแทบไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในระหว่างพำนักที่ประเทศสิงคโปร์ สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้นายใหญ่ไม่น้อย เพราะบ้างก็เป็นเพื่อน บ้างก็เป็นตั๋วฝากจากผู้มีอุปการคุณ