ประยุทธ์ ลั่น! ไม่ยอมรับข้อเสนอบีอาร์เอ็น ไทยมีรัฐธรรมนูญใครจะมาชี้นำ-แบ่งแยกไม่ได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา


เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)  กรณีที่นายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องเป็นครั้งที่ 4 ผ่านเว็บไซต์ยูทูบเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมาโดยขอให้ทางการไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ว่า ต้องถามคนไทยว่า 


รับข้อเสนอเช่นนี้ได้หรือไม่ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญกำหนดไว้  ใครจะมาชี้นำคงไม่ได้  หากเรารับข้อเสนอไม่ได้ ก็ต้องว่ากันต่อไป ถือว่าเป็นการฟังหูไว้หู ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องจึงต้องกำชับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ระมัดระวังมากขึ้น การรักษาความลับในการออกพื้นที่ของกำลัง เพราะที่ผ่านมาเราสูญเสียกำลังพลไปมาก ตั้งแต่นายทหารระดับสูง ไปถึงกำลังพลระดับล่าง เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ 


"วันนี้ข้อเสนอของบีอาร์เอ็น ผมยอมไม่ได้เพราะผมเป็นเจ้าหน้าที่ และเรามีรัฐธรรมนูญที่ยังใช้งานอยู่ว่า ในข้อที่1 ซึ่งบัญญัติไว้คือ ต้องเป็นรัฐเดียว ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และตอนนี้กลุ่มบีอาร์เอ็นที่ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่าเรา มีแต่ปากที่เหนือกว่าเรา คือ พูดได้ทุกเรื่อง โดยไม่ต้องอาศัยหลักการ ไม่ต้องสนใจว่า ใครจะไปจับ หรือ เอาไปฟ้องศาลโลก ต้องคอยดูต่อไปว่า ถ้าเขาสามารถหยุดความรุนแรงในเดือนรอมฎอนได้ก็น่าจะมาพิจารณากันใหม่  น่าจะมีความน่าเชื่อถืออะไรขึ้นมาบ้าง แต่ผมไม่เคยยอมรับเขา จะยอมรับกับคนที่เห็นต่างและสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นอย่าสร้างความสำคัญให้กับตัวเอง โดยยกระดับตัวเองขึ้นมา ผมไม่ให้เครดิตตรงนี้ถ้า ให้ถอนทหารแล้วจะเกิดอะไรขึ้น แล้วใครจะเป็นผู้รับประกันว่าถอนทหารแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น การที่เขาเรียกร้องมา เราคงไม่ผลีผลามไปปฏิบัติตามนั้น ไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น อย่างเช่นข้อเสนอที่ยื่น คงไม่มีประเทศในโลกรับได้ ขออย่าไปให้เครดิตเขา อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจข้อเสนอดังกล่าวอยู่ที่รัฐบาล” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ

                
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการสร้างรั้วชายแดนไทยกับมาเลเซียเพื่อป้องกันภัยความมั่นคง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องดูว่าจะเริ่มจากจุดใดไปจุดใด แต่ต้องยอมรับด้วยว่า โจรคงไม่ได้หมดไป เพราะเขาต้องหาช่องทางอื่นไปทำผิดอีกเพราะมีทั้งทางบก และทางน้ำ การจะใช้ทหารไปเฝ้าทุกจุดคงเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อมีอุปกรณ์เสริมก็ลดภาระไปได้ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ยังไม่ทราบ อยู่ระหว่างศึกษา ส่วนจะเริ่มดำเนินการเมื่อไรยังไม่ทราบ เพราะเป็นความคิดของฝ่ายความมั่นคง ต้องเข้าสู่กระบวนการโดยให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) ภาค 4 โดยแม่ทัพภาคที่ 4 สำรวจ เพราะเรามีการปักปันเขตแดน 100% และมีรั้วบ้างแล้ว แต่ยังไม่แข็งแรงที่ตนต้องการคือบริเวณลำน้ำ หากบริเวณชายแดนยังไม่เรียบร้อยอาจถอยหลังมาสร้างรั้วระวังป้องกัน  แต่ยอมรับว่าหากจะสร้างก็ต้องใช้งบประมาณที่สูงหน่อย แต่คุ้มค่าเพราะสามารถลดกำลังพลที่ดูแลลงได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นการคิดเพื่ออนาคต 


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์